ศูนย์ทันตกรรม

...

เวลาทำการ

วันจันทร์ - วันเสาร์, วันอาทิตย์ (สัปดาห์ที่ 2 และ 4) 8.00 - 20.00 น. วันอาทิตย์ (สัปดาห์ที่ 1, 3 และ 5) 8.00 - 16.00 น.

ศูนย์ทันตกรรม


ศูนย์ทันตกรรมโรงพยาบาลพระรามเก้า ให้บริการตรวจและรักษาทางทันตกรรมที่ครบวงจรสำหรับทุกคนในครอบครัว ด้วยคุณภาพและมาตรฐานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยทีมทันตแพทย์เฉพาะทางแต่ละสาขา และเครื่องมือทันตกรรมที่ทันสมัย ผ่านกระบวนการทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรค (Sterilization) เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่สมบูรณ์ครบวงจร โดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของเหงือกและฟัน พร้อมทั้งประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว รวมไปถึงความสวยงามที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและบุคลิกภาพให้แก่ผู้รับบริการ


Dental-Care-Story.jpg

คลินิคทันตกรรม


  • ทันตกรรมทั่วไป
  • ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม
  • ทันตกรรมสำหรับเด็ก
  • ทันตกรรมจัดฟัน
  • ทันตกรรมรักษารากฟัน
  • ปริทันตวิทยา (รักษาโรคเหงือก)
  • ทันตกรรมประดิษฐ์ (ใส่ฟัน)
  • ทันตกรรมรากเทียม
  • ศัลยกรรมช่องปากและใบหน้า
  • ทันตกรรมบดเคี้ยวและขากรรไกร
  • ทันตกรรมรักษาโรคนอนกรน

เทคโนโลยีทางการแพทย์


  • ห้องหัตถการทันตกรรม
  • ห้องหัตถการทันตกรรมพร้อมระบบวิสัญญี
  • เครื่องถ่ายภาพรังสีฟัน
  • เครื่องถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะและใบหน้า

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยผ่านการฆ่าเชื้อตามมาตรฐานสากลได้รับมาตรฐาน JCI มาตรฐานระดับโลก จากประเทศสหรัฐอเมริกา


IMG_1864.jpg

บริการต่าง ๆ


  • ตรวจ ปรึกษา และวางแผนการรักษา
  • ทำความสะอาดฟันด้วยเครื่องพ่นเกลือ
  • ขูดหินปูน, ขัดฟัน
  • อุดฟัน
  • ครอบฟัน
  • ฟอกสีฟัน (เลเซอร์ และชนิดฟอกที่บ้าน)
  • อินเลย์ , ออนเลย์ , วีเนียร์
  • ขัดฟัน , เคลือบฟลูออไรด์
  • เคลือบหลุมร่องฟัน
  • อุดฟัน , ใส่ฟัน
  • จัดฟันสำหรับเด็ก
  • ถอนฟัน
  • แบบติดแน่น ทั้งทางด้านหน้าฟันและด้านลิ้น
  • แบบถอดได้และจัดฟันแบบล่องหน
  • รักษาคลองรากฟัน
  • รักษาโรคเหงือก รวมถึงผ่าตัดเหงือก
  • เลเซอร์ตัดแต่งขอบเหงือก และลอกผิวเหงือกดำคล้ำ
  • ฟันปลอม
  • ครอบฟัน & สะพานฟัน
  • อวัยวะเทียม (ใบหน้าและขากรรไกร)
  • รากฟันเทียม
  • รากฟันเทียมยึดติดโหนกแก้ม
  • ผ่าฟันคุด
  • แก้ไขความผิดปกติกะโหลกศีรษะและใบหน้า
  • ศัลยกรรมตกแต่งขากรรไกรและใบหน้า
  • ผ่าตัดมะเร็งในช่องปาก
  • ผ่าตัดรักษาปากแหว่ง เพดานโหว่
  • รักษาความผิดปกติของระบบบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรและความเจ็บปวดของใบหน้า
  • เครื่องมือยืดคางและเปิดลำคอ
  • ผ่าตัดยืดคาง

สถานที่ตั้ง

ศูนย์ทันตกรรม ชั้น 10 อาคาร B โรงพยาบาลพระรามเก้า


เวลาทำการ

วันจันทร์ - วันเสาร์, วันอาทิตย์ (สัปดาห์ที่ 2 และ 4) 8.00 - 20.00 น.

วันอาทิตย์ (สัปดาห์ที่ 1, 3 และ 5) 8.00 - 16.00 น.

แพทย์ประจำศูนย์

แพทย์ทั้งหมดในศูนย์

ทพ. ชลธชา ห้านิรัติศัย

ทพ. ชลธชา ห้านิรัติศัย

ศูนย์ทันตกรรม

ทพ. ชวินทร์  อัครวรกุลชัย

ทพ. ชวินทร์ อัครวรกุลชัย

ศูนย์ทันตกรรม

ทพ. ชิติพัทธ์ ศิริวิทยเจริญ

ทพ. ชิติพัทธ์ ศิริวิทยเจริญ

ศูนย์ทันตกรรม

ทพญ. กัลย์ภัทร ตันศรีรัตนวงศ์

ทพญ. กัลย์ภัทร ตันศรีรัตนวงศ์

ศูนย์ทันตกรรม

ทพญ. เกศแก้ว กลิ่นเกลา

ทพญ. เกศแก้ว กลิ่นเกลา

ศูนย์ทันตกรรม

ทพญ. จันทน์คณา  ทองชาติ

ทพญ. จันทน์คณา ทองชาติ

ศูนย์ทันตกรรม

ทพญ. จินตนาภรณ์ สิริพิพัฒน์

ทพญ. จินตนาภรณ์ สิริพิพัฒน์

ศูนย์ทันตกรรม

ทพญ. จิริหทัย พึ่งบุญ ณ อยุธยา

ทพญ. จิริหทัย พึ่งบุญ ณ อยุธยา

ศูนย์ทันตกรรม

ทพญ. ชนิกา สิงห์วิชา

ทพญ. ชนิกา สิงห์วิชา

ศูนย์ทันตกรรม

ทพญ. ชวัลญา อัศวเลิศพลากร

ทพญ. ชวัลญา อัศวเลิศพลากร

ศูนย์ทันตกรรม

บทความสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด

หญิงมีครรภ์กับการรักษาทางทันตกรรม

หญิงมีครรภ์กับการรักษาทางทันตกรรม โดย ท.พ.สุรชาติ หนุนภักดี ผู้หญิงเมื่อตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของระบบฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางระบบสรีระต่างๆ ของร่างกายตามมา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพในช่องปากด้วย

บอกลาการพิมพ์ปากและจัดฟันแบบเดิม ๆ ตั้งแต่รู้จัก เทคโนโลยีสแกนฟันแบบดิจิทัลและจัดฟันแบบใส (Clear Aligners)

Praram 9 Dental Center นำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความก้าวหน้าและทันสมัยมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ป่วย และทำให้เปลี่ยนมุมมองต่อการรักษาทางทันตกรรม Digital Intraoral Scanner เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ Scan ช่องปากและฟัน เพื่อสร้างเป็นไฟล์ 3 มิติ

ทันตแพทย์กับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านวารสาร 9 ทันโรคทุกท่าน ที่ขึ้นหัวเรื่องไว้ว่า “ทันตแพทย์กับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน” นี้ไม่ได้หมายความว่าหมอฟันกำลังจะไปรักษาโรคกระดูกพรุน หรือเขียนบทความวิชาการเรื่องโรคกระดูก พรุนแข่งกับอายุรแพทย์หรอกนะครับ ท่านผู้อ่านสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้ได้ในบทความอื่นๆ ของวารสารฉบับนี้ แต่ในตอนนี้เราจะมาคุยกันเรื่องเกี่ยวกับสภาพในช่องปาก และการทำฟันในผู้ป่วยโรค กระดูกพรุน ดังที่ทราบกันแล้วว่าอุบัติการณ์ของโรคกระดูกพรุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกวัน และกำลังจะกลาย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็คงจะต้องมาพบหมอฟันกันบ้าง โดย ทั่วไปลักษณะในช่องปากจากการตรวจทางคลินิกก็ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยสูงอายุทั่วไปนัก แต่พอถ่ายภาพรังสี ออกมาจะพบว่ากระดูกขากรรไกรจะอ่อนแอกว่าปกติ คือมีการบางตัวลงของชั้นคอร์เท็กซ์ซึ่งเป็นชั้นกระดูก หนา ในส่วนเสี้ยนใยกระดูกก็จะมีน้อยกว่าปกติเช่นกัน ซึ่งผมก็มีภาพรังสีให้ดูเทียบกับของผู้ป่วยปกตินะ ครับ ในปี 1999 มีการศึกษาของ Kingsmill เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของกระดูกแขน ส่วนปลายกับความหนาของกระดูกขากรรไกรล่างส่วนที่รองรับฟัน พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน กล่าวคือในรายที่มีความหนาแน่นของกระดูกแขนน้อย ก็จะมีความหนาของกระดูกขากรรไกรล่างน้อยด้วย นอกจากนี้ยังมีรายงานของ Jonasson และคณะในปีเดียวกันพบว่าชั้นคอร์เท็กซ์ของกระดูกขากรรไกร ล่างของผู้ป่วยจะมีลักษณะรูพรุนมากกว่าปกติ และการสูญเสียมวลกระดูกของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นตามอายุโดย จะพบในผู้ป่วยหญิงมากกว่าผู้ป่วยชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่อายุเกิน 50 ปี เป็นการอธิบายผลการ ศึกษาในสหรัฐอเมริกาซึ่งพบว่า ในผู้หญิงมักจะสูญเสียฟันก่อนผู้ชายแม้ว่าจะดูแลฟันดีกว่าก็ตาม การที่ กระดูกขากรรไกรบางกว่าปกตินี้เคยมีรายงานว่าเวลากระทบกระแทก บดเคี้ยวอาหารแข็งๆ ก็อาจทำให้ กระดูกหักได้ ดังนั้นทันตแพทย์จึงต้องระมัดระวังอย่างมากเวลาถอนฟัน มิฉะนั้นก็อาจทำให้ขากรรไกร หักได้

ทันตกรรมรากเทียม

โดย ทพ.วิจิตร ธรานนท์ หลายๆ ท่านอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า รากเทียม (dental implant) หรือไม่ทราบว่า รากเทียม คืออะไร และมักจะมีคำถามที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น รากเทียมฝังในคนสูงอายุได้หรือไม่ รากเทียมมีอายุการใช้งานนาน เท่าไหร่ การฝังรากเทียมเจ็บหรือไม่ เป็นต้น ในบทความนี้จะได้อธิบายถึงภาพรวมของงานทันตกรรมราก เทียมตั้งแต่ รากเทียมคืออะไร มีขั้นตอนการรักษาอย่างไร ปัญหาที่เกิดจากการฝังรากเทียมที่พบได้บ่อยๆ มีอะไรบ้าง รากเทียม (Dental Implant) รากเทียมเป็นวัสดุที่ทำมาจากโลหะ titanium ซึ่งโลหะชนิดนี้สามารถเข้ากับร่างกายของมนุษย์ได้ ไม่ก่อให้ เกิดพิษหรืออันตราย รากเทียมค้นพบโดย Professor Branemark ในปี ค.ศ.1952 ซึ่งประมาณ 60 ปี ก่อน สำหรับประเทศไทยเริ่มมีการนำรากเทียมเข้ามาได้ประมาณ 15 ปีก่อน

เอสมิวแทน (S.Mutan) เชื้อก่อโรคฟันผุ

โดย ทญ.ฐิติมา ธนาลาภสกุล คุณพ่อคุณแม่ทราบไหมคะว่า การดูแลสุขภาพช่องปากของลูกน้อย มิได้หมายถึงแต่เพียง การแปรงฟันเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการดูแลทำความสะอาด ส่วนอื่นๆ ของช่องปากด้วย เช่น สันเหงือก กระพุ้งแก้ม และ ลิ้น เป็นต้น

รากเทียมบริเวณกระดูกขากรรไกร-ใบหน้า

ในอดีตผู้ป่วยที่มีความพิการหรือสูญเสียอวัยวะของบริเวณใบหน้า อาจจะมีสาเหตุเนื่องจาก 1. อุบัติเหตุ (Trauma) 2. ภายหลังการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งของใบหน้าและช่องปาก (Cancer Surgery) 3. ความพิการนั้นอาจจะเป็นมาตั้งแต่กำเนิด