Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรคหัวใจและโรคไต: ความสัมพันธ์อันตรายที่ควรรู้

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 10 พฤษภาคม 2024
โรคไตกับโรคหัวใจ

โรคไตและโรคหัวใจเป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน คือกลุ่มโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCD) ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่มีอัตราการเกิดโรคและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆในเกือบทุกประเทศทั่วโลก โดยทั้งสองโรคนี้มักจะถูกพูดถึงในลักษณะที่แยกกัน แต่เมื่อเจาะลึกลงไปจะพบว่าทั้งสองโรคมีความเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง ไม่เพียงเพราะว่ามีปัจจัยเสี่ยงร่วมกัน แต่โรคหนึ่งสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่ออีกโรคหนึ่งได้อีกด้วย

สารบัญ

  • โรคหัวใจ
  • โรคไต
  • ความสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและไต
  • ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคไต
  • คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตและโรคหัวใจ
  • การป้องกันโรคหัวใจและโรคไต
  • สรุป

โรคหัวใจ

โรคหัวใจเป็นกลุ่มของความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบหัวใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ การนำไฟฟ้าของหัวใจ และเยื่อหุ้มหัวใจ ส่งผลให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ โรคหัวใจแบ่งออกได้เป็นหลายโรค แต่ละโรคมีสาเหตุและอาการแสดงที่แตกต่างกัน โรคหัวใจที่พบได้บ่อย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือโรคเส้นเลือดแข็งตัว โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวาย ซึ่งผู้ป่วยโรคหัวใจมักมีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจเร็ว ใจสั่น หน้ามืด วูบ หมดสติ หากมีอาการเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องต่อไป

> กลับสู่สารบัญ

โรคไต

ไตเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด และควบคุมสมดุลของของเหลวและเกลือแร่ในร่างกาย เมื่อไตทำงานผิดปกติจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น ภาวะน้ำเกิน ภาวะเกลือแร่ในเลือดผิดปกติ และภาวะเลือดจาง

โรคไตสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการของโรคไตเรื้อรังมักค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่สังเกตเห็นจนกระทั่งโรคพัฒนาไปถึงระยะรุนแรง เกิดเป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ซึ่งเป็นภาวะที่ซับซ้อนและมักไม่หายขาด 

ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวานหรือความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคไตเรื้อรัง การตรวจคัดกรองเป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากตรวจพบตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นจะสามารถรักษาและป้องกันไม่ให้โรครุนแรงได้

> กลับสู่สารบัญ

ความสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและไต

หัวใจและไตเป็นอวัยวะสำคัญที่ทำงานร่วมกันเพื่อรักษาสมดุลของระบบไหลเวียนของร่างกาย ความสัมพันธ์ของทั้งสองอวัยวะนี้มีความซับซ้อนและส่งผลต่อกันและกัน โดยสามารถอธิบายความสัมพันธ์ได้ดังนี้

  • หัวใจสูบฉีดเลือดส่งเลือดไปเลี้ยงไต: หัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย รวมถึงไต เลือดที่ส่งไปเลี้ยงไตจะนำออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของไต
  • ไตกรองของเสียออกจากเลือด: ไตทำหน้าที่กรองของเสียและสารพิษออกจากเลือด โดยขับของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
  • ไตควบคุมความดันเลือด: ไตช่วยควบคุมความดันเลือด โดยทำหน้าที่รักษาสมดุลของเกลือแร่และน้ำในร่างกาย
  • ไตผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมการสร้างเม็ดเลือดแดง: ไตผลิตฮอร์โมนอีริโทรโปอีติน (erythropoietin) ซึ่งจะไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง
  • ไตควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด: ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท

ไตและหัวใจทำงานเป็นแบบพึ่งพาอาศัยกัน หากอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งทำงานผิดปกติไป จะส่งผลต่ออีกอวัยวะหนึ่งด้วย เช่น 

  • ในผู้ป่วยโรคหัวใจ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวายเรื้อรัง การทำงานของหัวใจเสียไป สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้น้อยลง ก็จะส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงไต ทำให้ไตทำงานผิดปกติ เกิดเป็นโรคไตเรื้อรังตามมาได้
  • ในผู้ป่วยโรคไต เช่น โรคไตเรื้อรัง ทำให้ขับของเสียและสารพิษออกจากร่างกายได้น้อยลง และของเสียเหล่านี้จะสะสมในเลือด ซึ่งมีผลต่อการทำงานของหัวใจ และทำเกิดเป็นโรคหัวใจตามมาได้

จะเห็นได้ว่าระหว่างการทำงานของหัวใจและไตมีความเกี่ยวข้องกัน ดังนั้นไม่ว่าความผิดปกติจะเกิดขึ้นที่ระบบใด ก็อาจจะผลกระทบต่ออีกระบบได้เช่นกัน

> กลับสู่สารบัญ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคไต

แม้ว่าทั้งสองอวัยวะจะมีหน้าที่การทำงานที่ต่างกัน แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งโรคหัวใจและโรคไตมีความเสี่ยงของโรคที่คล้ายกัน ได้แก่

  • หลอดเลือดที่เสียความยืดหยุ่น หรือหลอดเลือดแข็งตัว (atherosclerosis) โรคหัวใจและโรคไต มักเกิดจากการแข็งตัวของหลอดเลือด ซึ่งเกิดจากการที่มีการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ภาวะนี้ทำให้หลอดเลือดตีบ เลือดจึงไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ น้อยลง ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ และไต นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย
  • โรคความดันโลหิตสูง ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพราะต้องบีบตัวเพื่อสูบฉีดให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆในร่างกายโดยสู้กับความดันโลหิตที่สูงกว่าปกติ ความดันโลหิตสูงยังส่งผลต่อไต โดยทำให้ความดันในหลอดเลือดไตสูงขึ้น ผนังหลอดเลือดฝอยภายในไตอักเสบ และท่อไตเกิดพังผืด ทำให้ไตทำงานไม่ปกติ ไม่สามารถควบคุมน้ำและเกลือแร่ได้ ยิ่งทำให้ภาวะความดันโลหิตสูงแย่ลง และส่งผลวนเวียนกับไตและหัวใจต่อเนื่องเป็นวัฏจักร
  • โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด และหลอดเลือดทั่วร่างกายแข็งตัวรวมถึงหลอดเลือดในไต นผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคไตมากกว่าคนทั่วไป
  • ไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลที่สูงจะสะสมในหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และส่งผลเสียต่อไตด้วย
  • โรคอ้วน จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ และโรคไต นอกจากนี้โรคอ้วนยังเป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรงของการเกิดโรคไตเรื้อรังผ่านกระบวนการอักเสบของร่างกาย
  • การสูบบุหรี่ บุหรี่มีผลเสียกับหลอดเลือดทั่วร่างกายเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของภาวะหลอดเลือดแข็งตัว เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคไต

การหลีกเลี่ยงปัจจัยเหล่านี้จะช่วยป้องกันโรคไตและหัวใจได้

> กลับสู่สารบัญ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตและโรคหัวใจ

การดูแลสุขภาพสำหรับผู้ที่มีโรคไตและโรคหัวใจเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจอย่างมาก เนื่องจากทั้งสองโรคนี้มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดและสามารถส่งผลกระทบต่อกันได้อย่างที่กล่าวมาข้างต้น

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์แดงติดมัน และเน้นอาหารที่มีไขมันดี เช่น ปลาที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 ผัก ผลไม้ และธัญพืช
  • การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม จะช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้น
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อลดภาระการทำงานของหัวใจ
  • การหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มสุรา 
  • วัดความดันโลหิตและระดับคอเลสเตอรอลอยู่เสมอ

สำหรับผู้ป่วยโรคไต

  • จำกัดปริมาณโซเดียม (เกลือ) โปรตีน และโพแทสเซียมในอาหาร ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อลดภาระการทำงานของไต
  • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  • การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดในปกติ มีความสำคัญสำหรับผู้เบาหวาน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคไต
  • รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติเพื่อป้องกันความเสียหายต่อไต
  • การหลีกเลี่ยงสารพิษและยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งอาจทำให้การทำงานของไตเสียหาย

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรคหัวใจและโรคไต

  • เน้นรับประทานผลไม้ ผัก ธัญพืชไม่ขัดสี และโปรตีนไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และโซเดียมสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ (moderate intensity exercise)
  • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  • งดสูบบุหรี่
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ 
  • จัดการความเครียด 
  • นอนหลับให้เพียงพอ
  • ควรตรวจคัดกรองโรคไต ภาวะความดันโลหิตสูง รวมถึงการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคหัวใจและโรคไตมีความเชื่อมโยงและส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน โดยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่อาจนำไปสู่ทั้งสองโรคนี้ได้ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตรวจวัดความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลเป็นประจำ สำหรับผู้มีเบาหวานควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงและผลกระทบจากทั้งโรคไตและโรคหัวใจได้

คลิกดูแพ็กเกจที่เกี่ยวข้องที่นี่

แพ็กเกจตรวจสมรรถภาพร่างกาย ระบบหัวใจ และปอด (9 Healthy Heart: VO2 MAX)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจพร้อมตรวจหาคราบหินปูนที่หลอดเลือดแดงหัวใจ (9 Healthy Heart: CAC)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและทดสอบสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน (9 Healthy Heart: EST)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคไต

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองเบาหวาน (Diabetic Screening)

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูง

รายละเอียด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ปัญหายอดฮิตของคนใช้งานข้อมือหนัก

อ่านเพิ่มเติม
กล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS MH และ SMA อาการต่างกันอย่างไร รักษาหายไหม?

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ ปัญหายอดฮิตของคนใช้งานข้อมือหนัก

ปลอกหุ้มเอ็นข้อมืออักเสบ คือโรคที่เกิดจากปลอกหุ้มเส้นเอ็นที่ใช้กางนิ้วหัวแม่มือที่อยู่บริเวณข้อมือเกิดการอักเสบ ทำให้มีอาการปวดข้อมือเมื่อใช้งาน มักเกิดจากการใช้งานข้อมือหนัก

อ่านเพิ่มเติม
กล้ามเนื้ออ่อนแรง

กล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS MH และ SMA อาการต่างกันอย่างไร รักษาหายไหม?

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถแบ่งได้หลายชนิด ซึ่งจะมีสาเหตุและอาการหลายแบบ วิธีรักษาเองก็หลากหลายตามไปด้วย รักษาแล้วหายขาดไหม? ติดตามได้ในบทความนี้!

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา