Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากอะไร รู้จักสังเกตอาการก่อนเป็นอันตรายถึงชีวิต

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 24 พฤษภาคม 2025
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาจไม่ใช่โรคที่พบได้บ่อย แต่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย การเข้าใจถึงสาเหตุและอาการของโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเฝ้าระวังและตัดสินใจเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

Key Takeaways

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นโรคอันตรายที่มีอัตราการเสียชีวิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง จึงจัดเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาเร่งด่วน 
  • สาเหตุการเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถเกิดได้ทั้งจากการติดเชื้อ และไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ
  • อาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่จะมีความรุนแรงและทรุดตัวอย่างรวดเร็ว
  • การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรค เช่น การรักษาตามอาการ และการให้ยาปฏิชีวนะ
  • การป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบสามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อ

สารบัญบทความ

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออะไร
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบมีกี่ประเภท
  • สาเหตุที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอะไรบ้าง?
  • อาการแบบไหนอาจเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • แนวทางการป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะฉุกเฉินการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบคืออะไร

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ(Meningitis) คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังเกิดการอักเสบขึ้น จนเกิดอาการปวด บวม เป็นไข้ ซึ่งอาการในช่วงแรกจะคล้ายกับอาการไข้หวัดใหญ่ แต่หากไม่ได้รับการรักษาทันทีอาการจะรุนแรงขึ้นจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

เยื่อหุ้มสมองอักเสบมีกี่ประเภท

เราสามารถแยกประเภทการเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ 2 ประเภท ตามระยะเวลาการดำเนินโรค 

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบเฉียบพลัน (Acute Meningitis) มักเกิดอาการรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมทันทีอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิตได้
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบเรื้อรัง (Chronic Meningitis) ระยะเวลาดำเนินโรคมากกว่า 4 สัปดาห์ อาจเกิดจากการติดเชื้อที่มีการแบ่งตัวช้า หรือการอักเสบที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ 

สาเหตุที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีอะไรบ้าง?

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส (Viral Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย มักมีอาการไม่รุนแรง สามารถรักษาตามอาการหรือหายได้เอง และมีโอกาสน้อยที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ยกตัวอย่างเชื้อไวรัสที่สามารถทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น

  • ไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus)
  • เริม (Herpes simplex virus; HSV)
  • คางทูม (Mumps virus)
  • อีสุกอีใส (Varicella virus)
  • หัดเยอรมัน (Rubella virus)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดความรุนแรงและอันตรายที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาทันที มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ภายใน 24 ชั่วโมงหรืออาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างถาวร พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิต่ำ ยกตัวอย่างเชื้อแบคทีเรียที่สามารถทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น

  • Streptococcus pneumoniae
  • Streptococcus agalactiae
  • Neisseria meningitidis
  • Haemophilus influenzae type b (Hib)
  • Escherichia coli
  • Mycobacterium tuberculosis

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อรา (Fungal Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อราเป็นสาเหตุที่พบได้น้อย ส่วนมากจะพบในผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยเอดส์

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อปรสิต (Parasitic Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อปรสิตเป็นสาเหตุที่พบได้น้อยมาก แต่หากเกิดการติดเชื้อขึ้นมักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงและมีโอกาสเสียชีวิตสูงมากโดยเชื้อปรสิตที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบมีหลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น

  • Naegleria fowleri 
  • Angiostrongylus cantonensis
  • Gnathostoma spinigerum
  • Baylisascaris procyonis

เยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (Non-infectious Meningitis)

เยื่อหุ้มสมองสามารถเกิดการอักเสบขึ้นได้จากสาเหตุนอกเหนือจากการติดเชื้อ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบมีดังต่อไปนี้

  • โรคระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  • การใช้ยาบางชนิด
  • การลุกลามของเซลล์มะเร็งบางชนิด
  • การผ่าตัดสมอง
  • การบาดเจ็บที่ศีรษะ

อาการแบบไหนอาจเป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงผู้ใหญ่ โดยอาการที่อาจพบได้มีดังนี้

  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • มีไข้สูง
  • อาเจียน
  • คอแข็ง ก้มไม่ได้
  • มีอาการสับสน ซึม หมดสติ
  • ชัก
  • เบื่ออาหาร
  • แพ้แสง

กรณีโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดในเด็กทารกอาจสังเกตอาการผิดปกติได้ดังต่อไปนี้

  • มีไข้สูง
  • กระหม่อมนูน
  • ร้องไห้ตลอดเวลา
  • ไม่ยอมดื่มนม หรือดื่มน้อยมาก
  • ปลุกไม่ค่อยตื่น
  • ไม่ค่อยขยับตัว เฉื่อยชา

การวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

การวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะเริ่มต้นที่การซักประวัติผู้ป่วย และตรวจร่างกายเบื้องต้นว่ามีลักษณะอาการที่บ่งบอกถึงการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองหรือไม่ เช่น อาการคอแข็ง อุณหภูมิร่างกาย ระดับการรับรู้ ร่วมกับการตรวจอื่น ๆ เช่น

  • การตรวจเลือด และการเจาะน้ำไขสันหลัง เพื่อตรวจหาเชื้อที่ก่อให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • การทำ CT Scan หรือ MRI เพื่อตรวจดูการอักเสบและความเสียหายของเยื่อหุ้มสมองที่เกิดขึ้น

การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

การรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการ และระดับความรุนแรงของการอักเสบ ซึ่งสามารถแบ่งวิธีการรักษาได้ดังนี้

  • การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส 

ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการไม่รุนแรง คล้ายกับไข้หวัด การรักษาจึงมักเป็นการรักษาตามอาการ ร่วมกับการพักผ่อนเพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูได้เต็มที่

  • การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ผู้ป่วยจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะผ่านหลอดเลือดดำโดยเร็วที่สุด โดยชนิดของยาปฏิชีวนะที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดเชื้อแบคทีเรียก่อโรค

  • การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อรา

ผู้ป่วยจะได้รับยาต้านเชื้อราทางหลอดเลือดดำ

  • การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อปรสิต

ผู้ป่วยจะต้องได้รับยายาฆ่าปรสิตผ่านหลอดเลือดดำโดยเร็วที่สุด แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะรับการรักษาไม่ทัน เนื่องจากการดำเนินโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

  • การรักษาโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

แนวทางการรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดการอักเสบ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรคแพ้ภูมิตนเอง อาจต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน หรือกรณีเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการใช้ยา เมื่อหยุดยาอาการก็มักจะดีขึ้น 

ทั้งนี้ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากการติดเชื้อ ดังนั้นการป้องกันจึงทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนและหลังเข้าห้องน้ำ และเมื่อต้องใช้มือในการหยิบจับสัมผัสอาหาร
  • รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ หรืออาหารที่ไม่ทราบแหล่งที่มา
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบหมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท และควรใส่แมสก์ป้องกันการติดเชื้อ
  • รักษาสุขอนามัยส่วนตัว ไม่ใช้ของหรือรับประทานอาหารร่วมกับใคร
  • เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะฉุกเฉินการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว

การตรวจและวินิจฉัยเยื่อหุ้มสมองอักเสบอย่างรวดเร็วและแม่นยำ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการฟื้นตัว ลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนรุนแรง และช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีในแบบที่ควรจะเป็น 

ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพระรามเก้า เราจึงเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะฉุกเฉินโดยทีมแพทย์เฉพาะทางโรคสมองและระบบประสาท เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที พร้อมดูแลอย่างใกล้ชิดตลอดกระบวนการรักษา และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติอีกครั้ง 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • Facebook : Praram 9 hospital
  • Line : @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 

1. เยื่อหุ้มสมองอักเสบอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างไร?

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ก่อให้เกิดการอักเสบและระดับความรุนแรงที่เกิดขึ้น ยกตัวอย่างภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ได้แก่ สมองได้รับความเสียหาย เกิดปัญหาทางระบบประสาท การแพร่กระจายของเชื้อไปยังส่วนอื่นของร่างกาย หรือเกิดความพิการ เป็นต้น

References

Meningitis. (2023, April 17). WHO. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/meningitis

Lights, V. (2023, November 27). Meningitis: Everything You Need to Know. Healthline. https://www.healthline.com/health/meningitis#What-is-meningitis

บทความล่าสุด

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร เลือกผ่าตัดแบบไหนให้เหมาะกับปัญหาข้อเข่าเสื่อม ของเรา?

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากอะไร รู้จักสังเกตอาการก่อนเป็นอันตรายถึงชีวิต

อ่านเพิ่มเติม
เลือดออกในสมอง

เข้าใจภาวะเลือดออกในสมอง วิกฤติสุขภาพที่อาจร้ายแรงถึงชีวิต

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

doc-logo

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด แผลเล็ก (MIS)

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร เลือกผ่าตัดแบบไหนให้เหมาะกับปัญหาข้อเข่าเสื่อม ของเรา?

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ? สามารถแบ่งการผ่าตัดข้อเข่าเทียมออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือผ่าตัดใส่ผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน และการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมทั้งหมด

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากอะไร รู้จักสังเกตอาการก่อนเป็นอันตรายถึงชีวิต

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) คือภาวะที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังเกิดการอักเสบบวมจนก่อให้เกิดอาการผิดปกติ ซึ่งสาเหตุมีทั้งจากการติดเชื้อและไม่ใช่จากการติดเชื้อ

อ่านเพิ่มเติม
เลือดออกในสมอง

เข้าใจภาวะเลือดออกในสมอง วิกฤติสุขภาพที่อาจร้ายแรงถึงชีวิต

เลือดออกในสมอง (Intracerebral Hemorrhage) คือภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้เลือดไหลไปกดทับเนื้อเยื่อสมอง และเป็นสาเหตุของความพิการหรือเสียชีวิตในที่สุด

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา