Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
Menu
  • TH
    • EN
    • CN
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ตอบข้อสงสัย “หมอพร้อม” เพื่อให้ “ทุกคนพร้อม” จองฉีดวัคซีนโควิด 19

นพ.อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 15 พฤษภาคม 2021
หมอพร้อม

อัปเดตข้อมูลล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2564

วัคซีนโควิด 19 ความหวังที่ทุกคนในประเทศรอคอย เพื่อให้ทุกคนสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติเหมือนที่ผ่านมาในอดีต ได้มาพร้อมกับ “หมอพร้อม” ระบบลงทะเบียนขอสิทธิ์การฉีดวัคซีนผ่านทาง Line Official Account (Line OA) และ Mobile application ซึ่งอาจเป็นสิ่งใหม่สำหรับบางคน รวมถึงมีเงื่อนไข และข้อมูลต่างๆ ที่ทำให้มีคำถามตามมามากมาย

เพื่อให้ความหวังการฉีดวัคซีนนี้สมหวัง เราจึงรวบรวมคำถาม และคำตอบอย่างสรุป ให้เข้าใจได้มากขึ้น

ขั้นตอนการใช้งาน Line Official Account “หมอพร้อม” เวอร์ชั่น 2 จาก ศูนย์ประสานงานข้อมูลหมอพร้อม (ข้อมูลอัปเดตวันที่ 4 พฤษภาคม 2564)

สารบัญ

  • Q1: องค์ประกอบการลงทะเบียน “หมอพร้อม” รอบแรก มีอะไรบ้าง?
  • Q2: ใครมีสิทธิ์ลงทะเบียนหมอพร้อม “รอบแรก”
  • Q3: สิทธิ์รอบแรกมาจากไหน?
  • Q4: ลงทะเบียนได้กี่ช่องทาง?
  • Q5: ถ้ารายชื่อตกหล่น ต้องทำอย่างไร?
  • Q6: ต้องรีบจองหรือไม่? เพราะกลัวจะเต็มจำนวน
  • Q7: “หมอพร้อม” รอบนี้ฉีดยี่ห้ออะไร?
  • Q8: วัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1 และ 2 ฉีดคนละยี่ห้อได้ไหม?
  • Q9: ลงทะเบียน “หมอพร้อม” รอบแรกภายในเมื่อไหร่? และฉีดวัคซีนเมื่อไหร่?
  • Q10: รอบประชาชนทั่วไป ลงทะเบียนได้เมื่อไหร่? และฉีดวัคซีนเมื่อไหร่?
  • Q11: ลงทะเบียนได้ 24 ชม. หรือไม่? และมีวันสิ้นสุดหรือไม่?
  • Q12: รู้ได้ยังไงว่าลงทะเบียนแล้วสำเร็จ?
  • Q13: ลงทะเบียนแล้วไปฉีดที่ไหนได้? และโรงพยาบาลเปิดให้ฉีดวัคซีนได้จำนวนเท่าไร?
  • Q14: ลงทะเบียน แต่เลือกรพ.ไม่ได้ และเลือกเวลาไม่ได้ ต้องแก้ไขยังไง?
  • Q15: บัตรประชาชนเป็นแบบเก่า ไม่มีเลขหลังบัตร (Laser ID) ลงทะเบียนอย่างไร?
  • Q16: ผู้ที่เป็นโรคอ้วน แต่ไม่มีประวัติในโรงพยาบาล ลงทะเบียนอย่างไร?
  • Q17: วันที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
  • Q18: ยกเลิกนัดฉีดวัคซีนได้หรือไม่?
  • Q19: ไปฉีดก่อนวันนัดได้หรือไม่?
  • Q20: ฉีดวัคซีนแล้ว กลับมาใช้ชีวิตแบบปกติก่อน New Normal ได้เลยไหม?

Q1: องค์ประกอบการลงทะเบียน “หมอพร้อม” รอบแรก มีอะไรบ้าง?

คำตอบ: สำหรับการลงทะเบียน “หมอพร้อม” รอบแรก จะมีองค์ประกอบ 3 ส่วนด้วยกันตามลำดับ คือ

  1. ท่านที่มีรายชื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) ซึ่งโรงพยาบาลที่ท่านใช้บริการส่งข้อมูลของท่านให้กับส่วนกลางของกระทรวงสาธารณสุขแล้วเท่านั้น!
  2. สถานที่ที่ท่านเลือกจะไปฉีดวัคซีน (สถานที่เดียวกับที่ส่งสิทธิ์ของท่านไปที่ส่วนกลางของกระทรวงสาธารณสุข อาจจะมีหลายแห่งก็ได้) “เปิดรับ (Slot) ฉีดวัคซีน” ซึ่งเป็นสิทธิ์ของโรงพยาบาลนั้นๆ
  3. ลงทะเบียนผ่าน Line OA ของ “หมอพร้อม” หรือ Mobile application “หมอพร้อม”​ โดยสามารถให้ผู้อื่นช่วยลงทะเบียนแทนได้

แต่หากท่านเป็นผู้ที่มีรายชื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) และไม่สามารถลงทะเบียนผ่านระบบมือถือ หรือไม่สะดวกลงทะเบียนผ่านระบบมือถือ ท่านสามารถติดต่อไปที่โรงพยาบาลที่ท่านรักษาเป็นประจำได้โดยตรงเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว

> กลับไปสารบัญ

Q2: ใครมีสิทธิ์ลงทะเบียนหมอพร้อม “รอบแรก”

คำตอบ: ในรอบนี้จะเป็นกลุ่มผู้ที่เป็น 7 โรคเรื้อรัง* และ กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

ซึ่งเป็นอันดับที่ 3 และ 4 จากการเรียงตาม 5 รายชื่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) ของทางกระทรวงสาธารณสุข ที่จัดเรียงตามลำดับความสำคัญของกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดอาการป่วยรุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิตจากโควิด 19 โดย 5 รายชื่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) นี้คือ

  1. บุคลากรทางการแพทย์ (จำนวน 1.2 ล้านคน)
  2. บุคลากรด่านหน้า เช่น ทหาร ตำรวจ (จำนวน 1.8 ล้านคน)
  3. กลุ่มผู้ที่เป็น 7 โรคเรื้อรัง* ได้แก่ (จำนวน 4.4 ล้านคน)
  4. กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป (จำนวน 11.7 ล้านคน)
  5. ประชาชนที่เหลือ (จำนวน 31 ล้านคน)

*โรคเรื้อรัง 7 โรค ได้แก่
1. โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี
2. โรคหัวใจและหลอดเลือด
3. โรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 5 (ระยะสุดท้าย)
4. โรคหลอดเลือดสมอง
5. โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด
6. โรคเบาหวาน
7. โรคอ้วน (น้ำหนัก > 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร)

> กลับไปสารบัญ

Q3: สิทธิ์รอบแรกมาจากไหน?

คำตอบ: รายชื่อในระบบได้มาจากโรงพยาบาลทั่วประเทศกว่า 1,000 แห่ง ส่งข้อมูลมาให้กับส่วนกลางของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ทราบว่าใครเป็นกลุ่มผู้เป็นโรคเรื้อรัง และผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

เนื่องจากปริมาณข้อมูลมากและมาจากหลายแหล่ง จึงอาจมีโอกาสส่งผลให้ข้อมูลตกหล่นได้ ซึ่งหากใครเข้าข่ายในกลุ่มทั้ง 2 แต่ไม่พบรายชื่อ ให้ทำการแจ้งโรงพยาบาลที่ท่านมีประวัติการรักษาส่งรายชื่อท่านไปที่ส่วนกลางของกระทรวงสาธารณสุขอีกครั้ง เพื่อให้สามารถลงทะเบียนได้ต่อไป

> กลับไปสารบัญ

Q4: ลงทะเบียนได้กี่ช่องทาง?

คำตอบ: มี 3 ช่องทาง โดยเลือกเพียง 1 ช่องทาง คือ

  1. Line OA หมอพร้อม
  2. Mobile application หมอพร้อม
  3. ติดต่อโดยตรงกับโรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่ หรือ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือ อสม.

> กลับไปสารบัญ

Q5: ถ้ารายชื่อตกหล่น ต้องทำอย่างไร?

คำตอบ: ถ้าพบว่ารายชื่อตกหล่น ให้ติดต่อไปที่โรงพยาบาลที่มีประวัติการรักษา เพื่อให้โรงพยาบาลส่งข้อมูลของท่านให้ส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข

> กลับไปสารบัญ

Q6: ต้องรีบจองหรือไม่? เพราะกลัวจะเต็มจำนวน

คำตอบ: ไม่ต้องรีบ ในการฉีดวัคซีนรอบแรกนี้ (มิถุนายน ถึง กรกฎาคม 2564) มีวัคซีนของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ที่จัดหาไว้ทั้งสิ้น 16 ล้านโดส ซึ่งจะครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มแรกของกลุ่มเป้าหมายในรอบนี้ที่มีอยู่ประมาณ 16 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขได้วางแผนจัดหาวัคซีนให้ครอบคลุมเป้าหมายทั้งสิ้นที่ 50 ล้านคน (70% ของประชากร) ภายในสิ้นปีนี้

> กลับไปสารบัญ

Q7: “หมอพร้อม” รอบนี้ฉีดยี่ห้ออะไร?

คำตอบ: ได้รับวัคซีนยี่ห้อ แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จํากัด ของประเทศไทย สำหรับทั้ง 2 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ที่เป็น 7 โรคเรื้อรัง และ กลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

ศึกษาเพิ่มเติม วัคซีนโควิด 19 ฉบับอัปเดตล่าสุด

> กลับไปสารบัญ

Q8: วัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1 และ 2 ฉีดคนละยี่ห้อได้ไหม?

คำตอบ: สามารถฉีดได้ แต่ไม่แนะนำ ยกเว้นกรณีแพทย์เห็นว่าจำเป็นจะต้องเปลี่ยนยี่ห้อในการฉีด เนื่องจากเมื่อท่านได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 ระบบจะทำการจองวัน เวลา และสถานที่สำหรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ให้ทันที หากท่านมีการเปลี่ยนแปลงยี่ห้อวัคซีนที่จะฉีด จะส่งผลให้ได้รับการฉีดวัคซีนที่ล่าช้าออกไป

> กลับไปสารบัญ

Q9: ลงทะเบียน “หมอพร้อม” รอบแรกภายในเมื่อไหร่? และฉีดวัคซีนเมื่อไหร่?

คำตอบ: ข้อมูลล่าสุดวันที่ 15 พ.ค. 2564 แจ้งว่า ในเดือนมิถุนายานมีผู้จองคิวฉีดวัคซีน “เต็มจำนวนที่ได้รับจัดสรรแล้ว” และซึ่งทาง “หมอพร้อม” ได้ระบุให้ทำการจองคิวในเดือน ก.ค. เป็นต้นไป ซึ่งจะมีวัคซีนสำหรับ 5 ล้านคนต่อเดือน

และผู้ที่สามารถจองวัคซีนทันในรอบ มิ.ย. จะเริ่มฉีดวัคซีนตามวันและเวลาที่เลือกไว้ได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 2564 ซึ่งจะเป็นวัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ผลิตโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จํากัด ของประเทศไทย

> กลับไปสารบัญ

Q10: รอบประชาชนทั่วไป ลงทะเบียนได้เมื่อไหร่? และฉีดวัคซีนได้เมื่อไหร่?

คำตอบ: ข้อมูลล่าสุดวันที่ 15 พ.ค. 2564 ระบุว่า รอบประชาชนทั่วไป ที่มีอายุ 18 – 59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้ายของรายชื่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) ทางระบบหมอพร้อม จะเปิดให้เริ่มจองสิทธิ์ได้ในวันที่ 31 พ.ค. นี้เป็นต้นไป

> กลับไปสารบัญ

Q11: ลงทะเบียนได้ 24 ชม. หรือไม่? และมีวันสิ้นสุดหรือไม่?

คำตอบ: สามารถลงทะเบียนได้ 24 ชม. จนถึงวันที่ 31 พ.ค. 2564 หรือจนกว่าวัคซีนจะมา แต่ข้อมูลล่าสุดวันที่ 15 พ.ค. 2564 แจ้งว่า ในเดือนมิถุนายานมีผู้จองคิวฉีดวัคซีน “เต็มจำนวนที่ได้รับจัดสรรแล้ว” และระบุให้ทำการจองคิวในเดือน ก.ค.เป็นต้นไป

> กลับไปสารบัญ

Q12: รู้ได้ยังไงว่าลงทะเบียนแล้วสำเร็จ?

คำตอบ: ถ้าท่านลงทะเบียนและกำหนดสถานที่ วัน เวลาฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว จะมีการส่งข้อมูลจากระบบยืนยันกลับให้ท่านทันที

> กลับไปสารบัญ

Q13: ลงทะเบียนแล้วไปฉีดที่ไหนได้บ้าง? และโรงพยาบาลเปิดให้ฉีดวัคซีนได้จำนวนเท่าไร?

คำตอบ: หากท่านลงทะเบียนได้ ก็จะสามารถเลือกสถานที่รับการฉีดวัคซีนได้ตามที่ปรากฏบน Line OA หมอพร้อม หรือ Mobile application หมอพร้อม เช่น โรงพยาบาลที่ท่านรักษาเป็นประจำ เป็นต้น

โดยแต่ละโรงพยาบาลรองรับการฉีดวัคซีนได้ดังนี้

  • โรงพยาบาลขนาดเล็ก 360 คน/วัน
  • โรงพยาบาลขนาดใหญ่ 600 คน/วัน

แต่ในส่วนของโรงพยาบาลสนาม ไม่ได้เปิดให้ฉีดวัคซีน ขอให้ประชาชนไปฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลเท่านั้น เนื่องจากมีประวัติอยู่แล้ว เพราะกลุ่มผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อาจมีความเสี่ยงหากต้องไปฉีดวัคซีนที่โรงพยาบาลสนาม

> กลับไปสารบัญ

Q14: ลงทะเบียน แต่เลือกรพ.ไม่ได้ และเลือกเวลาไม่ได้ ต้องแก้ไขยังไง?

คำตอบ: แสดงว่าท่านเป็นผู้มีสิทธิ์ แต่โรงพยาบาลที่ท่านเลือกไม่เปิดรับการฉีดวัคซีน หรืออาจมีการปิดรับการฉีดวัคซีน เนื่องจากโควต้าคิวที่จองเต็มแล้ว อาจต้องเลือกโรงพยาบาลอื่น หรือรอจนกว่าโรงพยาบาลที่ท่านต้องการไปฉีด เปิดรับอีกครั้ง

> กลับไปสารบัญ

Q15: บัตรประชาชนเป็นแบบเก่า ไม่มีเลขหลังบัตร (Laser ID) ลงทะเบียนอย่างไร?

คำตอบ: หากท่านเป็นกลุ่มที่มีสิทธิ์ สามารถติดต่อโรงพยาบาลที่ท่านมีประวัติการรักษา หรืออสม. ที่ดูแลท่าน

> กลับไปสารบัญ

Q16: ผู้ที่เป็นโรคอ้วน แต่ไม่มีประวัติในโรงพยาบาล ลงทะเบียนอย่างไร?

คำตอบ: ผู้ที่เป็นโรคอ้วน (น้ำหนัก > 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) ถือว่าอยู่ในรายชื่อกลุ่มเป้าหมายผู้รับวัคซีน (whitelist) ที่เป็น 7 โรคเรื้อรัง แต่อาจไม่มีประวัติในโรงพยาบาล เพราะอาจไปรักษาที่คลินิกต่างๆ

ท่านสามารถติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้านได้โดยตรง เพื่อให้โรงพยาบาลนั้นๆ แจ้งสิทธิ์ของท่านให้กับส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข

> กลับไปสารบัญ

Q17: วันที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

คำตอบ: เอกสารที่ต้องใช้ คือ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน
  2. หน้า application หมอพร้อม ที่ยืนยันการรับวัคซีน หรือ เอกสารการนัดรับวัคซีน กรณีลงทะเบียนผ่านโรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่ หรือ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) หรือ อสม.

> กลับไปสารบัญ

Q18: ยกเลิกนัดฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

คำตอบ: สามารถติดต่อ รพ. ที่จองคิวฉีดวัคซีนได้เพื่อขอทำการยกเลิก

> กลับไปสารบัญ

Q19: ไปฉีดก่อนวันนัดได้หรือไม่?

คำตอบ: สามารถทำได้ ถ้าเหลือโควต้าในการฉีดของวันนั้นๆ ระบบจะทำการบันทึกและยกเลิกนัดที่เคยกำหนดไว้ก่อนหน้านี้

> กลับไปสารบัญ

Q20: รับวัคซีนแล้ว กลับมาใช้ชีวิตแบบปกติก่อน New Normal ได้เลยไหม?

คำตอบ: เมื่อได้รับวัคซีนแล้ว ร่างกายจะได้รับการกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาหลังจากรับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งยังคงมีโอกาสที่จะได้รับเชื้อโควิด-19 แล้วเกิดอาการป่วยได้ แต่จะลดอาการป่วยรุนแรง และลดอัตราการเสียชีวิตลง จึงขอแนะนำให้ทุกท่านยังคงใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง และล้างมืออย่างสม่ำเสมอ จนกว่าจะมีประกาศจากทางกระทรวงสาธารณสุข

> กลับไปสารบัญ

หากมีข้อสงสัยเรื่องการใช้ “หมอพร้อม” สอบถามได้ที่ 0-2792-2333
อ้างอิงข้อมูล:
– นพ.พงศธร แจงทุกข้อสงสัย ลงทะเบียน “หมอพร้อม” ทำไมลงยากลงเย็น (คลิปการให้สัมภาษณ์ link)
– ศูนย์ประสานงานข้อมูล “หมอพร้อม”

บทความล่าสุด

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 V
  • Praram 9 V

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

นพ.อนุวัตร สุขสมานพาณิชย์

ศูนย์ศัลยกรรม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีการผ่าตัดสงวนเต้า ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ต้องถูกตัดเต้านมออกทั้งหมด หรือหากจำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออก ก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF เป็นเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก ช่วยเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

ภาวะผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ หรือโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) อาจมีอาการคล้ายโรคมะเร็งลำไส้ สามารถตรวจสอบเพื่อแยกโรค และรักษาให้เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด

แพ็กเกจยอดนิยม

แพ็กเกจตรวจสุขภาพน้องใหม่วัยชิลล์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นพี่วัยชิค

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นใหญ่วัยเก๋า

รายละเอียด

ดูแพ็กเกจทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2021 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา