ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน
ศูนย์การแพทย์
โรงพยาบาลพระรามเก้า

ศูนย์อุบัติเหตุและฉุกเฉิน
เพื่อความปลอดภัยโรงพยาบาลพระรามเก้า มีรถพยาบาลฉุกเฉิน (Ambulance) ที่มีบุคลากร และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เพียบพร้อมในการช่วยเหลือผู้ป่วย ตั้งแต่จุดที่รับผู้ป่วย และระหว่างการเคลื่อนย้ายมาที่ รพ. พระราม 9 มีอุปกรณ์สื่อสารที่สามารถรายงานอาการ และการตรวจพบเบื้องต้นมายังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เช่น สาขาโรคหัวใจ โรคทางสมอง ศัลยกรรม เพื่อให้คำแนะนำการรักษาเบื้องต้น และเพื่อการเตรียมการให้การรักษาผู้ป่วยทันทีที่ผู้ป่วยมาถึง รพ.
โดยปกติผู้ป่วยที่มีอาการหนัก จะมาถึงที่ห้องฉุกเฉิน เพื่อให้การรักษาเบื้องต้น โดยแพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน หรือในบางกรณีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคของผู้ป่วยรายนั้นจะมารอให้การรักษาที่ห้องฉุกเฉิน ซึ่งมีอุปกรณ์ในการช่วยชีวิตเบื้องต้นพร้อมสรรพ มีห้องปฏิบัติการช่วยชีวิต หรือ CPR ROOM (Cardio-Pulmonary Recuscitation) ที่แยกเฉพาะ พร้อมอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการช่วยชีวิตผู้ป่วย
บริการต่าง ๆ
- ห้อง CCU (Cardiac Care Unit) สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดหัวใจตีบตัน ผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานของหัวใจล้มเหลว ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเกี่ยวกับหัวใจ (ลิ้นหัวใจ ตัดต่อเส้นเลือดหัวใจตีบ)
- ห้อง ICU (Intensive Care Unit) สำหรับผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป ผู้ป่วยทางศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมสมอง หรือศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ (กระดูก และข้อ) ที่มีปัญหาอายุรกรรมร่วมด้วย หรือเป็นผู้ป่วยหลังผ่าตัด โดยจะมีอายุรแพทย์ประจำตลอด 24 ชั่วโมง
เวลาทำการ
ทุกวัน: ตลอด 24 ชั่วโมง
รายนามแพทย์ประจำศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำหมันแล้วอยากมีลูกได้ไหม? ต้องอ่านการต่อหมันชายแบบเจาะโดยใช้กล้องจุลทรรศน์
การทำหมันชายถือเป็นการคุมกำเนิดถาวร แต่ก็สามารถแก้ไขได้ เพียงแต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ 100% ก

ตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อรู้ทันมะเร็งเต้านม
การคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ ช่วยให้เราสังเกตเห็นสัญญาณผิดปกติของมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรก ๆ วิธีการคลำเต้านมทำง่ายๆได้ด้วยตัวเองดังนี้

High altitude illness หรือภาวะแพ้ที่สูง ที่นักปีนเขาต้องระวัง !
นักท่องเที่ยวหรือนักปีนเขาที่ต้องปีนขึ้นที่สูง อาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากภาวะแพ้ที่สูง (High altitude illness) ซึ่งส่งผลให้ขาดออกซิเจน รวมถึงการบาดเจ็บจากความเย็น ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
สถาบันการแพทย์
แพทย์เฉพาะทาง
รายนามแพทย์ประจำศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้อง

ทำหมันแล้วอยากมีลูกได้ไหม? ต้องอ่านการต่อหมันชายแบบเจาะโดยใช้กล้องจุลทรรศน์
การทำหมันชายถือเป็นการคุมกำเนิดถาวร แต่ก็สามารถแก้ไขได้ เพียงแต่ผลลัพธ์ที่ได้อาจไม่ 100% ก

ตรวจเต้านมด้วยตนเอง เพื่อรู้ทันมะเร็งเต้านม
การคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ ช่วยให้เราสังเกตเห็นสัญญาณผิดปกติของมะเร็งเต้านมตั้งแต่ระยะแรก ๆ วิธีการคลำเต้านมทำง่ายๆได้ด้วยตัวเองดังนี้

High altitude illness หรือภาวะแพ้ที่สูง ที่นักปีนเขาต้องระวัง !
นักท่องเที่ยวหรือนักปีนเขาที่ต้องปีนขึ้นที่สูง อาจเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายจากภาวะแพ้ที่สูง (High altitude illness) ซึ่งส่งผลให้ขาดออกซิเจน รวมถึงการบาดเจ็บจากความเย็น ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้