Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

“ฮีทสโตรก Heat Stroke (ลมแดด)” ภัยเงียบหน้าร้อน ทำให้เสียชีวิตได้ จริงไหม?

พญ.อัณณาช์ เตรียมอนุรักษ์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 7 มีนาคม 2024

เมื่อประเทศไทยเราก้าวสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการ ภาวะอากาศร้อนจัด อาจเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกจนเกิดภาวะ “โรคลมแดด” หรือ ฮีทสโตรก (Heat Stroke) ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในคนที่มีโรคประจำตัวเดิมอยู่แล้ว หรือกลุ่มคนที่มีภาวะสุขภาพเปราะบาง เช่น เด็กหรือผู้สูงอายุ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

พญ.อัณณาช์ เตรียมอนุรักษ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพระรามเก้า เล่าว่า ฮีทสโตรก หรือ ลมแดด เกิดจากร่างกายได้รับอุณภูมิความร้อนมากเกินไป ทำให้ผลส่งกระทบต่อสมองได้ เช่น มีภาวะชัก หมดสติได้ เมื่อเกิดการชักหมดสติแล้วหากไม่ได้ให้สารน้ำ หรือไม่ได้ทำอุณหภูมิร่างกายให้ลดลงหรือเย็นลงทันที ก็จะสามารถทำให้คนไข้เสียชีวิตได้

กลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือลมแดด ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มคนที่เป็นโรคหัวใจ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายโรคที่ต้องรับประทานยาอยู่แล้วหลาย ๆ ตัว ถ้าไปอยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ จะมีความเสี่ยงในการเป็นฮีทสโตรกสูงขึ้น และมีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่านั่นเอง นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับกลุ่มคน ที่ทำงานกลางแจ้งที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ เกษตรกร ตำรวจ ทหาร กลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือลมแดด ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มคนที่เป็นโรคหัวใจ เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายโรคที่ต้องรับประทานยาอยู่แล้วหลาย ๆ ตัว ถ้าไปอยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนมาก ๆ เป็นเวลานาน ๆ จะมีความเสี่ยงในการเป็นฮีทสโตรกสูงขึ้น และมีโอกาสเสียชีวิตได้มากกว่านั่นเอง นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับกลุ่มคน ที่ทำงานกลางแจ้งที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ เกษตรกร ตำรวจ ทหาร

หากเจอผู้ป่วยที่มีอาการฮีทสโตรก ท่านสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นได้โดย

  • ต้องพาคนไข้ออกมาจากอุณหภูมินั้นก่อน เช่น พามาอยู่ในที่ร่ม พยายามเปิดเสื้อผ้าออกให้มากที่สุด เพื่อให้ระบายความร้อนออกจากเสื้อผ้า
  • พยายามหาน้ำ ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง มาประคบตามร่างกาย
  • ถ้าคนไข้รู้สึกตัวให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ หรือว่าถ้ามีคนอยู่บริเวณนั้นที่ปฐมพยาบาลได้ เช่น มีรถพยาบาลก็ควรให้น้ำเกลือ เพื่อให้อุณหภูมิร่างกายเย็นลง เพราะอุณหภูมิร่างกายที่สูงมากเกินไป จะไปกระตุ้นทำให้หัวใจเต้น ผิดจังหวะและทำให้เสียชีวิตได้ คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจและมีภาวะฮีทสโตรกร่วมด้วยจึงเสี่ยงเสียชีวิตได้

วิธีป้องกันหากเราจำเป็นต้องไปอยู่ในที่ที่อุณหภูมิสูงมากๆ คือ ต้องกินน้ำให้มากๆ , ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี และ หากต้องอยู่ในที่ที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน ควรพักในที่โล่งหรือที่มีอากาศระบายได้ดีในทุก 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการเกิดลมแดด

อย่างไรก็ดี ผู้ที่มีโรคประจำตัวและไม่มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงการไปอยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนมากเป็นเวลานาน ๆ เป็นระยะเวลาที่นานเกิน 1 ชั่วโมงและหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าหนาซึ่งทำให้การระบายอากาศไม่ดี เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงไม่ให้เกิดอาการดังกล่าว

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.อัณณาช์ เตรียมอนุรักษ์

พญ.อัณณาช์ เตรียมอนุรักษ์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา