หากคุณมีอาการท้องผูก ถ่ายไม่สุด หรือท้องเสียบ่อยๆ อุจจาระมีก้อนเล็กลงหรือมีมูกเลือดปน เวลาเบ่งถ่าย รวมทั้งมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก อย่านิ่งนอนใจเป็นอันขาด เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือน มะเร็งลำไส้ใหญ่
โดยมะเร็งมะเร็งลำไส้พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมาเป็นอันดับ 3 ของโรคมะเร็งทั้งหมด การดูแลป้องกันเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ด้วยการตรวจคัดกรองโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็น Fiber optic ที่ปลายกล้องมีเลนส์ขยายภาพ อีกด้านหนึ่งเป็นส่วนควบคุมซึ่งต่อเข้ากับเครื่องกำเนิดแสง แล้วส่งภาพมาปรากฎบนจอโทรทัศน์ โดยสอดกล้องเข้าไปทางปากทวารหนักจนถึงลำไส้ใหญ่ส่วนต้นซึ่งต่อกับลำไส้เล็กส่วนปลายทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ได้ถูกต้องแม่นยำ สามารถวินิจฉัยว่าเป็น แผล เนื้องอกมะเร็ง หรือความผิดปกติของเส้นเลือดในลำไส้ใหญ่

ผู้ที่ควรได้รับการตรวจโดยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
- มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
- ผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีขึ้นไป และสุขภาพดี ไม่มีอาการใดๆก็ตาม ควรได้รับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ทุกๆ 3-5 ปี
- ตรวจอุจจาระพบเม็ดเลือดแดง(Stool occult blood Positive) หรือการตรวจหาสารก่อมะเร็งในเลือด(CEA)สูงผิดปกติ
- มีอาการปวดท้องเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการคล้ายริดสีดวงทวารหนัก ซึ่งมีก้อนเนื้อยื่นออกมา
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือ ท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายไม่สุด หรือถ่ายอุจจาระเรียวแบน
- ถ่ายอุจจาระมีมูกเลือดปน อาจจะเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ และมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
- คลำพบก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
- โลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ
- น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
สำหรับในด้านการักษา สามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติ ส่งตรวจและการตัดเอาเนื้องอกที่เป็นติ่งเล็กๆผ่านกล้อง โยไม่ต้องทำหารผ่านตัดช่องท้อง และในกรณีมีเลือดออกจากลำไส้ใหญ่ สามารถหาสาเหตุและห้ามเลือดโดยผ่านกล้องได้
ทั้งนี้ ก่อนทำการส่องกล้องแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทำการประเมินว่า ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว และยาที่ทานเป็นประจำ เช่น ยาต้านเกร็ดเลือด (Aspirin,Plavix) หรือ วิตามินอี (E) เพราะทำให้เลือดหยุดช้า ต้องหยุดก่อนมารับการตรวจ 1 สัปดาห์
การเตรียมตัวก่อนการตรวจ
- ก่อนตรวจ 3 วัน ให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย งดผัก ผลไม้และอาหารที่มีเส้นใยเยอะ และดื่มน้ำมากๆ
- การเตรียมลำไส้ใหญ่ เพื่อไม่ให้มีอุจจาระตกค้าง โดยให้ผู้ป่วยรับประทานยาระบายและสวนอุจจาระ และให้น้ำเกลือเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยลดอาการขาดน้ำ อ่อนเพลีย
- วันตรวจควรมีญาติมาด้วย ไม่ควรขับรถมาเอง
อาการที่อาจพบได้หลังการตรวจ
- ท้องอืด มีลม เนื่องจากใส่ลมขณะส่องกล้อง
- อุจจาระอาจมีเลือดปนเล็กน้อย เนื่องจากมีหัตถกรรมในการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
- ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้องมาก ถ่ายอุจจาระมีเลือดปนไม่หยุด ควรรีบมาพบแพทย์