Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
Menu
  • TH
    • EN
    • CN
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 11 พฤษภาคม 2019

คือการส่องกล้องตรวจเยื่อบุคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็น Fiber Optic ทีปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพ อีกด้านหนึ่งเป็นส่วนควบคุมซึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง แล้วส่งภาพมาปรากฏบนจอโทรทัศน์ โดยสอดกล้องเข้าไปทางปาก

ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้อง เมื่อไหร่แพทย์จึงเลือกใช้วิธีนี้

        • อาเจียนเป็นเลือด
        • อาการปวดท้อง
        • เสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่

      อาการกลืนลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีกลิ่นปาก

      • อาการเรอเปรี้ยว แน่นแสบหน้าอกกลางคืน คอแห้ง เสียงแหบ ไอเรื้อรัง ซึ่งเป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน (GERD : Gastro Esophageal Reflux Disease)
      • อาการซีด มีภาวะโลหิตจาง ถ่ายอุจจาระมีสีดำ
      • ตรวจเพื่อยืนยันความผิดปกติที่พบจากการกลืนสารทึบแสง (กลืนแป้ง) เช่น พบแผลหรือเนื้องอก และสามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
      • เพื่อประเมินพยาธิสภาพจากการกลืนกรดหรือด่าง (Caustic Ingestion)
      • เพื่อขยายการตีบแคบของทางเดินอาหาร และตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
      • เป็นการตรวจหามะเร็งขั้นต้นของหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
      • เพื่อช่วยในการทำหัตถการใส่สายให้อาหารทางกระเพาะ (PEG) ผ่านทางหน้าท้อง และลำไส้เล็ก (PEJ) ผ่านทางรูจมูก

ประโยชน์ของการส่องกล้อง

      • ตรวจหาความผิดปกติหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น
      • ตรวจหามะเร็งขั้นต้นของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยตัดชิ้นเนื้อไปตรวจวิเคราะห์
      • ตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย H.Pylori (เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของมะเร็งกระเพาะอาหาร
      • ติดตามผลการรักษาแผลในกระเพาะอาหารว่าเป็นเนื้อดีหรือเนื้อร้าย โดยการตัดชิ้นเนื้อซ้ำในตำแหน่งเดิม
      • กรณีพบจุดเลือดออก สามารถฉีดยา ใช้กระแสไฟฟ้าจี้ หรือใช้ Hemoclip หนีบห้ามเลือด
      • กรณีที่มีเส้นเลือดดำโป่งพองหรือแตกที่ส่วนปลายหลอดอาหาร ซึ่งพบในผู้ป่วยตับแข็ง สามารถห้ามเลือดโดยการรัดเส้นเลือดดำโป่งพองหรือแตกนี้ได้
      • ใช้คีบ ก้างปลา กระดูกเป็ด ไก่ หรือสิ่งแปลปลอมที่ติดค้างในคอและหลอดอาหารออก
      • สามารถขยายตำแหน่งที่มีการตีบตันของทางเดินอาหาร เช่น การตีบตันเนื่องมาจากมะเร็งของหลอดอาหาร หรือผลข้างเคียงจากการกลืนกรดหรือด่าง

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

    • ก่อนตรวจ 1 วัน ควรละเว้นอาหารที่ระคายเคืองกระเพาะ เช่น อาหารรสจัด สุรา กาแฟ
    • งดอาหาร และเครื่องดื่มทุกชนิดก่อนตรวจ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
    • ภายหลังการตรวจ อาจมีการระคายเคืองและอาจมีเสมหะปนเลือดเล็กน้อย
    • ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น กลืนไม่ลง ปวดบวมบริเวณลำคอ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้สูง ควรรีบมาพบแพทย์

บทความล่าสุด

Coronary calcium score

Coronary calcium score ช่วยประเมินการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

อ่านเพิ่มเติม
เข้าใจโรคไทรอยด์

เช็กอาการและเข้าใจโรคไทรอยด์แต่ละประเภท

อ่านเพิ่มเติม
โรคต้อหินทำให้ตาบอด

โรคต้อหิน ภัยเงียบที่อาจทำให้ตาบอดได้

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 V
  • Praram 9 V

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

Coronary calcium score

Coronary calcium score ช่วยประเมินการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การตีบตันของหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการสะสมของไขมันและแคลเซียมในผนังหลอดเลือด การตรวจ coronary calcium score ช่วยบอกระดับของแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้

อ่านเพิ่มเติม
เข้าใจโรคไทรอยด์

เช็กอาการและเข้าใจโรคไทรอยด์แต่ละประเภท

ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเผาผลาญพลังงานและควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกาย ส่งเสริมการเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมองและระบบประสาท หากต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติจะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายตามไปด้วย

อ่านเพิ่มเติม
โรคต้อหินทำให้ตาบอด

โรคต้อหิน ภัยเงียบที่อาจทำให้ตาบอดได้

โรคต้อหินโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในระยะยาว โดยผู้ป่วยจะค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นจนทำให้การมองเห็นลดลง และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหากทิ้งไว้จนอาการรุนแรงอาจถึงขั้นตาบอดถาวรได้

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด

แพ็กเกจยอดนิยม

แพ็กเกจตรวจสุขภาพน้องใหม่วัยชิลล์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นพี่วัยชิค

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นใหญ่วัยเก๋า

รายละเอียด

ดูแพ็กเกจทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2021 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา