บทความสุขภาพ

Knowledge

คำถามจากกิจกรรมสัมมนา “100 เรื่องราวที่คุณแม่ตั้งครรภ์…ต้องรู้”

คำถามจากกิจกรรมสัมมนา “100 เรื่องราวที่คุณแม่ตั้งครรภ์…ต้องรู้”


1. ลูกดิ้นเยอะ เวลากลางวันหลายช่วง และกลางคืนช่วงตี2-ตี5 อยากทราบว่าเขาจะพักผ่อนพอไหม


ตอบ. ลูกดิ้นเป็นเรื่องที่ไม่มีอะไรน่ากังวลเลยค่ะ และลูกมักจะดิ้นใกล้เวลารับประทานอาหาร และเวลาอิ่มแล้ว หรือเวลามีเสียงดังรอบตัว คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และหลีกเลี่ยงการได้ยินเสียงดังค่ะ


2. อาการเท้าบวม เดินแล้วเหมือนมีน้ำอยู่ในเท้า นอนพักเอาหมอนหนุนตอนกลางคืน ตื่นมายังบวมอยู่ อยากทราบว่าเกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่


ตอบ. ถ้าเท้าบวมตอนเย็นเนื่องจากยืน เดิน ตลอดวัน และยุบตอนตื่นเช้า ถือว่าเป็นอาการปกติได้ค่ะ แต่ถ้าบวมเลยข้อเท้าขึ้นมาถึงหน้าแข้ง กดแล้วบุ๋ม และยังบวมตอนตื่นนอนตอนเช้า อาจมีภาวะครรภ์เป็นพิษ ควรไปพบแพทย์ก่อนนัดค่ะ


3. อายุครรภ์ 7- 9 เดือน เดินขึ้นสะพานลอยได้ไหม


ตอบ. ควรเลี่ยงค่ะ เพราะน้ำหนักของครรภ์อาจทำให้เสียศูนย์ และเสียการทรงตัว หรือก้าวบันไดพลาดเกิดอันตรายได้ และยังอาจเกิดอาการหน้ามืดเพราะเลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองไม่ทันค่ะ


4. ถ้าคุณแม่เป็นงูสวัดเดือนเมษายน เป็นประจำเดือนครั้งสุดท้ายเดือนมีนาคม ลูกในครรภ์มีอันตรายหรือไม่ ทั้งในเรื่องของเชื้อไวรัส และยาที่ทาน


ตอบ. การติดเชื้อและการรับประทานยา จะไม่มีผลต่อลูกในครรภ์ในช่วง 2 สัปดาห์หลังปฏิสนธิ (ก่อนถึงวันที่ควรมีประจำเดือนค่ะ) สำหรับงูสวัด ถ้าเป็นคุณหมอสูติจัดยาให้และทราบว่าตั้งครรภ์ ก็ไม่เป็นอันตรายค่ะ


5. การบล็อคหลัง ได้ทราบข่าวมาว่าบางโรงพยาบาลไม่ทำการบล็อกหลังให้แล้ว เนื่องจากการฟ้องร้อง ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรบ้าง จริงหรือไม่ อย่างไร


ตอบ. คงเป็นเฉพาะกรณี และเฉพาะบางโรงพยาบาลที่มีข้อจำกัดในการบล็อกหลังค่ะ แต่ในโรงพยาบาลใหญ่ที่มีวิสัญญีแพทย์ที่มีความชำนาญ ก็ยังมีการให้บริการอย่างปลอดภัยตามปกติค่ะ


6. อยากสอบถามว่าถ้าคุณแม่ไม่ค่อยทานเนื้อสัตว์ จะหันมาทานอาหารเสริม สารสกัดจากถั่วเหลืองของแอมเวย์ที่เสริมโปรตีน ได้หรือไม่ค่ะ และจะเป็นอันตรายหรือไม่ค่ะ


ตอบ. อาหารเสริมหรือสารสกัด ไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ จึงต้องรับประทานตามความเชื่อค่ะ ถ้าไม่ทานเนื้อสัตว์ก็แนะนำให้ทานไข่ขาววันละ 3-4 ฟองค่ะ และถ้าทานปลาได้ ก็ควรให้ได้ทุกวันและเสริมวิตามิน B1-6-12 วันละ 1-2 เม็ด เพื่อชดเชยที่จะไม่ทานเนื้อหมูค่ะ


7. ถ้ามีปัญหาเคยปวดหลังจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ควรจะคลอดเองหรือผ่าคลอดดีกว่า


ตอบ. แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอกระดูก เพื่อประเมินว่ายังมีการกดทับหรือมีความเสี่ยงของการกดทับขณะครรภ์ใกล้กำหนดหรือเวลาเบ่งคลอดหรือไม่ ถ้ามีก็ควรจะผ่าตัดคลอดค่ะ


8. อัลตร้าซาวด์ สามารถตรวจความผิดปกติ ของอวัยวะภายในของทารกในครรภ์ได้หรือไม่


ตอบ.สามารถตรวจได้ แต่มีข้อจำกัดว่าอาจไม่สามารถตรวจพบความพิการได้ทั้งหมด ขึ้นกับว่าตรวจในขณะอายุครรภ์เท่าใด และทารกอยู่ในอิริยาบถที่เผยส่วนที่ต้องการตรวจได้ในจังหวะที่กำลังตรวจหรือไม่


9. บริเวณผิวหนังใกล้ช่องคลอดอับชื้นกว่าปกติคิดว่าเนื่องจากต้องปัสสาวะบ่อยทำให้มีตุ่ม (ลักษณะเหมือนยุงกัด และรู้สึกคัน) สามารถใช้แป้งเด็กทาเพื่อลดอาการคันและอับชื้นได้หรือไม่ค่ะ


ตอบ. การทาแป้งอาจเกิดการหมักหมม และเกิดการอักเสบเพิ่มเติม ควรเปลี่ยนวิธีการใช้กระดาษชำระ เพื่อกดกระดาษให้นิ่งและแน่นในบริเวณอับชื้น จนรู้สึกว่าแห้งแล้วก็เอากระดาษอออก พลิกกลับอีกด้านที่ยังแห้งกดซับนิ่งๆอีกครั้ง ไม่ควรเช็ดแบบเคลื่อนกระดาษ เพราะนอกจากไม่แห้งแล้ว อาจเกิดการแปดเปื้อนของแบคทีเรียและเชื้อรารอบทวารหนัก เข้าไปในช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบและคันได้

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

หมอนรองกระดูกเสื่อม ต้นเหตุอาการปวดหลังเรื้อรังที่อายุน้อยก็พบได้

หมอนรองกระดูกเสื่อมคือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมของหมอนรองกระดูกจนไม่สามารถทำหน้าที่ลดแรงกระแทกได้ ทำให้กระดูกรอบ ๆ สึกและอักเสบขึ้นจนเกิดอาการปวดเรื้อรัง

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา อีกหนึ่งสัญญาณเส้นประสาทถูกกดทับ

อาการปวดสะโพกร้าวลงขา (Sciatica pain) เกิดจากการถูกกดทับที่เส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดจากช่วงเอวหรือสะโพกร้าวลงขาด้านหลัง บางรายอาจร้าวไปถึงน่องและเท้าได้

ปวดข้อเท้าเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีรักษาอย่างไรไม่ให้เจ็บเรื้อรัง?

ทำความเข้าใจกับอาการปวดข้อเท้าที่ควรรู้ อาการแบบไหนที่ควรเข้าปรึกษาแพทย์? พร้อมเรียนรู้สาเหตุของอาการ วิธีรักษา ตลอดจนการป้องกันไม่ให้เจ็บข้อเท้าเรื้อรัง

คำแนะนำการป้องกันมาลาเรียสำหรับนักเดินทาง

โรคมาลาเรียเป็นโรคที่เกิดจากโปรโตซัว Plasmodium นำโดยยุงก้นปล่อง มีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ สายพันธ์ุที่รุนแรงคือ Plasmodium falciparum ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักในทวีปแอฟริกา ทำให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง อวัยวะต่างๆล้มเหลว ติดเชื้อขึ้นสมอง โคม่า ชัก และเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า

ไส้เลื่อน ใครก็เป็นได้ อันตรายที่ต้องรักษาก่อนเกิดภาวะแทรกซ้อน

ไส้เลื่อน คือภาวะที่ลำไส้เลื่อนหรือดันออกมาจากช่องท้อง สามารถสังเกตเห็นก้อนนูนออกมาตามขาหนีบ หน้าท้อง สะดือ หากไม่รักษาอาจเกิดอันตรายจากอาการแทรกซ้อนได้

รู้ทันต้อหิน โรคร้ายทำลายการมองเห็น รีบรักษาก่อนสายเกินแก้

ต้อหิน (Glaucoma) คือโรคตาที่มีสาเหตุจากขั้วประสาทตาเสื่อม ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวปวดตา กระจกตาขุ่น การมองเห็นแย่ลง และค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นไปในที่สุด

Hypothyroidism คืออะไร? รู้ทันสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

Hypothyroidism คือ ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานต่ำ ทำให้ระดับการเผาผลาญพลังงานลดลง และนำมาสู่การทำงานของระบบต่าง ๆ ผิดปกติ

รู้ทันอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน ใครเวียนหัว บ้านหมุนบ่อยต้องระวัง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นความผิดปกติของระบบน้ำในหูชั้นใน ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทรงตัวไม่อยู่ และการได้ยินผิดปกติ

หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก สัญญาณอันตรายที่คุณไม่ควรมองข้าม

หายใจไม่อิ่ม เป็นอาการที่หลายคนเผชิญ อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่เต็มปอด หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย บทนี้ความจะพาไปดูสาเหตุของอาการเหล่านี้กัน

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิตแบบไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจหยุดทำงานกะทันหัน ทำให้หมดสติและเสียชีวิตในไม่กี่นาที จึงเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องรับการรักษาทันที

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital