Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
Menu
  • TH
    • EN
    • CN
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม สาเหตุใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอีสุกอีใสและงูสวัด

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 23 มิถุนายน 2022
รัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม (Ramsay hunt syndrome)

จากข่าวของ จัสติน บีเบอร์ ที่มีอาการของโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม (Ramsey Hunt syndrome) ซึ่งมีอาการใบหน้าซีกขวาอัมพาต ทำให้ต้องยกเลิกทัวร์คอนเสิร์ต ซึ่งโรคนี้เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอีสุกอีใสและงูสวัดที่ต้องรีบรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อลดความเสี่ยงของกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงและการสูญเสียการได้ยิน

บทความนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักโรคนี้กันค่ะ

สารบัญ

  • โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม (Ramsey Hunt syndrome) หรือภาวะใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก คืออะไร?
  • โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม พบได้มากแค่ไหน?
  • ใครบ้างที่เสี่ยงกับโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม?
  • อาการของโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม
  • โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม ติดต่อได้หรือไม่?
  • การรักษาโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม
  • การป้องกันโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม
  • สรุป

โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม (Ramsey Hunt syndrome) หรือภาวะใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก คืออะไร?

โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม (Ramsey Hunt syndrome) หรือภาวะใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 (ที่เลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า) จากเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Herpes zoster ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับโรคอีสุกอีใสและงูสวัด 

โดยเมื่อเราหายจากโรคอีสุกอีใส เชื้อไวรัสจะแฝงอยู่ในปมประสาท เมื่อภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง จะทำให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวและก่อให้เกิดการอักเสบตามแนวเส้นประสาท ซึ่งก่อให้เกิดอาการได้ตั้งแต่เป็นงูสวัดที่ลำตัว ซึ่งจะมีอาการปวดแสบร้อนและตุ่มน้ำตามแนวเส้นประสาท หรือ หากเชื้อไวรัสไปทำให้เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าก็จะทำให้เกิดโรค โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรมทำให้มีอาการอัมพาตของใบหน้าครึ่งซีก

ภาวะใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก

> กลับสู่สารบัญ

โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม พบได้มากแค่ไหน?

โดยทั่วไปอุบัติการณ์ของโรคพบได้น้อยมาก ประมาณ 5-10 รายในประชากร 100,000 คน ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับงูสวัดที่พบได้ประมาณ 4 รายในประชากร 1,000 คน แม้ว่าจะพบได้ไม่มาก แต่หากเป็นแล้วจะมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง และหูหนวกได้ ดังนั้นจึงเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

> กลับสู่สารบัญ

ใครบ้างที่เสี่ยงกับโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม?

  • ผู้ที่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน
  • ผู้สูงอายุ โดยความเสี่ยงจะมากขึ้นในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วย HIV หรือผู้ที่มีภาวะเครียด พักผ่อนน้อย

> กลับสู่สารบัญ

อาการของของโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม

อาการหลักของโรคนี้ ได้แก่ อัมพาตกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีก ปวดหู มีตุ่มน้ำในรูหูและใบหู 

โดยเริ่มต้นจะมีอาการนำประมาณ 1-3 วัน ได้แก่

  • ปวดบริเวณใบหน้า 
  • มีไข้ อ่อนเพลีย 

จากนั้นจะมีอาการอัมพาตใบหน้าครึ่งซีกตามมา ได้แก่ 

  • หนังตาตก 
  • หลับตาไม่สนิท 
  • ยักคิ้วไม่ได้ 
  • ปากเบี้ยว มุมปากตก  
  • มีตุ่มน้ำขึ้นในรูหูและใบหู ปวดหู 
  • อาจมีอาการทางหู เช่น อาจได้ยินลดลง มีเสียงดังในหู หรืออาการบ้านหมุน
อาการของของโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม

> กลับสู่สารบัญ

โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม ติดต่อได้หรือไม่?

โรคนี้สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสตุ่มน้ำของผู้ป่วย โดยจะทำให้เป็นโรคอีสุกอีใสในผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันซึ่งได้แก่ ผู้ที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน หรือผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนอีสุกอีใส

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม

ส่วนใหญ่การอักเสบจะหายได้เอง โดยตุ่มน้ำจะเริ่มตกสะเก็ดและหลุดลอกออกไปภายใน 7 วัน แต่อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าอาจคงอยู่ถาวรได้ถึง 30-50% ของผู้ป่วย ขึ้นกับความเร็วในการเริ่มยาต้านไวรัสหลังมีอาการ

สามารถรักษาได้โดยใช้ยาต้านไวรัส เช่น Acyclovir, Valacyclovir โดยควรให้ยาภายใน 3 วันหลังเริ่มมีอาการ ร่วมกับการให้สเตียรอยด์ หากเริ่มยาภายใน 3 วันจะมีโอกาสหายเป็นปกติได้ประมาณ 70% แต่หากเริ่มภายใน 4-7 วันจะหายเป็นปกติได้ประมาณ 50% 

อาการอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้าอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนจึงจะดีขึ้น ส่วนใหญ่จะหายภายใน 1 ปี บางรายอาจมีอาการปวดบริเวณใบหน้าหลงเหลืออยู่ (post herpetic neuralgia) ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม

เนื่องจากทุกคนที่เคยเป็นอีสุกอีใสมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่เคยเป็นอีสุกอีใส การป้องกันโรคนี้จึงควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย และสำหรับคนที่ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคนี้

คำแนะนำสำหรับการฉีดวัคซีนอีสุกอีใส

  1. ในผู้ที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน แนะนำให้ฉีดวัคซีนอีสุกอีใส (chickenpox) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ herpes zoster ตามธรรมชาติซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้ออีสุกอีใสได้ 90-100% ซึ่งจะลดโอกาสที่จะเกิดงูสวัดตามมา
  2. ผู้ที่อายุ 50 ปีขึ้นไป อาจฉีดวัคซีนงูสวัด (varicella zoster) โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกันงูสวัดประมาณ 50%

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม หรือใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก เป็นโรคหนึ่งที่เป็นภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสและงูสวัด โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ที่ให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทไขสันหลังคู่ที่ 7 ซึ่งเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้า ซึ่งจะทำให้เกิดอาการของใบหน้าอัมพาตครึ่งซีก หรือทำให้เกิดอาการปวดหูหรือได้ยินเสียงลดลงได้ แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อย แต่หากเป็นโรคนี้แล้วต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะหากปล่อยไว้อาจทำให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงถาวรหรือหูหนวกได้

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 V
  • Praram 9 V

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

พญ.จิตรฟ้า หรูรุ่งโรจน์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ตรวจสุขภาพ_1-1

ศูนย์ตรวจสุขภาพ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีการผ่าตัดสงวนเต้า ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ต้องถูกตัดเต้านมออกทั้งหมด หรือหากจำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออก ก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF เป็นเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก ช่วยเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

ภาวะผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ หรือโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) อาจมีอาการคล้ายโรคมะเร็งลำไส้ สามารถตรวจสอบเพื่อแยกโรค และรักษาให้เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด

แพ็กเกจยอดนิยม

แพ็กเกจตรวจสุขภาพน้องใหม่วัยชิลล์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นพี่วัยชิค

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นใหญ่วัยเก๋า

รายละเอียด

ดูแพ็กเกจทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2021 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา