Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

มะเร็งกระเพาะอาหาร โรคอันตรายที่ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 26 กุมภาพันธ์ 2020
มะเร็งกระเพาะอาหาร

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารเป็นโรคมะเร็งที่พบมากในคนไทย ซึ่งในรายงานของ GLOBOCAN 2022 ระบุว่ามะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่พบได้มากและมีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลกจากมะเร็งทั้งหมด มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และผู้ป่วยมักมีอายุมากกว่า 40 ปี

ความน่ากลัวของมะเร็งกระเพาะอาหารคือเป็นโรคที่มันมักเริ่มต้นแบบเงียบ ๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว ไม่มีอาการใดๆ เพราะในระยะแรกมักไม่มีอาการใด ๆ และจะแสดงอาการเมื่อโรคอยู่ในระยะลุกลามแล้ว อาการเริ่มต้นไม่เฉพาะเจาะจงเช่น อาการท้องอืด แน่นท้อง หรือปวดท้องหลังอาหาร อาจถูกมองข้ามและเข้าใจผิดว่าเป็นแค่ปัญหาทางเดินอาหารทั่วไป กว่าจะรู้ตัว โรคนี้ก็อาจกระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ และทำให้การรักษายากขึ้น การเข้าใจความอันตรายของมะเร็งกระเพาะอาหาร การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพื่อให้เราสามารถรับมือและป้องกันได้อย่างทันท่วงที

สารบัญ

  • มะเร็งกระเพาะอาหารคืออะไร?
  • อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร มีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง?
  • การวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • วิธีการรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร
  • ระยะต่าง ๆ ของมะเร็งกระเพาะอาหารและการรักษา
  • มะเร็งกระเพาะอาหารรักษาหายไหม?
  • มะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้ายมีอาการอย่างไร?
  • คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว
  • วิธีป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • สรุป

มะเร็งกระเพาะอาหารคืออะไร?

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Gastric Cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ที่อยู่บริเวณเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเกิดจากเซลล์ในส่วนต่าง ๆ ของกระเพาะอาหาร รวมถึงเซลล์ที่ผลิตน้ำย่อยหรือเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกัน เซลล์

  • มะเร็งกระเพาะอาหารรักษาหายไหม?
  • มะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้ายมีอาการอย่างไร ? มะเร็งเหล่านี้มักเจริญเติบโตอย่างช้า ๆ โดยระยะแรกของมะเร็งกระเพาะอาหารมักไม่มีอาการชัดเจน ทำให้การวินิจฉัยในระยะเริ่มต้นเป็นไปได้ยาก มะเร็งกระเพาะอาหารมีหลายชนิด เช่น

    • Adenocarcinoma: เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด เกิดขึ้นจากเซลล์ที่อยู่ในเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร
    • Lymphoma: มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ภูมิคุ้มกันในกระเพาะอาหาร
    • Gastrointestinal stromal tumors (GISTs): เนื้องอกที่เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของกระเพาะอาหาร
    • Carcinoid tumors: มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ฮอร์โมนในกระเพาะอาหาร

> กลับสู่สารบัญ

อาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร

อาการของมะเร็งกระเพาะอาหารในระยะแรกอาจไม่ชัดเจน ทำให้มักถูกมองข้ามไป โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • ปวดท้องหรือรู้สึกไม่สบายบริเวณท้อง: อาการนี้อาจเป็นเพียงอาการปวดเล็กน้อย หรือปวดหนักขึ้นเมื่อโรครุนแรงขึ้น
  • เบื่ออาหาร: ผู้ป่วยหลายคนรู้สึกไม่อยากกินอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่เคยชอบ
  • น้ำหนักลด: การที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่มีสาเหตุชัดเจนอาจเป็นสัญญาณของมะเร็ง
  • ท้องอืด: มีความรู้สึกอืดแน่นในท้องหลังจากรับประทานอาหารเพียงเล็กน้อย
  • คลื่นไส้และอาเจียน: บางครั้งอาจพบอาการอาเจียนเป็นเลือดหรือมีเลือดปนในอุจจาระ ซึ่งเป็นสัญญาณของการมีเลือดออกภายในระบบทางเดินอาหาร
  • อาการเรอหรือมีกรดไหลย้อน: ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคล้ายโรคกรดไหลย้อน ซึ่งทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นปัญหาทั่วไปของทางเดินอาหาร

และเนื่องจากอาการของโรคไม่ชัดเจนทำให้มักถูกมองข้าม ดังนั้นการสังเกตอาการที่ผิดปกติเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยโรค เพราะการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะมีโอกาสหายและให้ผลการรักษาที่ดีกว่า

> กลับสู่สารบัญ

มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร มีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง?

ถึงแม้สาเหตุของการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารจะยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเพิ่มโอกาสเกิดโรคได้ เช่น

  • เพศ: มะเร็งกระเพาะอาหารพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยผู้ชายมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารสูงกว่าผู้หญิงถึงสองเท่า
  • อายุ: ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารมีอายุมากกว่า 75 ปี
  • การติดเชื้อแบคทีเรีย Helicobacter pylori (H. pylori): การติดเชื้อนี้ทำให้เกิดการอักเสบในเยื่อบุกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
  • การสูบบุหรี่: การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะอาหาร ยิ่งสูบบุหรี่นานและมากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็ยิ่งมากขึ้น 
  • อาหาร: การรับประทานอาหารที่มีเกลือมาก เนื้อสัตว์หรืออาหารแปรรูป หรืออาหารรมควัน อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหาร ในขณะที่การรับประทานผักและผลไม้สดไม่เพียงพอหรือน้อยเกินไปก็เป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน
  • น้ำหนักเกิน: คนที่มีน้ำหนักหรือดัชนีมวลกายเกินกว่าเกณฑ์มีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งที่รอยต่อระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร (gastro-oesophageal junction หรือ GOJ)
  • สภาวะของกระเพาะอาหาร: ภาวะต่าง ๆ เช่น โรคโลหิตจางชนิดเพอร์นิเชียส (Pernicious anemia) หรือภาวะกระเพาะอักเสบเรื้อรัง (Atrophic gastritis) อาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารเปลี่ยนแปลงและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
  • การผ่าตัดกระเพาะอาหาร: การตัดกระเพาะบางส่วนเพื่อรักษาโรคอื่น ๆ เช่น แผลในกระเพาะ อาจทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น เนื่องจากลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
  • ประวัติครอบครัว: ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในกรณีที่มีสมาชิกในครอบครัวหลายคนที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร และเป็นคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่อายุน้อย

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหาร

การวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหารต้องอาศัยการตรวจหลายอย่างเพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน โดยการตรวจที่มักใช้ในการวินิจฉัยมะเร็งกระเพาะอาหาร ได้แก่

  • การส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้น (Upper endoscopy): เป็นการใช้กล้องส่องภายในกระเพาะอาหารเพื่อตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อต่างๆในกระเพาะอาหาร
  • การเก็บชิ้นเนื้อ (Biopsy): เป็นการเก็บชิ้นเนื้อจากกระเพาะอาหารโดยผ่านการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น และชิ้นเนื้อที่เก็บจากกระเพาะอาหารนี้จะถูกส่งไปตรวจในห้องปฏิบัติการเพื่อวิเคราะห์ว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่
  • การตรวจเลือด: เพื่อตรวจหาโปรตีนหรือสารที่บ่งชี้การเกิดมะเร็ง
  • การถ่ายภาพทางการแพทย์: เช่น CT scan หรือ MRI เพื่อดูการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่น
  • การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ผ่านกล้องส่อง (Endoscopic Ultrasound – EUS): เป็นการใช้กล้องที่ติดเครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจดูความลึกของเนื้องอกในผนังกระเพาะอาหาร

> กลับสู่สารบัญ

วิธีการรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร

การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคและสภาพร่างกายของผู้ป่วย โดยวิธีการรักษาที่แพทย์ใช้ในการรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร ได้แก่

  • การผ่าตัด (Surgery): เป็นการรักษาหลักสำหรับมะเร็งกระเพาะอาหารที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น การผ่าตัดสามารถแบ่งออกเป็นหลายแบบ เช่น การผ่าตัดเอากระเพาะอาหารออกบางส่วน (Partial gastrectomy) หรือการผ่าตัดเอากระเพาะอาหารออกทั้งหมด (Total gastrectomy) ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก
  • การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy): เป็นการใช้ยาทำลายเซลล์มะเร็งทั้งก่อนและหลังการผ่าตัด หรือในกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้ว
  • การฉายแสง (Radiotherapy): โดยใช้รังสีพลังงานสูงเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งหรือยับยั้งการเจริญเติบโต
  • การรักษาด้วยยาภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy): เป็นวิธีที่อาศัยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง โดยใช้ยาเฉพาะที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

> กลับสู่สารบัญ

ระยะต่าง ๆ ของมะเร็งกระเพาะอาหารและการรักษา

  • ระยะแรก: มะเร็งในระยะเริ่มต้นอาจไม่มีอาการเด่นชัด ผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์เนื่องจากอาการท้องอืด แน่นท้อง หรือปวดท้องหลังจากการรับประทานอาหาร ซึ่งอาการเหล่านี้อาจคล้ายกับโรคกระเพาะอาหาร ในระยะนี้ การรักษาสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัด หากมะเร็งยังอยู่ที่เยื่อบุกระเพาะอาหาร สามารถตรวจพบจากการส่องกล้องและรักษาโดยการใช้กล้องส่องทางเดินอาหาร
  • ระยะที่สอง: มะเร็งเริ่มโตขึ้น แต่ยังไม่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง การรักษาหลักในระยะนี้คือการผ่าตัดเอามะเร็งและต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงออก อาจมีการใช้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย
  • ระยะที่สาม: มะเร็งเริ่มลุกลามไปติดอวัยวะข้างเคียง ทำให้ไม่สามารถเลาะกระเพาะอาหารออกได้หมด หรือมีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง การรักษาในระยะนี้จะทำการผ่าตัดออกทั้งหมด รวมถึงเลาะต่อมน้ำเหลืองออกด้วย การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับการรักษาด้วยความร้อนมาช่วยในการผ่าตัด จะเพิ่มโอกาสการหายขาดมากขึ้น
  • ระยะสุดท้าย: มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะที่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ หรือ ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ไกลออกไป การรักษาในระยะนี้จะมุ่งเน้นที่การควบคุมและลดอาการของโรค โดยการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อช่วยบรรเทาอาการและควบคุมการเจริญเติบโตของมะเร็ง

> กลับสู่สารบัญ

มะเร็งกระเพาะอาหารรักษาหายไหม?

การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารสามารถให้ผลดีและหายได้หากตรวจพบในระยะแรกและได้รับการรักษาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากมะเร็งได้รับการวินิจฉัยในระยะที่ลุกลามแล้ว โอกาสในการหายก็จะจะลดลง และการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การควบคุมอาการและยืดอายุของผู้ป่วย

> กลับสู่สารบัญ

มะเร็งกระเพาะอาหารระยะสุดท้ายมีอาการอย่างไร?

ในระยะสุดท้ายของมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการมักจะรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยอาการที่พบบ่อย เช่น

  • ปวดท้องอย่างรุนแรง: อาการปวดอาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในบางครั้งยาแก้ปวดอาจไม่สามารถช่วยลดอาการได้
  • น้ำหนักลดลงมากและอ่อนเพลีย: ผู้ป่วยในระยะสุดท้ายจะมีการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วและสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ
  • อาการอาเจียนอย่างต่อเนื่อง: มักเกิดขึ้นเนื่องจากกระเพาะอาหารไม่สามารถรับอาหารได้ตามปกติ
  • การแพร่กระจายของมะเร็ง: อาจมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น ตับ ปอด หรือต่อมน้ำเหลือง ทำให้เกิดอาการเพิ่มเติม เช่น อาการเหนื่อย หายใจลำบาก หรือภาวะตัวเหลือง 

> กลับสู่สารบัญ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว

การดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารควรดูแลรักษาทางกายและรวมถึงการดูแลสุขภาพจิตใจด้วย โดยคำแนะนำสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว ได้แก่

  • การสื่อสารกับทีมแพทย์: ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรักษาและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
  • การดูแลเรื่องโภชนาการ: ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลจากนักโภชนาการเพื่อวางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสม
  • การดูแลสุขภาพจิต: ครอบครัวและผู้ป่วยควรเปิดใจในการพูดคุยถึงความรู้สึกและความกังวลเพื่อสร้างความเข้าใจและช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

วิธีป้องกันมะเร็งกระเพาะอาหาร

  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: ควรเพิ่มปริมาณผักและผลไม้ในอาหาร เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการเกิดมะเร็งได้
  • ลดการบริโภคอาหารเค็มและอาหารแปรรูป: หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเกลือสูง อาหารหมักดอง อาหารแปรรูป หรืออาหารรมควัน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งกระเพาะอาหาร
  • เลิกสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์: การสูบบุหรี่เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร การลดหรืองดการดื่มแอลกอฮอล์ก็ช่วยลดความเสี่ยงได้
  • ตรวจหาการติดเชื้อ H. pylori: ในบางกรณี แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย H. pylori โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ในกระเพาะ ซึ่งสาเหตุมักมาจากการติดเชื้อ H. pylori การรับประทานอาหารเค็มหรือแปรรูป การสูบบุหรี่ และพันธุกรรม ส่วนการป้องกันสามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารสุขภาพ ลดของเค็ม และเลิกบุหรี่ นอกจากนี้ การตรวจสุขภาพเป็นประจำ การส่องกล้องกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จะช่วยให้ตรวจพบมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายได้

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการกลืนกล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งชาย

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งหญิง

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งด้วยรหัสพันธุกรรม

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 60 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชายหรือคุณผู้หญิง)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 50 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชายหรือคุณผู้หญิง)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 40 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชายหรือคุณผู้หญิง)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับอายุ 30 ปีขึ้นไป (คุณผู้ชายหรือคุณผู้หญิง)

รายละเอียด

โปรแกรมผ่าตัดกระเพาะอาหารแบบส่องกล้อง (ดมยาสลบ, ICU 1 คืน, Ward 3 คืน)

รายละเอียด

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ปัญหายอดฮิตของคนใช้งานข้อมือหนัก

อ่านเพิ่มเติม
กล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS MH และ SMA อาการต่างกันอย่างไร รักษาหายไหม?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ปัญหายอดฮิตของคนใช้งานข้อมือหนัก

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ คือโรคที่เกิดจากปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่ใช้กางนิ้วหัวแม่มือที่อยู่บริเวณข้อมือเกิดการอักเสบ ทำให้มีอาการปวดข้อมือเมื่อใช้งาน มักเกิดจากการใช้งานข้อมือหนัก

อ่านเพิ่มเติม
กล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS MH และ SMA อาการต่างกันอย่างไร รักษาหายไหม?

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถแบ่งได้หลายชนิด ซึ่งจะมีสาเหตุและอาการหลายแบบ วิธีรักษาเองก็หลากหลายตามไปด้วย รักษาแล้วหายขาดไหม? ติดตามได้ในบทความนี้!

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา