Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
Menu
  • TH
    • EN
    • CN
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์ เพื่อรู้ทันมะเร็งเต้านมก่อนจะลุกลาม

รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 6 เมษายน 2022
ตรวจแมมโมแกรม

เป็นที่ทราบกันดีว่า การรักษามะเร็งเต้านมให้ได้ผลดีนั้นคือการตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะต้น ๆ จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมักไม่มีอาการเริ่มแรกแสดงให้เห็น หรืออาจเป็นอาการเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้มองข้ามไป จนกระทั่งมะเร็งเริ่มอยู่ในระยะลุกลาม มีอาการเด่นชัด แล้วค่อยมาพบแพทย์ ซึ่งอาจสายเกินไป

การตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ด้วยแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมเมื่อถึงเกณฑ์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ป่วยมีทางเลือกในการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัดเต้านมทิ้ง 

รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา โรงพยาบาลพระรามเก้า ท่านมีความชำนาญในการดูแลและรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเป็นอย่างดี เนื่องจากดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมาเป็นจำนวนมากและหลายช่วงอายุ ได้มาให้คำแนะนำวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมกับเราในบทความนี้

New call-to-action

สารบัญ

  • ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
  • การตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรม (mammogram) และอัลตร้าซาวด์ (breast ultrasound)
  • การตรวจแมมโมแกรม (mammogram)
  • การตรวจด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์เต้านม (breast ultrasound)
  • ตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์คู่กัน ไม่ให้มะเร็งเล็ดลอด
  • สรุป
มะเร็งเต้านม ระยะแรก

ใครบ้างที่ควรตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

เกณฑ์ที่เหมาะสมที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรอง ดังนี้

เพศหญิง

ในแต่ละช่วงอายุควรปฏิบัติดังนี้

  • อายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจคลำเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ
  • อายุ 30-35 ปี ตรวจเป็นพื้นฐาน (base line)
  • อายุ 35-49 ปี ตรวจทุก 1-2 ปี
  • อายุ 50 ปีขึ้นไป ตรวจปีละ 1 ครั้ง

ผู้ที่มีปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงโอกาสเกิดมะเร็งเต้านม

ควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการตรวจคัดกรองเป็นประจำทุกปี อย่างน้อย 1-2 ครั้งต่อปี 
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.praram9.com/breast-cancer-staging/ 

แต่หากพบความผิดปกติ เช่น คลำพบก้อนที่เต้านม หรือเต้านมมีรูปร่างผิดปกติเปลี่ยนไปจากเดิม กรณีนี้ต้องเข้าพบแพทย์ทันที

ใครควรตรวจมะเร็งเต้านม

> กลับสู่สารบัญ

New call-to-action

การตรวจคัดกรองด้วยแมมโมแกรม (mammogram) และอัลตร้าซาวด์ (breast ultrasound)

เนื่องจากมะเร็งเต้านมในระยะแรกไม่มีอาการ ดังนั้นการคัดกรองด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม (Digital Mammogram) และอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound) เข้ามาช่วย จะทำให้สามารถพบความผิดปกติในระยะแรกได้ โดยทั้ง 2 เทคนิคต่างล้วนมีความสำคัญต่อการตรวจพบมะเร็งเต้านม

> กลับสู่สารบัญ

การตรวจแมมโมแกรม (mammogram)

การตรวจแมมโมแกรม (mammogram) คือ เทคโนโลยีการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ คล้ายกับการตรวจเอกซเรย์ แต่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป 30-60% โดยแพทย์จะใช้เครื่องแมมโมแกรม ซึ่งเป็นเครื่องเอกซเรย์แบบพิเศษในการตรวจ เทคนิคนี้มีประสิทธิภาพในการตรวจหามะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เนื่องจากภาพที่ได้จากการตรวจมีความละเอียดสูง สามารถเห็นความผิดปกติได้ เช่น จุดหินปูนหรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติขนาดเล็ก (microcalcification) หรือก้อนที่มีลักษณะแข็ง (solidmass) ทำให้สามารถระบุตำแหน่งและค้นหาความผิดปกติของเต้านมได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น

ตรวจมะเร็งได้ มีความปลอดภัย ไร้รังสีตกค้าง

เทคโนโลยีแมมโมแกรมทำให้แพทย์สามารถตรวจสอบเนื้องอกขนาดเล็กได้ดีขึ้น ทำให้วางแผนการรักษาได้เหมาะสม และเพิ่มโอกาสหายขาดจากมะเร็งร้ายได้ นอกจากนี้ เครื่องแมมโมแกรมจะเป็นรังสีเอกซเรย์พลังงานต่ำ จึงไม่มีรังสีตกค้างในร่างกายหลังตรวจเสร็จ และไม่มีผลข้างเคียงกับร่างกาย

เตรียมตัวอย่างไร สำหรับการตรวจแมมโมแกรม

ผู้เข้ารับการตรวจควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแบบ 2 ชิ้น บน-ล่าง เพื่อความสะดวก และสามารถกินอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ แต่ห้ามทาแป้ง โลชั่น โรลออน ฉีดสเปรย์ หรือใช้สารระงับกลิ่นกายทุกชนิด ในบริเวณเต้านมและรักแร้

การทำแมมโมแกรม จะทำการบีบเนื้อนมเข้าหากัน แล้วทำการถ่ายรูปจากด้านบน และด้านข้าง หากพบจุดที่น่าสงสัย อาจถ่ายรูปเพิ่มหรือขยายรูป เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น ขณะตรวจอาจจะรู้สึกเจ็บได้ จึงแนะนำให้เข้ารับการตรวจในช่วงที่เต้านมตึงน้อยที่สุด โดยในระหว่างตรวจ หากรู้สึกเจ็บมากสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ เพื่อให้ลดแรงกดลง

นอกจากนี้ หากเคยตรวจแมมโมแกรมมาก่อน ควรนำผลตรวจเดิมมาด้วย และหากมาด้วยอาการผิดปกติของเต้านม ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ตรวจทราบทันที

> กลับสู่สารบัญ

การตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์เต้านม (breast ultrasound)

การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม (breast ultrasound) คือ การตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในเนื้อเต้านม โดยคลื่นเสียงจะไปกระทบกับส่วนต่าง ๆ จะสะท้อนกลับขึ้นมาที่เครื่องตรวจ ทำให้สามารถบอกความแตกต่างขององค์ประกอบเนื้อเยื่อได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อเต้านมปกติ  เป็นถุงน้ำ หรือเป็นก้อนเนื้อ การตรวจนี้จะทำให้ได้ผลการตรวจที่แม่นยำขึ้นในผู้ป่วยที่มีเนื้อเต้านมหนาแน่น แต่จะมีข้อจำกัดตรงที่ไม่สามารถตรวจพบหินปูนขนาดเล็กได้ ดังนั้นควรตรวจควบคู่กับแมมโมแกรม เพื่อความแม่นยำและถูกต้องในการค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก และนำไปสู่การวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อไป

ใครควรตรวจอัลตร้าซาวด์บ้าง

เทคนิคนี้จะเหมาะกับคนอายุน้อยกว่า 25 ปี และเหมาะกับคนที่มีเต้านมหนาแน่นมาก แต่ผู้ที่มีอายุมากกว่านั้นก็สามารถตรวจด้วยวิธีนี้ได้ โดยตรวจร่วมกับการทำแมมโมแกรม

นอกจากนี้ อัลตร้าซาวด์ยังเหมาะกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ผู้หญิงในช่วงให้นมบุตร รวมถึงคนที่ผ่านการเสริมหน้าอกมา

เตรียมตัวอย่างไร สำหรับการตรวจอัลตร้าซาวด์

ผู้เข้ารับการตรวจสามารถกินอาหารและดื่มน้ำได้ตามปกติ แต่ห้ามทาแป้ง โลชั่น โรลออน หรือฉีดสเปรย์ระงับกลิ่น ในบริเวณเต้านมและรักแร้ โดยทางโรงพยาบาลจะเตรียมเสื้อผ้าสำหรับเข้ารับการตรวจให้

สำหรับขั้นตอนการตรวจนั้น จะเหมือนกับการอัลตร้าซาวด์ที่อวัยวะส่วนอื่น โดยการใช้หัวตรวจ (Transducer) วางบนผิวหนัง และจะเห็นภาพฉายที่ปรากฏที่หน้าจอ ซึ่งแพทย์จะบันทึกภาพไว้เพื่อใช้วิเคราะห์ต่อไป

หากเคยเสริมหน้าอกมาแล้ว หรือมีความผิดปกติอื่น ๆ ของเต้านม ควรแจ้งให้แพทย์ผู้ตรวจทราบด้วย

> กลับสู่สารบัญ

ตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์คู่กัน ไม่ให้มะเร็งเล็ดลอด

การตรวจแมมโมแกรมแม้ว่าจะมีความแม่นยำสูง แต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น ผู้ที่เนื้อเต้านมหนาแน่นมาก จะทำให้ความแม่นยำในการตรวจด้วยแมมโมแกรมลดลง หรืออาการบางอย่างของมะเร็ง ที่แมมโมแกรมเพียงอย่างเดียว ไม่อาจสรุปผลได้ หรือ ผู้ป่วยบางราย ที่มีผื่นบริเวณหัวนม หรือมีของเหลวผิดปกติซึมออกจากหัวนม ซึ่งอาจจะเป็นอาการของมะเร็งในระยะแรก แต่อาจไม่พบความผิดปกติเมื่อตรวจด้วยแมมโมแกรม และในบางกรณี ขณะตรวจแมมโมแกรมอาจหนีบไม่ถึงก้อนเนื้อที่ผิดปกติ และไม่สามารถดึงเต้านมให้เข้ามาอยู่ในฟิล์มได้ เนื่องจากก้อนเนื้อบางตำแหน่งอยู่ด้านในมาก ๆ หรืออยู่บริเวณขอบของฐานเต้านมมาก ๆ ดังนั้น แพทย์จึงแนะนำให้ ตรวจแมมโมแกรมร่วมกับการอัลตร้าซาวด์เต้านม และร่วมกับการตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อความแม่นยำและถูกต้องที่มากยิ่งขึ้น

แพ็คเกจการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่น่าสนใจ
แมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม

> กลับสู่สารบัญ

New call-to-action

สรุป

ขึ้นชื่อว่า “มะเร็ง” แล้ว ถ้าตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก โอกาสที่จะรักษาให้หายนั้นมีมาก แต่ถ้าปล่อยไว้จนกระทั่งเป็นมากแล้ว โอกาสรักษาให้หายก็จะมีน้อยลง จึงควรมาตรวจหาให้พบมะเร็งร้ายเสียก่อน โดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่แนะนำไว้แล้วในบทความข้างต้น

ทั้งนี้ การตรวจพบเร็วไม่เพียงส่งผลดีต่อการรักษา แต่ยังช่วยให้เรามีทางเลือกในการรักษาที่หลากหลายขึ้น เพื่อตัวเราเองจะได้มีความสุขกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีไปนาน ๆ

หากสนใจโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถทำนัดหมายหรือศึกษาแพ็คเกจที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลพระรามเก้า

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยเครื่อง Digital Mammogram

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 V
  • Praram 9 V

แพทย์ผู้เขียนบทความ

รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา

รศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา

ศูนย์เต้านม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์เต้านม_1-1

ศูนย์เต้านม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีการผ่าตัดสงวนเต้า ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ต้องถูกตัดเต้านมออกทั้งหมด หรือหากจำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออก ก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF เป็นเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก ช่วยเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

ภาวะผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ หรือโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) อาจมีอาการคล้ายโรคมะเร็งลำไส้ สามารถตรวจสอบเพื่อแยกโรค และรักษาให้เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด

แพ็กเกจยอดนิยม

แพ็กเกจตรวจสุขภาพน้องใหม่วัยชิลล์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นพี่วัยชิค

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นใหญ่วัยเก๋า

รายละเอียด

ดูแพ็กเกจทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2021 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา