Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
Menu
  • TH
    • EN
    • CN
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 11 พฤษภาคม 2019

วิธีการรับประทานยาที่ถูกต้อง

  • ยาก่อนอาหาร ให้รับประทานยาก่อนอาหารอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง – 1 ชั่วโมง เพื่อให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้ดี หากลืมรับประทานยาในช่วงเวลาดังกล่าว ให้รับประทานยาเมื่อผ่านอาหารมื้อนั้นไปแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง สำหรับยาที่ใช้รักษาอาการคลื่นไส้ อาเจียน จะออกฤทธิ์ไปเพิ่มการเคลื่อนไหว
    ของกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งควรรับประทานก่อนอาหารเพื่อลดการคลื่นไส้อาเจียน
  • ยาหลังอาหาร ให้รับประทานยาหลังอาหารประมาณ 15 -30 นาที ยาที่ให้รับประทานหลังอาหารมักเป็นยาทั่วๆไป ซึ่งอาหารที่ทานเข้าไปจะไม่รบกวนการดูดซึมของยาและอาจเพิ่มการดูดซึมของยาบางชนิดได้
  • ยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที สามารถรับประทานยาหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จทันทีหรือรับประทานยาไปพร้อมๆกับมื้ออาหารได้ เพราะยาประเภทนี้มักเป็นยาที่ออกฤทธิ์เป็นกรด ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียน เมื่อรับประทานขณะท้องว่าง ดังนั้นจึงต้องทานอาหารหรือน้ำเพื่อช่วยในการทำให้ฤทธิ์ของยาเจือจาง
  • ยาก่อนนอน ให้รับประทานยาในช่วงก่อนเข้านอนตอนกลางคืนประมาณ 15-30 นาที
  • ยาที่รับประทานตอนท้องว่าง ให้รับประทานยาก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ดี
  • ยาที่ต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน เป็นยาที่ต้องการออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น ต้องเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน
  • ยาที่ห้ามบด ห้ามเคี้ยว เป็นยาประเภทเม็ดเคลือบให้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ (Enteric Coated Tablet) ยาที่ทำรูปแบบนี้จะเป็นตัวยาที่มีฤทธิ์ระคายเคืองกระเพาะอาหาร โดยจะเคลือบเม็ดยาเพื่อให้ยาแตกตัวในลำไส้ หากบดหรือเคี้ยวยาชนิดนี้จะทำให้เกิดการระคายเคืองที่กระเพาะอาหาร หรืออาจเป็นยาที่ออกแบบพิเศษ เพื่อให้คงการออกฤทธิ์ตลอดเวลา หากเราบดหรือเคี้ยวยาจะทำให้คุณสมบัติของยาเปลี่ยนแปลงไป
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานยากับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน เช่น เหล้า ไวน์ เบียร์ ชา กาแฟ หรือน้ำอัดลม ควรรับประทานยาพร้อมกับน้ำเปล่าที่สะอาดและไม่ควรเป็นน้ำอุ่น
  • ควรรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเป็นประจำ สม่ำเสมอ ไม่ปรับเพิ่มหรือลดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
  • ควรมาพบแพทย์ตามเวลานัด เพื่อติดตามผลการรักษา ปัญหาการใช้ยาหรือปัญหาข้างเคียงต่างๆที่อาจเกิดได้จากการรับประทานยา

อย่าลืมนะคะ…ว่ายาที่ใช้ได้สำหรับเรา ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้ผลดีกับผู้ป่วยท่านอื่น แม้ว่ายาจะสามารถใช้รักษาให้หายป่วยและทำให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้ แต่สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักไว้เสมอ คือ ยาทุกชนิดล้วนแล้วแต่มีอันตราย เช่นเดียวกับที่มีคุณประโยชน์ ดังนั้น ก่อนใช้ยาควรพิจารณาให้รอบคอบก่อนใช้ทุกครั้ง

บทความล่าสุด

Coronary calcium score

Coronary calcium score ช่วยประเมินการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

อ่านเพิ่มเติม
เข้าใจโรคไทรอยด์

เช็กอาการและเข้าใจโรคไทรอยด์แต่ละประเภท

อ่านเพิ่มเติม
โรคต้อหินทำให้ตาบอด

โรคต้อหิน ภัยเงียบที่อาจทำให้ตาบอดได้

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 V
  • Praram 9 V

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

Coronary calcium score

Coronary calcium score ช่วยประเมินการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

การตีบตันของหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการสะสมของไขมันและแคลเซียมในผนังหลอดเลือด การตรวจ coronary calcium score ช่วยบอกระดับของแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้

อ่านเพิ่มเติม
เข้าใจโรคไทรอยด์

เช็กอาการและเข้าใจโรคไทรอยด์แต่ละประเภท

ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเผาผลาญพลังงานและควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกาย ส่งเสริมการเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมองและระบบประสาท หากต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติจะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายตามไปด้วย

อ่านเพิ่มเติม
โรคต้อหินทำให้ตาบอด

โรคต้อหิน ภัยเงียบที่อาจทำให้ตาบอดได้

โรคต้อหินโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในระยะยาว โดยผู้ป่วยจะค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นจนทำให้การมองเห็นลดลง และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหากทิ้งไว้จนอาการรุนแรงอาจถึงขั้นตาบอดถาวรได้

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด

แพ็กเกจยอดนิยม

แพ็กเกจตรวจสุขภาพน้องใหม่วัยชิลล์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นพี่วัยชิค

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นใหญ่วัยเก๋า

รายละเอียด

ดูแพ็กเกจทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2021 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา