Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ผ่าตัดเข่าเสื่อมใส่ข้อเข่าเทียม หนทางเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กลับมาแอคทีฟได้อีกครั้ง

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 24 พฤษภาคม 2025
ผ่าตัดเข่าเสื่อม

ข้อเข่าที่ผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน ย่อมมีวันเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา การรักษาด้วยการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม เป็นหนึ่งในหนทางที่จะคืนชีวิตให้ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมสามารถกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างมีคุณภาพอีกครั้ง

Key Takeaways

  • การผ่าตัดเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม เป็นวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการตัดผิวข้อเข่าที่สึกกร่อน แล้วแทนที่ด้วยโลหะและ วัสดุคุณภาพสูง เพื่อให้ข้อเข่าสามารถกลับมาใช้งานเป็นปกติได้อีกครั้ง
  • การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมมี 2 ประเภท คือ การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมทั้งข้อ และการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วน
  • ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม มักจะมีอาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรง เช่น ปวดเข่ารุนแรงไม่ว่าจะอยู่ในท่าไหนก็ตาม, ข้อเข่างอผิดรูป และไม่สามารถใช้ยาหรือกายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการได้

สารบัญบทความ

  • รู้จักโรคข้อเข่าเสื่อมคืออะไร แค่ผู้สูงอายุหรือไม่? ที่มีโอกาสเป็น
  • ผ่าตัดเข่าเสื่อมเพื่อรักษาข้อเข่า มีกี่ประเภท?
  • ข้อดีและข้อจำกัดของการรักษาด้วยการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม
  • การเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม
  • ขั้นตอนการผ่าตัดเข่าเสื่อม
  • การดูแลตนเองหลังผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม
  • ผ่าตัดเข่าเสื่อม เพิ่มความคล่องตัวให้กับชีวิต ที่ศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า
  • คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดเข่าเสื่อม

รู้จักโรคข้อเข่าเสื่อมคืออะไร แค่ผู้สูงอายุหรือไม่? ที่มีโอกาสเป็น

โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) คือโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงถึงโครงสร้างกระดูกบริเวณข้อเข่าอย่างถาวร จึงทำให้เกิดอาการเจ็บปวดและเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ลำบาก โดยอาการจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม 

โรคข้อเข่าเสื่อมนั้นพบได้บ่อยในผู้ที่อายุมากกว่า 55 ปี เนื่องจากข้อเข่าผ่านการใช้งานมาระยะหนึ่ง จึงเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา อย่างไรก็ตาม โรคข้อเข่าเสื่อมยังเกิดขึ้นกับคนที่อายุน้อยกว่านั้นได้ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่นหากเคยบาดเจ็บที่ข้อเข่า มีประวัติหมอนรองกระดูกเข่าฉีกขาด หรือชอบนั่งคุกเข่า นั่งขัดสมาธิ รวมทั้งมีน้ำหนักตัวเกินควร ก็มีโอกาสที่จะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้เร็วขึ้น ทั้งนี้โรคข้อเข่าเสื่อมยังเกิดขึ้นได้จากโรคอื่น ๆ เช่น การติดเชื้อที่ข้อ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคเก๊าท์ เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมอาการรุนแรงแค่ไหนที่อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด? 

  • อาการปวดข้อเข่ารุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
  • มีอาการปวดข้อเข่าตลอด ไม่ว่าจะอยู่ในท่าทางไหนก็ตาม
  • ข้อเข่าบวม ร้อนแดง แสดงถึงการอักเสบรุนแรง
  • ข้อเข่าโก่งงอผิดรูป 
  • ไม่สามารถบรรเทาอาการปวดได้ด้วยยาทา ยารับประทาน หรือการทำกายภาพบำบัดได้อีกต่อไป

ผ่าตัดเข่าเสื่อมเพื่อรักษาข้อเข่า มีกี่ประเภท?

การผ่าตัดเข่าเสื่อมด้วยการใส่ผิวข้อเข่า หรือที่นิยมเรียกว่าการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม คือวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการใช้โลหะและวัสดุคุณภาพสูงมาแทนที่ผิวข้อเข่าเดิมที่เสื่อมสภาพ ช่วยให้ข้อเข่าสามารถกลับมาขยับเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงผิวข้อเข่าเดิมที่สุด ซึ่งในปัจจุบันการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมเป็นวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมที่ดีที่สุด สามารถคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยได้อีกครั้ง

การผ่าตัดข้อเข่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

การผ่าตัดใส่ผิวข้อเข่าทั้งข้อ

การผ่าตัดใส่ผิวข้อเข่าทั้งข้อ (Total knee arthroplasty, TKA) เป็นวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าเดิมออกทั้งหมด แล้วแทนที่ด้วยโลหะและ วัสดุคุณภาพสูง เหมาะกับผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมรุนแรง มีบริเวณที่เสื่อมหลายจุด และเข่าโก่งงอจนผิดรูป ซึ่งวิธีนี้สามารถแก้ได้ทุกปัญหาของโรคข้อเข่าเสื่อม ทำให้ขาหายโก่งผิดรูป ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวที่เสียไป ลดความเจ็บปวดที่เกิดจากการสึกหรอของผิวข้อ ทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้งานข้อเข่าได้ใกล้เคียงปกติอีกครั้ง 

รู้จักการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมทั้งข้อ อ่านต่อได้ที่ : TKA คือ

การผ่าตัดใส่ผิวข้อเข่าเฉพาะส่วน

การผ่าตัดใส่ผิวข้อเข่าเฉพาะส่วน (Unicompartment knee arthroplasty, UKA) เป็นอีกหนึ่งวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยจะใช้ได้ในระยะแรกที่การเสียหายของผิวข้อยังเป็นเฉพาะจุด การรักษาจะจำกัดเฉพาะส่วน ด้วยการตัดเจียผิวข้อเข่าส่วนที่สึกกร่อนออกเท่านั้น แล้วแทนที่ด้วยโลหะและวัสดุคุณภาพสูงเช่นเดียวกับการใส่ผิวข้อทั้งหมด โดยที่ยังคงสภาพผิวข้อเข่าที่ดีไว้ดังเดิม เปรียบเสมือนกับการ อุดฟันเวลาที่เกิดฟันผุ 

การผ่าตัดใส่ผิวข้อเข่าเฉพาะส่วนจึงเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเข่าเสื่อมเฉพาะจุด และเนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่มีการตัดกระดูกเพียงบางส่วน และก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณเนื้อเยื่อรอบข้างน้อยกว่าการใส่ผิวข้อเข่าทั้งข้อมาก จึงใช้เวลาในการพักฟื้นน้อย มีความเจ็บปวดโดยรวมน้อย การใช้งานโดยรวมใกล้เคียงปกติมากกว่าด้วย

รู้จักการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมเฉพาะส่วน อ่านต่อได้ที่ : UKA คือ

ข้อดีและข้อจำกัดของการรักษาด้วยการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม

ผ่าตัดหัวเข่า

โรคข้อเข่าเสื่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมรุนแรง ซึ่งวิธีแก้ปัญหาที่ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดในปัจจุบันคือการผ่าตัดเข่าเสื่อมด้วยใส่ผิวข้อเข่าเทียม ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีและข้อจำกัดดังต่อไปนี้

ข้อดีของการผ่าตัดเข่าเสื่อมด้วยการใส่ข้อเข่าเทียม

  • ลดอาการเจ็บปวดจากการที่เนื้อกระดูกมาชนกัน 
  • ลดอาการข้อติดจากกระดูกงอกภายในข้อ ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของข้อ
  • ช่วยปรับให้ข้อที่เคยผิดรูปกลับมามีสภาพปกติ และรับน้ำหนักร่างกายได้ดีอีกครั้ง
  • ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคข้อเข่าเสื่อม เช่น การเสื่อมของข้ออื่น ๆ ใกล้เคียง และลดการเกิดโรคจากภาวะการเคลื่อนไหวร่างกายที่ลดลง 
  • มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ในรายงานพบว่า เกิน 90% ของข้อเข่าเทียมอยู่ได้เกินกว่า 15 ปี ในกรณีที่ผ่าตัดใส่ผิวทั้งหมด

ข้อจำกัดของการผ่าตัดเข่าเสื่อมด้วยการใส่ข้อเข่าเทียม

  • ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมในผู้ที่มีประวัติติดเชื้อในข้อเข่าข้างนั้นมาไม่เกิน 6 เดือน และในผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อาจไม่เหมาะสมในผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวมานาน เช่นผู้ป่วยติดเตียง หรือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสาร หรือให้ความร่วมมือในการทำกายภาพบำบัดได้

การเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม

การเตรียมพร้อมก่อนเข้ารับการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมจะช่วยเพิ่มโอกาสให้การผ่าตัดราบรื่นมากขึ้น ซึ่งก่อนผ่าตัดเจ้าหน้าที่จะมาอธิบายวิธีเตรียมพร้อม ดังนี้

การเตรียมร่างกายก่อนผ่าตัด

  • งดยาและอาหารเสริมทุกชนิด โดยเฉพาะยาสมุนไพร กรณีที่เป็นยารักษาโรคใด ๆ ให้แจ้งแพทย์เพื่อพิจารณาการงดยาเป็นรายบุคคล
  • งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • ดูแลสุขภาพให้พร้อม ไม่ให้มีการติดเชื้อก่อนการผ่าตัด เช่น การตรวจสุขภาพฟัน การควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวาน
  • งดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการผ่าตัดในระยะเวลาที่แพทย์แจ้งไว้

การจัดเตรียมสถานที่สำหรับพักฟื้นหลังผ่าตัด

สิ่งสำคัญนอกจากการเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนผ่าตัดก็คือ การเตรียมความพร้อมภายในบ้านก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพื่อให้หลังผ่าตัดสามารถอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการพักฟื้น ซึ่งแนวทางการจัดเตรียมสถานที่สำหรับพักฟื้นมีดังนี้

  • เคลียร์พื้นที่ภายในบ้านให้โล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวาง พื้นมีระดับเท่ากัน ลดความเสี่ยงการสะดุดล้ม
  • จัดการเรื่องแสงไฟภายในบ้าน ให้มีแสงสว่างเพียงพอ
  • ติดตั้งราวจับในห้องน้ำ และบริเวณชักโครกเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถพยุงตนเองได้สะดวก
  • ควรจัดวางเก้าอี้ไว้ในห้องน้ำ เพื่อความสะดวกในการอาบน้ำของผู้ป่วย
  • หากเป็นไปได้ควรจัดที่สำหรับนอนพักไว้ที่ชั้นล่าง

ขั้นตอนการผ่าตัดเข่าเสื่อม 

ผ่าหัวเข่า

ขั้นตอนการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมเพื่อรักษาอาการโรคข้อเข่าเสื่อมมีดังต่อไปนี้

  • วิสัญญีแพทย์ให้ยาระงับความรู้สึกก่อนเข้ารับการผ่าตัดเข่า ซึ่งอาจเป็นการดมยาสลบหรือการฉีดยาเข้าไขสันหลัง
  • ศัลยแพทย์ทำเปิดแผลบริเวณข้อเข่ายาวประมาณ 12-15 เซนติเมตร ขึ้นกับขนาดเข่า เพื่อให้เห็นผิวข้อเข่าที่เสื่อมสภาพ
  • ทำการตัดผิวข้อเข่าที่เสื่อมสภาพออก ซึ่งความหนาและบริเวณที่ตัดผิวข้อเข่าออกขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการสึกกร่อน
  • นำข้อเข่าเทียมฝังเข้าไปแทนที่ ซึ่งวัสดุที่ใช้มีหลายแบบ ทั้งนี้แพทย์จะเลือกให้ตามความเหมาะสม
  • อาจมีการปรับแต่งเส้นเอ็นบริเวณรอบเข่าเพื่อคืนรูปเข่าให้ตั้งตรงและสามารถทำหน้าที่กระจายน้ำหนักได้ดีขึ้น

การผ่าตัดเข่าเสื่อมด้วยการใส่ข้อเข่าเทียมจะใช้เวลาอยู่ในห้องผ่าตัดประมาณ 90-120 นาที จากนั้นผู้ป่วยจะถูกส่งตัวมายังห้องพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการประมาณ 1-2 ชั่วโมง หากผู้ป่วยมีอาการคงที่ก็จะถูกส่งไปยังห้องพักผู้ป่วยต่อไป

การดูแลตนเองหลังผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม 

หลังเข้ารับการผ่าตัดเข่าเสื่อมจะต้องดูแลตนเองตามข้อปฏิบัติตนตามที่แพทย์แนะนำดังต่อไปนี้

  • ใช้หมอนหนุนเข่าให้สูงเพื่อลดอาการปวดบวมจากเลือดคั่ง 
  • พยายามกระดกปลายเท้าขึ้นลงเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด
  • สามารถประคบเย็นเพื่อลดอาการบวมได้บ่อยตามต้องการ
  • ทำการฟื้นฟูการเคลื่อนไหว และการใช้งาน โดยในช่วงแรกอาจจะมีนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์ แนะนำวิธีการบริหารกล้ามเนื้อและการฝึกลงน้ำหนักข้อเข่า และเริ่มฝึกเดินด้วยเครื่องช่วย พยุงเดิน (Walker) และสอนวิธีกายภาพบำบัดด้วยตนเองที่บ้าน
  • หากผู้ป่วยสามารถเดินด้วยเครื่องช่วยพยุงเดินได้คล่องและมั่นคงแล้ว ก็สามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้ตามดุลยพินิจของแพทย์

ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม 

ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน ทำให้การผ่าตัดเข่าเสื่อมด้วยการใส่ข้อเข่าเทียมมีความปลอดภัย มากขึ้น อย่างไรก็ตามทุกการผ่าตัดย่อมมีความเสี่ยง ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัดมีดังนี้

  • การติดเชื้อ 
  • ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
  • การบาดเจ็บต่อเส้นเลือด เส้นประสาทที่สำคัญ
  • ข้อยึด หรือข้อไม่มั่นคง หลังผ่าตัด
  • การเกิดความเจ็บปวดหลังผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงคือการติดเชื้อ พบน้อยมาก ซึ่งตามรายงานทั่วโลก โดยรวมพบไม่เกิน 2% ของผู้ป่วยที่ผ่าตัด ส่วนที่พบบ่อยกว่าคือการอุดตันของเส้นเลือดดำ จากการเคลื่อนไหวน้อยหลังผ่าตัด ทั้งนี้ปัจจุบันการดูแลก่อนและหลังผ่าตัดตามมาตรฐานของโรงพยาบาล สามารถลดอุบัติการณ์ดังกล่าวได้เป็นอย่างมาก ในเรื่องการเกิดข้อยึดหรือไม่มั่นคง พบได้น้อย และอาจลดลงได้โดยการใช้คอมพิวเตอร์นำร่อง หรือการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

ผ่าตัดเข่าเสื่อม เพิ่มความคล่องตัวให้กับชีวิต ที่ศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า

โรคข้อเข่าเสื่อมจะไม่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตอีกต่อไปด้วยการผ่าตัดเข่าเสื่อม ใส่ข้อเข่าเทียม ที่สามารถแก้ปัญหาของโรคข้อเข่าเสื่อม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง ที่ศูนย์รักษ์ข้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า เราให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย ให้บริการผ่าตัดเข่าเสื่อม ใส่ข้อเข่าเทียมด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง พร้อมให้การดูแลตลอดการรักษาตั้งแต่เริ่มต้นจนผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  • Facebook : Praram 9 hospital
  • Line : @Praram9Hospital
  • โทร. 1270

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัดเข่าเสื่อม

ผ่าตัดเข่าเสื่อม ต้องพักฟื้นกี่วัน?

หลังผ่าตัดเข่าเสื่อม ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถลงน้ำหนักที่ข้อเข่าโดยใช้อุปกรณ์พยุงตัวภายใน 1 วัน ส่วนใหญ่จะเริ่มเดินช่วยเหลือตัวเองเข้าห้องน้ำได้ตั้งแต่แรก และจะค่อย ๆ ดีขึ้น จนสามารถกลับมาใช้งานข้อเข่าได้ดีขึ้นมากภายใน 3-6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพร่างกายก่อนผ่าตัดด้วยเช่นกัน

ข้อเข่าเทียม มีอายุการใช้งานนานแค่ไหน?

ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งานข้อเข่าหลังผ่าตัด โดยปกติแล้วข้อเข่าเทียมจะมีอายุการใช้งานประมาณ 15-20 ปี แต่หากหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียมมีการใช้งานหนักผิดปกติ หรือเกิดอุบัติเหตุ เกิดการติดเชื้อ ก็มีโอกาสที่อายุการใช้งานข้อเข่าเทียมจะสั้นลง

นอกจากนี้ ยังมีโอกาสต้องเข้ารับการผ่าตัดซ้ำจากการผ่าตัดที่คลาดเคลื่อน ทำให้เกิดมีความไม่มั่นคงของข้อ หรือมีข้อยึดหลังผ่าตัด ทั้งนี้โอกาสจะเกิดปัญหาดังกล่าวสามารถลดลงด้วยการใช้คอมพิวเตอร์นำร่อง หรือการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

References

Benjamin Ma, C. (2024, August 27). Knee joint replacement. MedlinePlus.https://medlineplus.gov/ency/article/002974.htm

Mayo Clinic Staff. (2024, November 15). Knee replacement. Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/knee-replacement/about/pac-20385276

Total Knee Replacement. (2024, February). OrthoInfo. https://orthoinfo.aaos.org/en/treatment/total-knee-replacement/

Chaiyakit, P. Hongku, N & Meknavin, S. (2009). A comparison of early clinical outcomes between computer assisted surgery and conventional technique in minimally invasive total knee arthroplasty. J Med Assoc Thai. 92-S6(S91-96). www.jmatonline.com/PDF/92-S6-PB-S91-S96.pdf

บทความล่าสุด

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร เลือกผ่าตัดแบบไหนให้เหมาะกับปัญหาข้อเข่าเสื่อม ของเรา?

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากอะไร รู้จักสังเกตอาการก่อนเป็นอันตรายถึงชีวิต

อ่านเพิ่มเติม
เลือดออกในสมอง

เข้าใจภาวะเลือดออกในสมอง วิกฤติสุขภาพที่อาจร้ายแรงถึงชีวิต

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

1200-กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร เลือกผ่าตัดแบบไหนให้เหมาะกับปัญหาข้อเข่าเสื่อม ของเรา?

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ? สามารถแบ่งการผ่าตัดข้อเข่าเทียมออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือผ่าตัดใส่ผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน และการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมทั้งหมด

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากอะไร รู้จักสังเกตอาการก่อนเป็นอันตรายถึงชีวิต

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) คือภาวะที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังเกิดการอักเสบบวมจนก่อให้เกิดอาการผิดปกติ ซึ่งสาเหตุมีทั้งจากการติดเชื้อและไม่ใช่จากการติดเชื้อ

อ่านเพิ่มเติม
เลือดออกในสมอง

เข้าใจภาวะเลือดออกในสมอง วิกฤติสุขภาพที่อาจร้ายแรงถึงชีวิต

เลือดออกในสมอง (Intracerebral Hemorrhage) คือภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้เลือดไหลไปกดทับเนื้อเยื่อสมอง และเป็นสาเหตุของความพิการหรือเสียชีวิตในที่สุด

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา