Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
Menu
  • TH
    • EN
    • CN
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

มะเร็งปอด ตรวจเร็วรักษาทัน…ไอเรื้อรัง มีเลือดปน ควรพบแพทย์ด่วน

พญ.มัณฑนา สันดุษฎี

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 11 มีนาคม 2022
มะเร็งปอด

โรคมะเร็งปอดที่เป็นโรคมะเร็งยอดฮิตที่พบได้บ่อยทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจจะเกิดจากพฤติกรรมต่าง ๆ ที่คอยทำร้ายสุขภาพทั้งแบบรู้ตัวและแบบไม่รู้ตัว เช่น การสูบบุหรี่ หรือการได้รับมลพิษในสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม “มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเร็ว และรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น”

สารบัญ

  • โรคมะเร็งปอดเกิดจากอะไร ?
  • อาการของโรคมะเร็งปอด
  • มะเร็งปอดกับวัณโรค
  • มะเร็งปอดมีกี่ชนิด ?
  • การวินิจฉัยมะเร็งปอด
  • การรักษามะเร็งปอด
  • สรุป

โรคมะเร็งปอดเกิดจากอะไร ?

มะเร็งปอด เกิดจากเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวของปอดเจริญเติบโตผิดปกติอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถควบคุมได้ และเกิดเป็นก้อนเนื้อร้ายในที่สุด โดยเนื้อร้ายนี้สามารถลุกลามและกระจายไปอวัยวะอื่น ๆ ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวก็มักจะอยู่ในระยะโรคที่รุนแรงแล้ว 

โดยปัจจุบันยังไม่สามารถบอกถึงสาเหตุของมะเร็งปอดได้ชัดเจนนัก แต่มีปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด ได้แก่

  • การสูบบุหรี่ ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่เอง และผู้ใกล้ชิดที่ได้รับควันบุหรี่ หรือที่เรียกว่า “ควันบุหรี่มือสอง” การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยหลัก 80-90% เพราะในบุหรี่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง เมื่อสูดควันเข้าไปสารเหล่านี้จะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อในปอดโดยตรงทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ และเกิดเป็นมะเร็งในที่สุด โดยคนที่สูบบุหรี่  1 ซองต่อวันเป็นเวลา 20 ปี จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 8 – 20 เท่า
  • สารพิษและมลภาวะในสิ่งแวดล้อม เช่น
    • สารแอสเบสตอส (asbestos) หรือแร่ใยหิน ที่ถูกนํามาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตวัสดุก่อสร้าง (กระเบื้องมุงหลังคา กระเบื้องแผ่นเรียบ ฝ้าเพดาน) อุตสาหกรรมการผลิตท่อน้ำซีเมนต์ กระเบื้องยางไวนิลปูพื้น ผ้าเบรก ฉนวนกันความร้อน และ อุตสาหกรรมสิ่งทอ แร่ใยหินเป็นสารที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ โดยผู้ที่ทำงานในโรงงานที่มีการใช้แร่ใยหินจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนปกติถึง 7 เท่า
    • ก๊าซเรดอน (radon) เป็นก๊าซสารกัมมันตภาพรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของเรเดียมหรือยูเรเนียม พบได้ในอาคารหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งมักมีดิน หิน หรือทรายที่มีแร่เรเดียมเจือปนมา
    • สารเคมีอื่น ๆ เช่น สารหนู ถ่านหิน ที่ผู้ป่วยมักได้รับจากการประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรม หรือสารพิษจากมลภาวะที่มาจากท่อไอเสียของยานพาหนะ
    • ฝุ่น PM 2.5 หรือฝุ่นละอองจิ๋วขนาดเล็กที่มีขนาดโมเลกุลเล็กเพียง 2.5 ไมครอน ที่ไม่สามารถมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า โดยฝุ่น PM 2.5 จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดมากขึ้นถึง 1 – 1.4 เท่า โดยเมื่อฝุ่น PM 2.5 เข้าไปในปอดจะทำให้เกิดการอักเสบ และมีการกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรม ซึ่งอาจทำให้เกิดมะเร็งปอดขึ้นได้
  • อายุ อายุที่มากขึ้น อวัยวะรวมถึงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายจะยิ่งทำงานเสื่อมสภาพลง โดยผู้ที่เสี่ยงจะเป็นมะเร็งปอดมากที่สุดจะอยู่ในช่วงอายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สูบบุหรี่
  • พันธุกรรม ถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งปอด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น

หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด และหมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

โรคมะเร็งปอด

> กลับสู่สารบัญ

อาการของโรคมะเร็งปอด

มะเร็งปอดส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก แต่จะมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงการเกิดโรคเมื่อมีการเจริญเติบโตของมะเร็งมากขึ้น และอาการจะแตกต่างกันไปแล้วแต่ตำแหน่งของก้อนที่เกิดขึ้น โดยอาการที่พบได้ ได้แก่

  • ไอเรื้อรัง 50-75%
  • ไอมีเสมหะปนเลือด ไอมีเลือดสด 25-50%
  • เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก 25%
  • เจ็บหน้าอก 20%
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยหาสาเหตุไม่ได้
  • หายใจมีเสียงดังผิดปกติ
  • เสียงแหบ

อาการเหล่านี้พบได้ในโรคอื่น ๆ แต่หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจและวินิจฉัยอย่างถูกต้อง

มะเร็งปอด อาการ

> กลับสู่สารบัญ

มะเร็งปอดกับวัณโรค

อาการไอแล้วมีเลือดปนเป็นอาการหนึ่งของโรคมะเร็งปอด และก็สามารถพบได้ในโรควัณโรค ซึ่งผู้ป่วยวัณโรคก็มักจะมีการอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือดเช่นกัน นอกจากนี้ผู้ป่วยทั้งสองโรคนี้ก็มักจะมีอาการเหนื่อยง่ายร่วมด้วย ทำให้การแยกโรคมะเร็งปอดและโรควัณโรคออกจากกันได้ยากจากอาการดังกล่าว 

ดังนั้นหากคุณมีอาการไอเรื้อรัง มีเลือดปน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและวางแผนการรักษาอย่างถูกต้อง

ไอมีเลือดปน

> กลับสู่สารบัญ

มะเร็งปอด มีกี่ชนิด ?

มะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ขึ้นกับชนิดของเซลล์ ซึ่งสามารถวินิจฉัยได้โดยการเอาชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยา โดยมะเร็งปอดแต่ละชนิดจะมีวิธีการรักษา และพยากรณ์โรคที่แตกต่างกันออกไป

  1. มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) เป็นมะเร็งปอดชนิดที่พบได้บ่อยกว่า สามารถแบ่งเป็นชนิดเซลล์ได้อีกหลายชนิด เช่น adenocarcinoma, squamous cell carcinoma ซึ่งชนิดของเซลล์จะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกันเล็กน้อย
  2. มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell lung cancer) เป็นมะเร็งปอดชนิดที่พบได้น้อยกว่า แต่เป็นชนิดที่ตอบสนองได้ดีต่อยาเคมีบำบัดและการฉายแสง

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยมะเร็งปอด

การวินิจฉัยมะเร็งปอดต้องยืนยันการวินิจฉัยโดยการตรวจชิ้นเนื้อ  ซึ่งการตรวจชิ้นเนื้อจะเกิดขึ้นได้ เราต้องตรวจพบก้อนเนื้อที่ผิดปกติในปอดให้เจอก่อน โดยถ้าเราตรวจเจอก้อนเนื้อที่ผิดปกติตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม การรักษามะเร็งปอดในระยะแรกด้วยการผ่าตัดสามารถหายขาดได้เลย 

การตรวจ x-ray ปอด อาจไม่ใช่วิธีการคัดกรองโรคมะเร็งปอดที่ดีนัก เพราะกว่า x-ray ปอดจะตรวจพบความผิดปกติ ก็มักจะเป็นก้อนที่ค่อนข้างใหญ่ หรือลุกลามไปแล้ว ทำให้ไม่สามารถทำการรักษาโดยการผ่าตัดให้หายขาดได้ 

การตรวจคัดกรองที่แนะนำ คือ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose CT lung scan) ซึ่งเป็นการตรวจที่ใช้ปริมาณรังสีน้อย และใช้เทคนิคการเก็บภาพแบบ 3 มิติ ที่มีความละเอียดมากกว่าเอกซเรย์ธรรมดามาก ทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติต่างๆ ภายในปอดได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

โดยปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ใช้วิธีดังกล่าว เป็นมาตรฐานในการคัดกรองโรคมะเร็งปอด ซึ่งจะได้ประโยชน์สูงสุดในกลุ่มคนไข้ที่มีความเสี่ยง นั่นคือ อายุมากกว่า  55 ปี มีประวัติสูบบุหรีมากกว่า 30 pack years (pack years = จำนวนบุหรี่ที่สูบใน 1 วัน x จำนวนปีที่สูบบุหรี่) และเลิกสูบบุหรีมาไม่เกิน 15 ปี ถึงแม้ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ 

***มะเร็งปอดสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ดังนั้นการตรวจคัดกรองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก***

หากมีอาการหรือแพทย์สงสัยว่าเป็นโรคมะเร็งปอด แพทย์อาจพิจารณาการตรวจเพิ่มเติม ได้แก่

  • ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computed tomography scan; CT scan)
  • การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (positron emission tomography scan; PET scan)
  • การตรวจโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging; MRI) 
  • การส่องกล้องหลอดลมปอด (bronchoscopy)
  • การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจหาชนิดของมะเร็ง (biopsy)
CT lung

> กลับสู่สารบัญ

การรักษามะเร็งปอด

เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดแล้ว การรักษาจะขึ้นอยู่กับ ชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง และความแข็งแรงของผู้ป่วย ซึ่งทางเลือกการรักษาในปัจจุบันมีความทันสมัยขึ้นมาก มีทั้งการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) การรักษาด้วยการฉายแสง (radiotherapy) และการใช้ยาแบบจำเพาะเจาะจง (targeted therapy) โดยแพทย์จะร่วมตัดสินใจกับคนไข้และครอบครัว เพื่อเลือกการรักษาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

อย่างที่ทราบกันดีว่า สาเหตุที่สำคัญของมะเร็งปอดคือการสูบบุหรี่ รวมถึงสารพิษและมลภาวะที่เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ดังนั้นการป้องกันมะเร็งปอดที่ดีที่สุดคือการงดสูบบุหรี่ หรือหลีกเลี่ยงการรับควันบุหรี่มือสอง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการตรวจคัดกรองสุขภาพปอดอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี และการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ low-dose CT lung scan ในคนที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอด จะช่วยให้สามารถตรวจพบและรักษามะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตและทำไห้ผู้ป่วยมีโอกาสหายจากโรคมะเร็งปอดได้

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

แพ็กเกจตรวจปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์รังสีต่ำ Low-dose CT Lung Scan

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองมะเร็งสำหรับคุณผู้หญิง

รายละเอียด

CHECK กันนะ

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 V
  • Praram 9 V

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.มัณฑนา สันดุษฎี

พญ.มัณฑนา สันดุษฎี

Medicine Center

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์อายุรกรรม

ศูนย์อายุรกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีการผ่าตัดสงวนเต้า ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ต้องถูกตัดเต้านมออกทั้งหมด หรือหากจำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออก ก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF เป็นเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก ช่วยเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

ภาวะผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ หรือโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) อาจมีอาการคล้ายโรคมะเร็งลำไส้ สามารถตรวจสอบเพื่อแยกโรค และรักษาให้เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด

แพ็กเกจยอดนิยม

แพ็กเกจตรวจสุขภาพน้องใหม่วัยชิลล์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นพี่วัยชิค

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นใหญ่วัยเก๋า

รายละเอียด

ดูแพ็กเกจทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2021 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา