บทความสุขภาพ

Knowledge

จิตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ

ตเวช: ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ

คำถาม ยาบ้า ยาอี ยาม้า เหมือนกันหรือต่างกันตรงไหนคะ ยาพวกนี้มามีส่วนทำอะไรในร่างกายหรือจิตใจเราคะจึงทำให้เราติดมัน


คำตอบ โดย นายแพทย์ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง


ยาบ้า หรือ ยาม้า เป็นชื่อสารเสพติดชนิดเดียวกัน คือ สารแอมเฟตามีน (Amphetamine) จัดเป็นสารกระตุ้นประสาท โดยออกฤทธิ์กระตุ้นสมองชั้นในหรือสมองส่วนอยาก (Limbic system) ซึ่งประกอบด้วยศูนย์พึงพอใจ ศูนย์ควบคุมอารมณ์ & พฤติกรรม ศูนย์ความอิ่ม ทำให้ผู้เสพมีความสุข สนุกสนาน ขยันขันแข็ง มีกำลังวังชา ไม่อยากอาหารแบบอิ่มทิพย์ นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ถ้าเสพมากหรือติดต่อกันจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย มีอาการทางจิต หวาดระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน และอาจมีอารมณ์ซึมเศร้าฆ่าตัวตายได้ เดิมยาบ้าตั้งแต่สังเคราะห์ โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน เมื่อ คศ.1887 เป็นต้นมา ได้ถูกผลิตเป็นยาดม ยาเม็ดกิน จนมีการใช้ฉีดเข้าเส้น และล่าสุดทำเป็นก้อนผลึก จุดไฟอบสูบควัน ยาบ้าเคยใช้เป็นยารักษาโรคดอ้วน โรคหลับผิดปกติ และโรคซนในเด็ก แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว


ส่วนยาอี มาจากคำว่า Ecstasy ซึ่งแปลว่าสนุกสนานเบิกบานใจอย่างยิ่ง เป็นน้องของยาบ้าอีกที เพราะสังเคราะห์หลังยาบ้า 1 ปี โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น มีสูตรโครงสร้างใกล้เคียงกัน คือ เมทแอมเฟตามีน (Mathamphetamine) แต่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่า คือ นอกจากมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทแล้วยังมีฤทธิ์หลอนประสาทด้วย (psychedelic) กล่าวคือ ทำให้กล้ามเนื้ออยู่ไม่สุก ต้องเคลื่อนไหว เต้นรำ รู้สึกรักใคร่กลมเกลียวเหมือนพี่เหมือนน้อง รู้สึกอบอุ่นในอย่างประหลาด ต้องการเปิดเผยความในใจ มีส่วนรับรู้ความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น เป็นยาแห่งความรัก และการรับรู้ทางอายตนะสัมผัสพิศดาร จึงมักใช้ในงานปาร์ตี้ต่างๆ


ทั้งยาบ้าและยาอีจะไปจับกับตัวรับ (receptors) ของสมองชั้นในหรือสมองส่วนนอก จนในที่สุดจะครอบงำสมองชั้นนอกหรือสมองส่วนเหตุผล (cerebral cortex) ทำให้ไม่สามารถยับยั้งชั่งใจได้ เข้าสู่กระบวนการเสพติดยา กล่าวคือ ตัวกระตุ้น –> ความคิด –> ความอยากยา –> การเสพยา ส่วนกระบวนการเสพติดยานั้นอธิบายด้วยทฤษฎีการเรียนรู้ กล่าวคือ


ยา —–> อาการทางร่างกาย&จิตใจ (อยากยา)


ยา + สิ่งที่เกี่ยวข้องกับยา (ตัวกระตุ้น) —> อยากยา


ตัวกระตุ้น —> อยากยา


และ เมื่อเสพติดยาแล้ว พอหยุดเสพจะเกิดอาการอยากยา ทนทุกข์ทรมานคล้ายลงแดง จึงหายามาเสพอีก วนเวียนไม่รู้จบ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

รู้จัก ASD คืออะไร? ผนังหัวใจรั่วอาการเป็นแบบไหน รักษายังไงดี

ชวนรู้จัก ASD หรือ ภาวะผนังกั้นหัวใจรั่วคืออะไร ผนังหัวใจรั่ว อันตรายไหม? มาเช็กต้นตอสาเหตุ อาการของ ASD แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลให้หัวใจห้องบนแข็งแรง!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital