Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด นวัตกรรมการแพทย์ ช่วยเพิ่มความแม่นยำ ฟื้นตัวเร็ว ลดความเสี่ยงการผ่าตัดซ้ำ

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 19 พฤษภาคม 2025
robotic-surgery

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น ด้วยความสามารถในการช่วยศัลยแพทย์ให้ทำการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ และลดระยะเวลาพักฟื้นของผู้ป่วย ซึ่งการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมที่ผู้ป่วยส่วนมากมักเป็นผู้สูงอายุ การมีเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผ่าตัด จึงช่วยลดภาระจากการพักฟื้น และยังทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้งานข้อเข่าเป็นปกติได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

Key Takeaways

  • การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเป็นวิธีที่มีความแม่นยำสูง ความเสี่ยงต่ำ และลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถฟื้นตัว ได้อย่างรวดเร็ว
  • การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสำคัญมาก ควรตรวจสุขภาพก่อนผ่าตัดให้ละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • การฟื้นตัวหลังการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด มักสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบปกติ เนื่องจากความแม่นยำที่สูงขึ้นมาก

สารบัญบทความ

  • ทำความรู้จัก ‘หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด’ ผู้ช่วยคนสำคัญ เพื่อการผ่าตัดข้อเข่าเทียมที่แม่นยำ
  • ผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เหมาะสำหรับใครบ้าง ?
  • ผ่าตัดใส่ข้อเทียมแบบดั้งเดิม VS การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด แตกต่างกันอย่างไร
  • หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง?
  • การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด
  • หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด นวัตกรรมเพื่อการผ่าตัดข้อเข่าเทียมที่แม่นยำและปลอดภัย
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหุ่นยนต์ผ่าตัด

ทำความรู้จัก ‘หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด’ ผู้ช่วยคนสำคัญ เพื่อการผ่าตัดข้อเข่าเทียมที่แม่นยำ

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic assisted Surgery) คือ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่ถูกพัฒนาเพื่อช่วยเหลือศัลยแพทย์ในการผ่าตัดแบบต่าง ๆ โดยทำหน้าที่เสมือนเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มความแม่นยำของตา ช่วยให้เล็งได้ดีขึ้น ลดความสั่นไหวของมือ หรือเรียกได้ว่าเป็นการลด Human Error ระหว่างการผ่าตัดนั่นเอง

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม จะทำงานผ่านการควบคุมของศัลยแพทย์ ช่วยเพิ่มการมองเห็นโดยมีการสร้างภาพจำลองสามมิติของข้อเข่าผู้ป่วยแต่ละราย เพิ่มความแม่นยำ ในการตัดกระดูก ลดความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเทคโนโลยีอย่างหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ถูกนำมาใช้ในหลายสาขาการแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น การผ่าตัดกระดูกเข่า สะโพก ศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ หรือการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เป็นต้น

ผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เหมาะสำหรับใครบ้าง ?

โดยทั่วไปการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อม ที่จำเป็นต้องใส่ข้อเข่าเทียมเกือบทุกราย เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด ลดความเสี่ยงในการผ่าตัดซำ้จากความคลาดเคลื่อนของการผ่าตัด

ผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมแบบดั้งเดิม VS การผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด แตกต่างกันอย่างไร

ผ่าตัดรูปแบบดั้งเดิม

การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมคือการผ่าตัดที่มีการเล็งตัดกระดูกนำผิวข้อเข่าที่เสื่อมสภาพออกและใส่ผิวข้อเข่าเทียมใส่กลับเข้าไป ซึ่งก็อาจมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด (Human Error) เนื่องจากเป็นการใช้สายตาในการเล็งตัดกระดูก อาจเกิดการเล็งตัดกระดูกที่ผิดพลาด หรือการใช้อุปกรณ์ตัดกระดูกที่ควบคุมด้วยมือ ทำให้ถึงแม้จะเล็งได้ถูกต้อง แต่การตัดกระดูก อาจไม่เที่ยงตรงแม่นยำตามที่เล็ง จนไปถึงหลังจากตัดกระดูกมีการวางข้อเข่าเทียมไม่ได้องศาที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยต้องพักฟื้นนานขึ้นหรืออาจใช้งานข้อเข่าได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ มีข้อยึด ข้อหลวม จนไปถึงการผ่าตัดซำ้ในบางราย

ผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม

การผ่าตัดข้อเข่าเสื่อมด้วยการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเข้ามาช่วยนั้น ยังมีศัลยแพทย์เป็นผู้ทำการผ่าตัด เช่นเดิม เพียงแต่มีการใช้แขนกลของหุ่นยนต์ผ่าตัดเข้ามาช่วยลด Human Error เกือบทั้งหมด สามารถเข้าถึงและเก็บงานได้แม่นยำในระดับน้อยกว่าหนึ่งมิลลิเมตร ซึ่งละเอียดมากกว่าที่ ตา และมือมนุษย์จะทำได้ ช่วยป้องกันความผิดพลาดและลดภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัดได้ดียิ่งขึ้น ผู้ป่วยจึงใช้เวลาพักฟื้นน้อยและสามารถกลับมาใช้งานข้อเข่าได้รวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วย ลดความเสี่ยงการผ่าตัดซำ้จากความคลาดเคลื่อนดังกล่าว โดยเฉพาะการผ่าตัดที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง?

ข้อดีของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

  • เพิ่มความแม่นยำ แขนกลของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างละเอียด ใช้ได้ดีในการผ่าตัดที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบบางส่วน ช่วยลดข้อผิดพลาดจาก Human Error ซึ่งเกิดจากการเล็ง การตัดกระดูก ที่ไม่แม่นยำ 
  • ฟื้นตัวเร็ว การผ่าตัดโดยใช้คอมพิวเตอร์นำร่องหรือหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ช่วยลดการเสียเลือด  และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น
  • ลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนของการตัดกระดูก 
  • เพิ่มการมองเห็นแบบ 3 มิติ ระบบมองเห็นของหุ่นยนต์การแพทย์ช่วยให้ศัลยแพทย์เห็นรายละเอียดของกระดูกได้ชัดเจนกว่าการผ่าตัดแบบปกติ

ข้อเสียของหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

  • ค่าใช้จ่ายสูง การใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมีต้นทุนสูงมากกว่าการผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ ทำให้ค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าการผ่าตัดแบบทั่วไป
  • ต้องใช้ศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง แม้ว่าหุ่นยนต์ผ่าตัดจะเข้ามาช่วยเพิ่มความแม่นยำ แต่ศัลยแพทย์ต้องผ่านการฝึกฝนเฉพาะด้าน เพื่อให้สามารถควบคุมระบบได้อย่างปลอดภัยและแม่นยำ
  • ข้อจำกัดของบางหัตถการ แม้หุ่นยนต์การแพทย์จะเหมาะกับการผ่าตัดหลายประเภท แต่บางกรณีอาจยังไม่สามารถใช้แทนการผ่าตัดแบบดั้งเดิมได้ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับโรคหรืออาการที่เป็นอยู่

การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

การผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูงและลด ภาวะแทรกซ้อน แต่เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้ป่วยควรเตรียมตัวล่วงหน้า ตามคำแนะนำของแพทย์ดังนี้

  • เข้ารับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด แพทย์จะประเมินสุขภาพโดยรวม รวมถึงตรวจเลือด เอกซเรย์เพื่อให้แพทย์รู้ข้อมูลของข้อเข่าและอวัยวะที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดและวางแผนการผ่าตัดอย่างปลอดภัยต่อตัวผู้ป่วยมากที่สุด
  • แจ้งข้อมูลด้านสุขภาพกับแพทย์ก่อนเสมอ หากมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือแพ้ยา ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบล่วงหน้า เพราะเป็นกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือระบบร่างกายทำงานยังไม่ปกติ อาจทำให้การผ่าตัดเกิดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย
  • งดยาบางชนิดตามคำแนะนำแพทย์ โดยเฉพาะยาต้านเกล็ดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด หรือยาบางชนิดที่อาจมีผลต่อการผ่าตัด อาจทำให้เลือดแข็งตัวยากจนเป็นอันตรายได้
  • งดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด โดยทั่วไปต้องงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนและลดโอกาสสำลักไม่รู้ตัวระหว่างผ่าตัดด้วย
  • งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาจส่งผลต่อการฟื้นตัวของร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดอีกด้วย
  • จัดเตรียมสิ่งของจำเป็นสำหรับวันผ่าตัด เช่น เอกสารทางการแพทย์ ข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ ค่าใช้จ่าย เสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย (เผื่อเปื้อน) และของใช้ส่วนตัว (สำหรับนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล)
  • เตรียมตัวพักฟื้นหลังผ่าตัด ควรวางแผนการหยุดงาน จัดเตรียมที่พัก และมีผู้ดูแลหลังผ่าตัดในช่วงแรกด้วย เพื่อความปลอดภัยในการพักรักษาตัว
  • บริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า เพื่อให้หลังผ่าตัดข้อเข่าสามารถฟื้นตัวได้ไวและกลับมาใช้งานข้อเข่าได้เร็วขึ้น

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด นวัตกรรมเพื่อการผ่าตัดข้อเข่าเทียมที่แม่นยำและปลอดภัย

ปัจจุบันการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ช่วยยกระดับ มาตรฐานการผ่าตัดให้มีความแม่นยำสูง ลดความเสี่ยงความผิดพลาด และช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แม้ว่าจะมีข้อดีมากมาย แต่การเลือกใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ก็ควรพิจารณาความเหมาะสมของโรค และผู้ป่วย

หากคุณกำลังมองหาทางเลือกในการใส่ข้อเข่าเทียมด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด และต้องการข้อมูล เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อและกระดูกสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • Facebook: Praram 9 hospital  
  • Line @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับหุ่นยนต์ผ่าตัด

ใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม มีความเสี่ยงหรือไม่ อันตรายหรือเปล่า?

แม้ว่าหุ่นยนต์ผ่าตัดจะช่วยเพิ่มความแม่นยำและลดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการผ่าตัด แต่ก็ยังมีความเสี่ยงเช่นเดียวกับการผ่าตัดทั่วไป เช่น การติดเชื้อ ภาวะแทรกซ้อนจากยาสลบ หรือปัญหาทางเทคนิคของระบบหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเหล่านี้สามารถลดลงได้ด้วยการเลือกทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดอย่างถูกต้อง

หลังผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด พักฟื้นกี่วัน?

หลังผ่าตัดเข่าเสื่อม ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถลงน้ำหนักที่ข้อเข่าโดยใช้อุปกรณ์พยุงตัวภายใน 1 วัน ส่วนใหญ่จะเริ่มเดินช่วยเหลือตัวเองเข้าห้องน้ำได้ตั้งแต่แรก และจะค่อย ๆ ดีขึ้น จนสามารถ กลับมาใช้งานข้อเข่าได้ดีขึ้นมากภายใน 3-6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพร่างกายก่อนผ่าตัดด้วยเช่นกันโดยทั่วไปการพักฟื้นหลังผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด มักสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าตัด แบบปกติ เนื่องจากความแม่นยำที่สูงขึ้นมาก

References

Yang, H.Y., & Seon, J.K. (2023). The landscape of surgical robotics in orthopedics surgery. Biomedical engineering letters, 13(4), 537–542. https://doi.org/10.1007/s13534-023-00321-8 

Robotic Knee Replacement Surgery. (n.d.). pennmedicine. https://www.pennmedicine.org/for-patients-and-visitors/find-a-program-or-service/orthopaedics/knee-pain/knee-surgery/knee-replacement-surgery/robotic-knee-replacements 

Cleveland Clinic. (2024, April 30). Robotic Surgery. Cleveland Clinic. https://www.uclahealth.org/medical-services/robotic-surgery/what-robotic-surgery 

Mayo Clinic Staff. (2024, April 13). Robotic surgery. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/robotic-surgery/about/pac-20394974 

UCLA Health. (2024). What is Robotic Surgery?. UCLA Health. https://www.uclahealth.org/medical-services/robotic-surgery/what-robotic-surgery 

บทความล่าสุด

robotic-surgery

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด นวัตกรรมการแพทย์ ช่วยเพิ่มความแม่นยำ ฟื้นตัวเร็ว ลดความเสี่ยงการผ่าตัดซ้ำ

อ่านเพิ่มเติม

ทำไมกินหมูแล้วหูดับ?

อ่านเพิ่มเติม
หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

1200-กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

robotic-surgery

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด นวัตกรรมการแพทย์ ช่วยเพิ่มความแม่นยำ ฟื้นตัวเร็ว ลดความเสี่ยงการผ่าตัดซ้ำ

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น ด้วยความสามารถในการช่วยศัลยแพทย์ให้ทำการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ และลดระยะเวลาพักฟื้นของผู้ป่วย ซึ่งการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมที่ผู้ป่วยส่วนมากมักเป็นผู้สูงอายุ

อ่านเพิ่มเติม

ทำไมกินหมูแล้วหูดับ?

โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย สามารถติดต่อสู่คนได้ 2 ทาง

อ่านเพิ่มเติม
หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา