นิ่ว เกิดจากสารประกอบในปัสสาวะจับตัวกันเป็นก้อนแข็ง นิ่วที่พบไบ่อยในประเทศไทยคือ นิ่วแคลเซี่ยมออกซาเลต,
แคลเซี่ยมฟอสเฟต,นิ่วติดเชื้อ และนิ่วยูริค
ลักษณะของนิ่วทางเดินปัสสาวะ
สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยคือ
• กรรมพันธุ์ เช่นโรคRenal tubular acidosis, Cystinuria
• สภาพอากาศร้อน
• ดื่มน้ำน้อย
• สารประกอบในน้ำดื่มเช่น เกลือโซเดี่ยมคาร์บอร์เนตในน้ำกระด้าง
• อาหารเช่น เนื้อสัตว์
• ความผิดปกติในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นมีการอุดกั้นทำให้ปัสสาวะค้างตกตะกอน
• ยาเช่น ยาเคลือบกระเพาะ, วิตามินซี, ดี
อาการ
• ปวด มีตั้งแต่ปวดเล็กน้อยถึงรุนแรง ตำแหน่งที่ปวดขึ้นกับตำแหน่งที่นิ่วอยู่เช่น ไต จะปวดบริเวณข้างบั้นเอว, ท่อไต ปวดบริเวณท้อง, กระเพาะปัสสาวะ ปวดบริเวณท้องน้อยหรือหัวหน่าว
• ปัสสาวะเป็นเลือด ลิ่มเลือด
• ปัสสาะขุ่น
• ไข้ เมื่อเกิดการอักเสบติดเชื้อ
การตรวจวินิจฉัย
• ตรวจปัสสาวะ พบเม็ดโลหิตแดงหรือเม็ดโลหิตขาว แสดงถึงการอักเสบ ติดเชื้อ
• เอ็กซ์เรย์ธรรมดา หรือฉีดสี ในรายที่นิ่วมีขนาดเล็กมากอาจทำเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์
• อัลตร้าซาวนด์ ในนิ่วไม่ทึบรังสี หญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วยแพ้อาหารทะเลไม่สามารถฉีดสีได้
ภาพเอ็กซ์เรย์แสดงนิ่วในไตขวาและท่อไตซ้าย
การรักษา
• นิ่วที่มีขนาดเล็กกว่า0.5 ซ.ม. ไม่มีอาการ และไม่มีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ ไม่ต้องให้การรักษา เพียงติดตามดูอาการ
• นิ่วขนาดเล็กกว่า 0.5 ซ.ม. แต่มีอาการหรือมีการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ และนิ่วขนาดใหญ่กว่า 0.5 ซ.ม. มีวิธีการรักษาคือ
1.การรักษาทางยา
• ยาขับปัสสาวะ เพื่อลดการขับแคลเซี่ยมในปัสสาวะ
• ยาทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง ในนิ่วกรดยูริค
• ยายับยั้งตะกอนแคลเซี่ยม เช่นโปตัสเซี่ยมซิเตรท
• สมุนไพรเช่น หญ้าหนวดแมว
2.การรักษาทางการผ่าตัดหรือวิธีอื่น
• การทำสลายนิ่ว
• การส่องกล้องผ่านผิวหนังหรือท่อปัสสาวะ แล้วดีงนิ่วหรือยิงให้แตกออกมา
• การทำผ่าตัด ปัจจุบันใช้เฉพาะในรายนิ่วขนาดใหญ่หรือมีข้อห้ามที่ไม่สามารถใช้วิธีข้างต้นได้
รูปการทำสลายนิ่ว
ภาพแสดงการส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อคล้องนิ่วในท่อไต
ภาพแสดงการส่องกล้องผ่านทางผิวหนังเพื่อสลายนิ่วในไต
การรักษาแบบทั่วไปและการป้องกัน
ใช้กับผู้ป่วยทุกราย ทั้งที่รู้และไม่รู้สาเหตุ และป้องกันการเกิดซ้ำ
• ดื่มน้ำมากกว่าวันละ 3 ลิตร
• จำกัดอาหารที่มีออกซาเลตสูงเช่น ผักโขม, ใบชะพลู, ช็อคโกแลต และผลไม้เปลือกแข็ง
• จำกัดอาหารเค็ม