Knowledge
Solve doubts, increase knowledge to take care of the health of yourself and your family

ทำความรู้จักต่อมลูกหมาก
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธุ์เพศชาย ลักษณะคล้ายลูกเกาลัด ขนาดกว้าง 3 ซม. ยาว 4 ซม. หนา 2 ซม. มีหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิ ทำให้ตัวอสุจิมีความแข็งแรง ต่อมลูกหมากอยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้นตอนเริ่มออกจาก กระเพาะปัสสาวะ ดังนั้นเมื่อเกิดโรคที่ต่อมลูกหมากจึงมักมีอาการผิดปกติ ของการปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่ โรคของต่อมลูกหมากที่พบได้บ่อย 1. โรคต่อมลูกหมากโต (80 %) เกิดจากเซลล์ต่อมลูกหมากมีการเจริญเพิ่ม ทั้งขนาดและจำนวน พบได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป และพบมากขึ้นตามอายุ โดยอายุ 50 – 60
การส่องกล้องขูดต่อมลูกหมากด้วยแสงเลเซอร์ (Transurethra LASER Vaporesection Prostatectomy)
โรคต่อมลูกหมากโต เป็นโรคของต่อมลูกหมากที่พบได้มากที่สุด โดยพบได้ตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป แต่มักมีอาการปรากฏหลังอายุ 50 ปีไปแล้ว ในรายที่มีอากรน้อยก็ให้การรักษาทางยา ในรายที่มีอาการมากหรือมีโรคแทรกซ้อนจากต่อมลูกมากที่โตเช่น ปัสสาวะไม่ออก, ทางเดินปัสสาวะอักเสบเป็นซ้ำ, ปัสสาวะเป็นเลือด, นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือไตเสียการทำงาน เหล่านี้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดรักษาโรคต่อมลูกหมากโตโดยการส่องกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะแล้วใช้ลวดไฟฟ้าเข้าไปขูดเนื้อต่อมลูกหมากที่อุดกั้นออก เป็นวิธีที่ใช้กันมานานหลายสิบปีแต่ก็ยังคงเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ ปัจจุบันได้มีการพัฒนานำแสงเลเซอร์มาใช้ในการผ่าตัดต่อมลูกหมาก ทำให้การส่องกล้องขูดต่อมลูกหมากสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยขึ้น ขั้นตอนการส่องกล้องขูดต่อมลูกหมากด้วยแสงเลเซอร์ 1. ตรวจสภาพร่างกายทั่วไป โดยเฉพาะการทำงานของหัวใจและปอด 2. ผู้ป่วยเตรียมตัวเหมือนการผ่าตัดทั่วไปคืองดน้ำงดอาหาร 6 ชั่วโมง,สวนอุจจาระ,ทำความสะอาดผิวหนัง, ผู้ป่วยที่รับประทานยาต้านเกร็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือดต้องหยุดยาอย่างน้อย 1

การฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูกหรือการผสมเทียมคืออะไรและทำอย่างไร
การผสมเทียม (IUI = IntraUterine Insemination) เป็นการฉีดเชื้ออสุจิที่ผ่านกระบวนการทางห้องปฏิบัติการเพื่อล้างแบคทีเรียและสารต่างๆ ออก คัดเอาแต่เชื้อที่แข็งแรงฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกโดยเลียนแบบธรรมชาติ วิธีนี้เหมาะสำหรับฝ่ายหญิงที่มีท่อนำไข่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง น้ำเชื้อปกติหรืออ่อนเล็กน้อย อัตราความสำเร็จประมาณร้อยละ 5-10 ต่อรอบการรักษา ซึ่งอาจจะดูว่าโอกาสสำเร็จค่อนข้างต่ำ แต่ก็ยังสูงกว่าไม่รักษาเลยซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3 วิธีการนี้เป็นการรักษาที่ง่าย สะดวก ไม่สิ้นเปลือง ภาวะแทรกซ้อนต่ำ จึงมักเป็น วิธีการทำให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าขึ้นขาหยั่งเหมือนกับการตรวจภายในทั่วๆ ไป แพทย์จะใส่เครื่องมือขยายช่องคลอดแล้วทำความสะอาดภายในช่องคลอดและปากมดลูก และจะโดยใช้ท่อเล็กๆ ดูดเอาเชื้ออสุจิที่ผ่านการเตรียมเรียบร้อยแล้ว สอดผ่านปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูก หลังจากนั้นก็จะฉีดอสุจิเข้าไป ภายหลังการฉีดก็จะให้นอนพักผ่อนประมาณ 10-15 นาที
ภาวะมีบุตรยากป้องกันได้หรือไม่
ภาวะมีบุตรยากป้องกันได้หรือไม่??? คู่สมรสส่วนใหญ่จะมาปรึกษาแพทย์ด้วยเรื่องมีบุตรยาก บางคนต้องรักษาด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ซึ่งจะเสียค่าใช้จ่ายในการรักษา เสียเวลา เกิดความเครียดระหว่างการรักษา แล้วภาวะมีบุตรยากสามารถป้องกันได้หรือไม่ คำตอบ คือได้ หลักโดยทั่วไปคือ การดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ นอนหลับให้เพียงพอ อย่าเครียด งดการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หลีกเลี่ยงการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ แต่งงานและรีบมีบุตรโดยเร็ว โดยเฉพาะอายุฝ่ายหญิงที่เกิน 35 ปี ทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก นพ. ศุภชัย สมิทธิเมธินทร์ พญ. พิชชา ปิ่นจันทร์ นพ. กฤตยะ กฤตย์ประชา

หากอสุจิมีความผิดปกติควรทำอย่างไร
หากอสุจิมีความผิดปกติควรทำอย่างไร ??? โดยปกติการตรวจน้ำอสุจิมักมีความแปรปรวนตามช่วงเวลา ฤดูกาล ดังนั้นถ้ามีความผิดปกติให้ตรวจซ้ำภายใน 1 เดือน ถ้ายังผิดปกติอยู่ก็ต้องหาสาเหตุโดยการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ รวมไปถึงการเจาะเลือดเพื่อหาระดับฮอร์โมนว่าผิดปกติมากน้อยเพียงใด ทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก นพ. ศุภชัย สมิทธิเมธินทร์ พญ. พิชชา ปิ่นจันทร์ นพ. กฤตยะ กฤตย์ประชา

การเก็บอสุจิทำอย่างไร
การเก็บอสุจิทำอย่างไร ??? ให้งดเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 3-7 วัน การงดเพศสัมพันธ์ไม่นานพอจะทำให้อสุจิมีปริมาณน้อย ส่วนการงดเพศสัมพันธ์นานจนเกินไปจะให้จำนวนตัวอสุจิผิดปกติมากขึ้น ซึ่งจะแปลผลยาก วิธีการเก็บให้เก็บในภาชนะที่สะอาด เก็บอสุจิด้วยตนเอง (masturbation) ห้ามใช้วิธีการร่วมเพศหรือเก็บโดยใช้ถุงยางหรือสารหล่อลื่นใดๆ หลังจากนั้นก็จะนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ต่อไป
อายุของคู่สมรสมีส่วนสำคัญหรือไม่ต่อการมีบุตร
ฝ่ายหญิง อายุมีส่วนสำคัญมากต่อการมีบุตร โดยอายุ 20-24 ปี เป็นช่วงที่มีโอกาสสูงสุดในการเจริญพันธุ์ หลังจากนั้นจะลดลงเรื่อยๆเมื่ออายุเพิ่มขึ้น และจะเห็นชัดเมื่ออายุเกิน 35 ปี สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ ไข่มีคุณภาพไม่ดี ปริมาณไข่ลดน้อยลง ไข่มีความผิดปกติของโครโมโซม เป็นต้น นอกจากนี้ถึงแม้จะตั้งครรภ์ได้ก็จะมีความเสี่ยงต่อการแท้งสูง ปัจจุบันการศึกษาดีขึ้น คู่สมรสแต่งงานช้ากว่าเมื่อก่อน บางครั้งกว่าจะมาปรึกษาแพทย์ก็ดูเหมือนจะช้าเกินไป ดังนั้นฝ่ายหญิงที่มีอายุมากโดยเฉพาะอายุหลัง 35 ปีควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์โดยเร็ว ไม่ต้องรอให้เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยว่ามีบุตรยาก ฝ่ายชาย มีผลน้อยกว่าเมื่อเทียบกับฝ่ายหญิง ความสามารถในการมีบุตรจะลดลงเมื่ออายุเกิน 55 ปี อันเป็นผลจากการที่อสุจิมีปริมาณที่ลดลง รูปร่างและการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ทีมแพทย์ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก นพ.

นักกีฬาทีมฟุตบอลโอสถสภา เข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี
นายแพทย์ไพรัช เจาฑะเกษตริน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้การต้อนรับ นักกีฬาสโมสรฟุตบอลโอสถสภา เอ็ม – 150 สระบุรี ในโอกาสตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการฟาดแข้งในไทยพรีเมียร์ลีกนัดต่อไป ณ แผนกตรวจสุขภาพ โรงพยาบาลพระรามเก้า เมื่อวานนี้

รางวัลท็อปเทน เบสท์ เมดิคัล เซอร์วิส
นางกอบกาญจน์ สุริยสัตย์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มอบรางวัล ท็อปเทน เบสท์ เมดิคัล เซอร์วิส จากโครงการ The Best of Thailand Awards Voted by Chinese Tourists แก่ โรงพยาบาลพระรามเก้า ซึ่งเป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวชาวจีนลงคะแนนให้แก่สินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวของไทยที่ตนเอง ชื่นชอบ ผ่าน www.weibo.com สื่อออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก