
Category: Articles EN

ครบรอบ 22 ปี โรงพยาบาลพระรามเก้า
ในโอกาสครบรอบ 22 ปี โรงพยาบาลพระรามเก้าได้ทำพิธีบวงสรวงศาลพระพรหมประจำโรงพยาบาล เพื่อความเป็นศิริมงคล และจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์จำนวน 19 รูป โดยมี นายแพทย์เสถียร ภู่ประเสริฐ กรรมการผู้อำนวยการ และคณะผู้บริหาร คณะแพทย์ พยาบาล ตลอดถึงผู้ใช้บริการเข้าร่วมในพิธีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เมื่อเร็วๆ นี้
ขอเชิญร่วมปฏิบัติและฟังธรรม
ท่านสามารถลงทะเบียน Online ได้ที่หน้า Facebook ของโรงพยาบาลได้เลยค่ะ คลิกที่นี่ เพื่อลงทะเบียน Online
โรงพยาบาลพระรามเก้าร่วมบริจาคเงิน แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องในวันมหิดล
คณะแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลพระรามเก้าร่วมบริจาคเงิน แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศิริราช เนื่องในวันมหิดล เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและดำเนินตามรอยพระยุคลบาท แห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน ณ โรงพยาบาลพระรามเก้า
โรงพยาบาลพระรามเก้าร่วมใจ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล
โรงพยาบาลพระรามเก้า และกลุ่มบริษัทคู่สัญญา ร่วมจัดกิจกรรม อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล โดยการปล่อยลูกเต่าที่ได้รับการอนุบาลกลับคืนสู่ธรรมชาติ พร้อมมอบเงินสนับสนุนศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ณ กองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ เมื่อเร็วๆ นี้

โรงพยาบาลพระรามเก้า เปิดสำนักงานตัวแทน ณ. เมืองโมยา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มกราคม 2558 ณ.โรงแรม วิน ยูนิตี้ นพ.ไพรัช เจาฑะเกษตริน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลพระรามเก้า พร้อมคณะแพทย์ และทีมงาน ได้ร่วมในพิธีเปิดสำนักงานตัวแทนประจำเมืองโมยา รัฐสะกาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ อย่างเป็นทางการ โดยได้รับเกียรติจาก ท่านเมา เมา ลิง อธิบดีกรมอัยการ แห่งรัฐสะกาย ร่วมเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยแพทย์ – พยาบาลจากเมืองโมยา มาร่วมในพิธีอย่างอบอุ่น
โรงพยาบาลพระรามเก้า เข้าเยี่ยมคาระวะเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาชนลาว
คุณเจริญ นัดพบสุข รองกรรมการผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระรามเก้า พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ ท่านหลี บุญค้ำ เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรประจำ UNESCAP สาธารณรัฐประชาชนลาว ประจำประเทศไทย ณ ห้องรับรอง สถานเอกอัครราชทูตฯ วันก่อน
รู้เร็ว รักษาได้ ไม่ต้องตัดเต้านม
เรื่อง รู้เร็ว รักษาได้ ไม่ต้องตัดเต้านม ทุก 1 ใน 10 คนของผู้หญิงไทยถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม และเนื่องจากมะเร็งเต้านมไม่มีวัคซีนป้องกันเหมือนมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นการตรวจคัดกรองหามะเร็งให้พบตั้งแต่ระยะแรกจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อการรักษาที่ทันท่วงทีให้มีโอกาสหายและรอดชีวิตสูง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำให้คลำพบก้อนหรือการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ทำให้พบหินปูนหรือก้อนขนาดเล็กที่คลำไม่เจอ ซึ่งจะทำให้ตรวจเจอพบมะเร็งในระยะแรกได้ ผศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา ศัลยศาสตร์ตกแต่งเต้านม โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า มะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่มไม่มีอาการ และการตรวจร่างกายอาจไม่พบเนื่องจากรอยโรคเล็กมาก เปรียบเสมือน “มฤตยูเงียบ” การตรวจคัดกรองด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์จึงมีความสำคัญ การตรวจ “ดิจิตอลแมมโมแกรมควบคู่กับ อัลตร้าซาวด์เต้านม” การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรมเป็นเทคโนโลยีการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ คล้ายกับการตรวจเอกซเรย์ แต่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป 30-60% มีประสิทธิภาพในการตรวจหามะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เนื่องจากภาพที่ได้จากการตรวจมีความละเอียดสูง สามารถเห็นจุดหินปูนหรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติขนาดเล็ก ทำให้สามารถระบุตำแหน่งและค้นหาความผิดปกติของเต้านมได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมเป็นการตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในเนื้อเต้านม ซึ่งสามารถบอกความแตกต่างขององค์ประกอบเนื้อเยื่อได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อเต้านมปกติ เป็นถุงน้ำ หรือเป็นก้อนเนื้อ หากพบว่าเป็นก้อนเนื้อ อัลตร้าซาวด์จะช่วยบอกว่าก้อนเนื้อนั้นมีความเสี่ยงหรือความน่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ และช่วยเพิ่มความสามารในการตรวจพบความผิดปกติของเต้านมในผู้ป่วยที่มีเนื้อเต้านมหนาแน่นได้ แต่อย่างไรก็ตามอัลตร้าซาวด์จะไม่สามารถตรวจพบหินปูนได้ ดังนั้นการตรวจดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมควบคู่กันจะช่วยเพิ่มความแม่นยำและถูกต้องในการค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก นำไปสู่การวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อไป ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา ศัลยศาสตร์ตกแต่งเต้านม ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยให้การผ่าตัดเต้านมไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกหมดทุกราย หรือในบางรายที่จำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออกหมดก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้ทันทีด้วยการใช้เต้านมเทียม หรือการใช้เนื้อเยื่อของตัวผู้ป่วยเอง โดยเนื้อเยื่อที่นิยมใช้ ได้แก่ กล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหน้าท้อง กล้ามเนื้อและไขมันบริเวณหลัง ซึ่งการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง เป็นวิธีการที่ปลอดภัยมีผลแทรกซ้อนน้อย การรักษานี้ช่วยให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น เนื่องจากเต้านมที่สร้างขึ้นใหม่เหมือนเต้านมจริงทั้งด้านรูปร่างและลักษณะ การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ภายหลังตัดเต้านมออกทั้งเต้าสามารถทำในคราวเดียวกัน โดยใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดไม่เกิน 4-6 ชม. ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถลุกนั่งบนเตียงและลุกเดินได้ และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล 5-7 วัน ผู้ป่วยก็สามารถกลับบ้านได้

วัยรุ่น… เศร้าที่ต้องการคนเข้าใจ
วัยรุ่น…เศร้าที่ต้องการคนเข้าใจโดย นพ.ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล แพทย์เชี่ยวชาญด้าน Mind Center ปัจจุบันแทบจะพบว่า อาการเศร้า พบบ่อยกับทุกคน จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก พบว่า โรคซึมเศร้าส่งผลต่อความสูญเสียมาก และพบว่าคนในโลก 1 ใน 20 กำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ในวัยรุ่นพบโรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ 5 ซึ่งลำดับแรกต้องมาทำความรู้จักกับอารมณ์เศร้า และโรคซึมเศร้ากันก่อน ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจผิดและติดว่าสภาวะเศร้าที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นจัดการได้ เช่น การไปออกกำลังกายก็หาย ทำกิจกรรมอย่าไปคิดมาก เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็พอช่วยได้ แต่โรคซึมเศร้านั้น รุนแรงมากกว่านั้น ซึ่งควรให้ความสำคัญและทำความเข้าใจ จะได้สังเกตและช่วยเหลือวัยรุ่นที่เศร้าได้ อารมณ์เศร้า และโรคซึมเศร้า เป็นสิ่งที่หลายคนสับสน และแนะนำผู้ป่วยซึมเศร้าจนทำให้รู้สึกว่า ไม่เข้าใจฉันบ้างเลยที่ฉันเป็นโรคซึมเศร้า โดยอารมรณ์เศร้านั้น เป็นภาวะปกติของมนุษย์เกิดขึ้นได้และจัดการได้ เมื่อตัวกระตุ้นการเปลี่ยนไป เช่น การสูญเสีย ตกงาน สอบตก เป็นต้น ก็ทำให้เกิดอารมณ์เศร้าได้ หลายคนระยะเวลาก็เยียวยาได้ ทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะสามารถช่วยได้ แต่แตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างสิ้นเชิง ที่เป็นนานและรุนแรงมากกว่า ซึ่งเศร้ามากจนสารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลงไป มีความคิดที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง แสดงพฤติกรรมบางอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นผลจากโรคซึมเศร้า และเกิดอาการครอบคลุมจิตใจตลอดเวลา ซึ่งต้องได้รับความเข้าใจและบำบัดรักษา ในวัยรุ่น ซึ่งมีพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ และความคิด ที่กำลังเจริญเติบโต ซึ่งอาจทำให้หลายคนมองข้ามไป เพราะบางครั้งสิ่งที่หลายคนคิดว่า “เป็นวัยรุ่นก็เป็นแบบนี้แหละ” อาจไม่ใช่ความจริง เช่น หงุดหงิดง่าย เก็บตัว ไม่ค่อยกิน อาการเหล่านี้อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าก็ได้ โดยอาการโรคซึมเศร้าของวัยรุ่น ตามมาตรฐานการวินิจฉัยของ DSM-5(APA) และปรับปรุงให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้ อาการของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น(มีอารมณ์เศร้า หรือ หมดความสนใจทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเปลี่ยนไปจากเดิม ในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ติดต่อกันและมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน) 1.หงุดหงิดหรือเศร้า (มักจะบอกว่าเศร้า ว่างเปล่า)2.หมดความสนใจหรือความสุขใจในกิจกรรมต่างๆ3.น้ำหนักลดหรือเพิ่มมากเกินไป (ไม่ได้เกิดจากการคุมอาหาร)4.นอนไม่หลับ หรือ หลับมากเกินไป5.กระวนกระวาย เฉื่อยชา6.อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง7. รู้สึกไร้ค่า หรือ รู้สึกผิดมากเกินไป8.สมาธิลดลง9.คิดซ้ำๆ เกี่ยวกับความตาย อยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นส่วนใหญ่นั้น อารมณ์เศร้า มักจะมีเหตุการณ์มากระตุ้น ทำให้กรอบความคิดความเชื่อเดิมๆ มาส่งผลทำให้เกิดผลกระทบมากมายในชีวิต เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ บางคนแยกตัวจากสังคม ไม่ไปเรียน ไม่ไปทำงาน เป็นต้น สำหรับกรอบความคิดของคนที่เศร้าพบได้บ่อย คือ การคิดลบกับตัวเอง คิดลับกับคนอื่น คิดลบกับอนาคต ได้แก่ ฉันไม่เก่ง ฉันไร้ค่า ฉันล้มเหลว คนอื่นไม่รักฉัน คนอื่นมองฉันไม่ดี โลกนี้มีแต่ปัญหา อนาคตไม่มีแล้ว หมดหวังแล้ว ซึ่งในความคิดเหล่านี้หากมองด้วยความเป็นจริงมากขึ้นจะเห็นว่า มันไม่สมเหตุสมผลเลย ซึ่งเป็นข้อสรุปที่มีความจริงบางส่วนเท่านั้นเอง ซึ่งส่วนนี้ในการรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลตามหลักฐานวิจัย พบว่า การปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy : CBT) ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าดีขึ้น สาเหตุของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น1.สารเคมีในสมองผิดปกติ ซึ่งในโรคซึมเศร้าสารที่หลั่งผิดปกติ ได้แก่ Serotonin , Norepinephrine2.กรรมพันธุ์ ได้แก่ Serotonin Transporter Gene ส่งผลและพบว่าในครอบครัวที่มีผู้ป่วยจิตเวช มีความเสี่ยง ทำให้เกิดซึมเศร้าในครอบครัวได้3.การใช้สารเสพติดบางชนิด พบ ซุมเศร้าประมาณ 1 ใน 4 ได้แก่ แอลกอฮอล์ ยานอนหลับ ยาบ้า และกัญชา ซึ่งพบว่า สัมพันธ์กับระยะถอนยา ซึ่งเกิดหลังจากสมองขาดยา4.ความคิดเห็นและความเชื่อที่บิดเบือนไป ซึ่งเป็นไปในทางลบกับตัวเอง ผู้อื่นและอนาคต เช่น ไร้ค่า ไม่มีอนาคต หมดหวัง คิดว่าตัวเองแย่ที่สุด รู้สึก Fail เป็นต้น5.ความเครียดที่รุนแรง ต่อเนื่องยาวนาน หรือป่วยเรื้อรังยาวนาน ก็มีความเสี่ยงให้เกิดซึมเศร้าได้6.เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในวัยเด็กและฝังใจ เมื่อมีเหตุการณ์ปัจจุบันกระตุ้นก็ทำให้เกิดอาการเศร้าขึ้นมาได้ใหม่ วัยรุ่นสงสัยหรือเป็นโรคซึมเศร้า ทำอย่างไรดี 1.วัยรุ่นที่มีอาการไม่มาก การได้รับความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับโคซึมเศร้า ก็จะช่วยประคับประคองให้จัดการอารมณ์ได้2.ส่งเสริมการออกกำลังกายและกิจกรรมร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว แม้จะฝืนกับความอยาก แต่พบว่าจะไม่ทำให้อาการเศร้าแย่ลง บางคนเศร้าดีขึ้นด้วย3.ครอบครัวและโรงเรียน ทำความเข้าใจโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น เฝ้าระวังและสังเกตอาการให้คำแนะนำ ลดเหตุการกระตุ้นให้เศร้า4.หากโรคซึมเศร้าเป็นมากขึ้นควรพบแพทย์ หรือจิตแพทย์เพื่อช่วยประเมินและรักษาบำบัด5.การรักษาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นปัจจุบัน นอกจากการใช้ยาแล้ว การทำจิตบำบัดที่ได้ผลตามหลักฐานงานวิจัยทั่วโลก ได้แก่ Cognitive Behavior Therapy (CBT) และ Interpersonal Therapy (IPT)6.หากโรคซึมเศร้าหนักมาก ทำร้ายตัวเองหรือเสี่ยงต่อผู้อื่น จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยรับไว้ในโรงพยาบาล

รู้จักโรคภูมิแพ้ ก่อนโรคร้ายจะรู้จักคุณ
โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคร้ายแรง เพราะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้บรรเทาลงจนคุณรู้สึกดีขึ้นเหมือนเป็นปกติได้ หากได้รับการรักษาและมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง โรคภูมิแพ้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล และโรคภูมิแพ้ชนิดตลอดปี อาการที่มักพบอยู่เสมอในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ได้แก่ จาม คัดจมูก ตา หู และลำคอ มีน้ำมูกใสๆ ไหลออกมาบ่อยๆ รู้สึกคัดจมูก ตาแดง และมีน้ำตาไหล นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดศีรษะ หรือปวดบริเวณคาง และหน้าผากร่วมด้วย หากคุณมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และกำหนดวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ที่เหมาะที่สุด เพราะหากปล่อยไว้เรื้อรังอาจกลายเป็นโรคไซนัส และโพรงหลังจมูกอักเสบได้ โรคภูมิแพ้เกิดจากอะไร โรคภูมิแพ้เกิดจากการที่เราหายใจเอาสารบางอย่างที่เรียกว่า “สารแพ้” เข้าไปในร่างกาย ซึ่งสารแพ้ที่สำคัญ ได้แก่ – เกสรดอกไม้ เกล็ดเล็กๆ ของเกสรดอกไม้ที่ปลิวมาตามลม คือสาเหตุสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้เราป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ชนิดเป็นไปตามฤดูกาล- ฝุ่นในบ้าน ฝุ่นที่เกาะอยู่ตามที่ต่างๆ ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบนชั้นหนังสือ ผ้าม่าน ที่นอน หมอน หรือล่องลอยอยู่ทั่วไปในอากาศ จะมีแมลงตัวเล็กมาก เรียกว่า ไรฝุ่น (Dust Mite) เกาะอยู่ และไรฝุ่นนี่เอง คือเจ้าตัวร้ายในบ้าน ที่ทำให้เราป่วยเป็นโรคภูมิแพ้- เชื้อรา เชื้อรามักอยู่ในที่มืดและชื้น เช่น ในห้องน้ำ ใต้ถุนบ้าน ในตู้เย็น ในดินที่ปลูกต้นไม้ เชื้อราขยายพันธุ์โดยการกระจายเกล็ดเล็กๆ ไปในอากาศ เรียกว่า “สปอร์” ถ้าเราสูดหายใจเอาสปอร์เข้าไปก็อาจทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ได้- สัตว์ สัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข นก ม้า และกระต่าย ก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคภูมิแพ้เช่นกัน โดยรังแค น้ำลาย และปัสสาวะของสัตว์ รวมทั้งขนนก ล้วนทำให้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ได้ทั้งสิ้น- มลพิษและสารระคายเคือง เช่น ควันธูป ควันบุหรี่ น้ำหอม สเปรย์ปรับอากาศ ควันไฟจากเตาถ่านและเตาผิง ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ และสารที่มีกลิ่นแรงๆ สามารถทำให้เกิดการระคายต่อจมูก และทำให้อาการโรคภูมิแพ้แย่ลง- แมลงสาบ ถ้าบ้านคุณมีแมลงสาบในห้องครัว ท่อระบายน้ำ ตู้กับข้าว ถังขยะ ฝุ่นที่เกิดจากซากหรือชิ้นส่วนของแมลงสาบเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ทางจมูกและโรคหอบหืด โดยเฉพาะในเด็ก สารแพ้สร้างปัญหาให้คุณได้อย่างไร ปกติแล้วสารแพ้เป็นสารที่ไม่มีพิษภัยต่อร่างกายของเรา แต่เมื่อคุณเป็นโรคภูมิแพ้ ร่างกายของคุณจะเข้าใจว่า สารแพ้เป็นสิ่งแปลกปลอมที่จำเป็นต้องทำลาย ดังนั้น เมื่อคุณหายใจเอาสารแพ้เข้าไป ร่างกายของคุณก็จะโจมตีสารแพ้เหล่านี้ และจะทำให้ช่องทางเดินอากาศภายในจมูกของคุณเกิดอาการบวมและอักเสบ ซึ่งทำให้คุณเกิดอาการทางจมูก เช่น คัดจมูก คัน มีน้ำมูกไหล สารแพ้ยังสามารถทำให้เกิดอาการผิดปกติในส่วนอื่นของร่างกายคุณได้ เช่น ตา หู และปอด ปฏิกิริยาภูมิแพ้ เมื่อคุณหายใจเอาสารแพ้เข้าไป มันจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติของร่างกายที่เรียกว่า ภูมิแพ้ ซึ่งจะหลั่งสารเคมีชื่อ “ฮีสตามีน” (Histamine) ออกมา ซึ่งเจ้าฮีสตามีนนี้เองที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อของจมูก ช่องจมูกเมื่อคุณเป็นโรคภูมิแพ้ – เยื่อบุโพรงจมูกบวม ทำให้มีน้ำขังจนเกิดอาการปวด รวมทั้งปวดศีรษะได้- จมูกสร้างน้ำมูกมากขึ้น ทำให้ช่องจมูกอุดตัน และมีน้ำมูกไหลออกจากจมูก- น้ำมูกไหลลงไปในช่องคอ (Postnasal Drip) ทำให้แสบระคายคอ และไอ โรคแทรกซ้อนจากการเป็นภูมิแพ้เรื้อรัง อาจมีปัญหาอื่นที่เกิดเป็นผลตามมาจากการระคายเคืองและการอักเสบ ซึ่งเกิดจากภูมิแพ้ หากคุณมีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา 1. การติดเชื้อของโพรงไซนัส (Sinusitis) น้ำมูกที่ขังเป็นเวลานานในโพรงไซนัส จะมีการติดเชื้อแบคทีเรียขึ้นได้ โดยมีอาการน้ำมูกหรือเสมหะลงคอที่ข้นเหนียวสีเหลือง – เขียว ถ้าเป็นบ่อยๆ จะกลายเป็นโรคไซนัสเรื้อรังได้ 2. ตาอักเสบ สารแพ้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) มีอาการตาแดง คัน บวม และมีน้ำตาไหล 3. ติ่งเนื้อในโพรงจมูก (Nasal Polyp) เยื่อบุโพรงจมูกอาจบวมมากจนกลายเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ เรียกว่า Polyp ซึ่งอาจบวมโตมากจนอุดตันช่องจมูกได้ 4. ปัญหาของหู หูชั้นกลางกับช่องจมูกมีท่ออากาศเชื่อมต่อกัน ถ้าปฏิกิริยาภูมิแพ้ทำให้ท่อนี้เกิดการอุดตัน อากาศที่ถูกกักไว้ภายในจะทำให้รู้สึกหูอื้อได้ และอาจมีมูกขังภายใน จนเกิดการติดเชื้อและเกิดหูชั้นกลางอักเสบได้ 5. โรคหืด หากคุณเป็นโรคหืด การระคายเคืองและการบวมของทางเดินอากาศที่เข้าสู่ปอดจะทำให้คุณหายใจลำบาก ซึ่งสาเหตุของการระคายเคืองและบวมนี้ บ่อยครั้งพบว่าปฏิกิริยาภูมิแพ้ของจมูกนี้จะกระตุ้นให้โรคหืดกำเริบได้

ครบรอบ 22 ปี โรงพยาบาลพระรามเก้า
ในโอกาสครบรอบ 22 ปี โรงพยาบาลพระรามเก้าได้ทำพิธีบวงสรวงศาลพระพรหมประจำโรงพยาบาล เพื่อความเป็นศิริมงคล และจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์จำนวน 19 รูป โดยมี นายแพทย์เสถียร ภู่ประเสริฐ กรรมการผู้อำนวยการ และคณะผู้บริหาร คณะแพทย์ พยาบาล ตลอดถึงผู้ใช้บริการเข้าร่วมในพิธีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เมื่อเร็วๆ นี้
ขอเชิญร่วมปฏิบัติและฟังธรรม
ท่านสามารถลงทะเบียน Online ได้ที่หน้า Facebook ของโรงพยาบาลได้เลยค่ะ คลิกที่นี่ เพื่อลงทะเบียน Online
โรงพยาบาลพระรามเก้าร่วมบริจาคเงิน แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องในวันมหิดล
คณะแพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลพระรามเก้าร่วมบริจาคเงิน แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศิริราช เนื่องในวันมหิดล เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและดำเนินตามรอยพระยุคลบาท แห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน ณ โรงพยาบาลพระรามเก้า
โรงพยาบาลพระรามเก้าร่วมใจ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล
โรงพยาบาลพระรามเก้า และกลุ่มบริษัทคู่สัญญา ร่วมจัดกิจกรรม อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล โดยการปล่อยลูกเต่าที่ได้รับการอนุบาลกลับคืนสู่ธรรมชาติ พร้อมมอบเงินสนับสนุนศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล ณ กองทัพเรือ อำเภอสัตหีบ เมื่อเร็วๆ นี้

โรงพยาบาลพระรามเก้า เปิดสำนักงานตัวแทน ณ. เมืองโมยา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มกราคม 2558 ณ.โรงแรม วิน ยูนิตี้ นพ.ไพรัช เจาฑะเกษตริน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลพระรามเก้า พร้อมคณะแพทย์ และทีมงาน ได้ร่วมในพิธีเปิดสำนักงานตัวแทนประจำเมืองโมยา รัฐสะกาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ อย่างเป็นทางการ โดยได้รับเกียรติจาก ท่านเมา เมา ลิง อธิบดีกรมอัยการ แห่งรัฐสะกาย ร่วมเป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยแพทย์ – พยาบาลจากเมืองโมยา มาร่วมในพิธีอย่างอบอุ่น
โรงพยาบาลพระรามเก้า เข้าเยี่ยมคาระวะเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาชนลาว
คุณเจริญ นัดพบสุข รองกรรมการผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระรามเก้า พร้อมคณะ เข้าเยี่ยมคารวะ ท่านหลี บุญค้ำ เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรประจำ UNESCAP สาธารณรัฐประชาชนลาว ประจำประเทศไทย ณ ห้องรับรอง สถานเอกอัครราชทูตฯ วันก่อน
รู้เร็ว รักษาได้ ไม่ต้องตัดเต้านม
เรื่อง รู้เร็ว รักษาได้ ไม่ต้องตัดเต้านม ทุก 1 ใน 10 คนของผู้หญิงไทยถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม และเนื่องจากมะเร็งเต้านมไม่มีวัคซีนป้องกันเหมือนมะเร็งปากมดลูก ดังนั้นการตรวจคัดกรองหามะเร็งให้พบตั้งแต่ระยะแรกจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อการรักษาที่ทันท่วงทีให้มีโอกาสหายและรอดชีวิตสูง การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำให้คลำพบก้อนหรือการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยการทำแมมโมแกรมและอัลตราซาวน์ทำให้พบหินปูนหรือก้อนขนาดเล็กที่คลำไม่เจอ ซึ่งจะทำให้ตรวจเจอพบมะเร็งในระยะแรกได้ ผศ.นพ.ประกาศิต จิรัปปภา ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา ศัลยศาสตร์ตกแต่งเต้านม โรงพยาบาลพระรามเก้า ให้ข้อมูลว่า มะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่มไม่มีอาการ และการตรวจร่างกายอาจไม่พบเนื่องจากรอยโรคเล็กมาก เปรียบเสมือน “มฤตยูเงียบ” การตรวจคัดกรองด้วยเครื่องดิจิทัลแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์จึงมีความสำคัญ การตรวจ “ดิจิตอลแมมโมแกรมควบคู่กับ อัลตร้าซาวด์เต้านม” การตรวจดิจิตอลแมมโมแกรมเป็นเทคโนโลยีการตรวจทางรังสีชนิดพิเศษ คล้ายกับการตรวจเอกซเรย์ แต่ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าเครื่องเอกซเรย์ทั่วไป 30-60% มีประสิทธิภาพในการตรวจหามะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เนื่องจากภาพที่ได้จากการตรวจมีความละเอียดสูง สามารถเห็นจุดหินปูนหรือเนื้อเยื่อที่ผิดปกติขนาดเล็ก ทำให้สามารถระบุตำแหน่งและค้นหาความผิดปกติของเต้านมได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมเป็นการตรวจโดยการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปในเนื้อเต้านม ซึ่งสามารถบอกความแตกต่างขององค์ประกอบเนื้อเยื่อได้ว่าเป็นเนื้อเยื่อเต้านมปกติ เป็นถุงน้ำ หรือเป็นก้อนเนื้อ หากพบว่าเป็นก้อนเนื้อ อัลตร้าซาวด์จะช่วยบอกว่าก้อนเนื้อนั้นมีความเสี่ยงหรือความน่าจะเป็นมะเร็งหรือไม่ และช่วยเพิ่มความสามารในการตรวจพบความผิดปกติของเต้านมในผู้ป่วยที่มีเนื้อเต้านมหนาแน่นได้ แต่อย่างไรก็ตามอัลตร้าซาวด์จะไม่สามารถตรวจพบหินปูนได้ ดังนั้นการตรวจดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมควบคู่กันจะช่วยเพิ่มความแม่นยำและถูกต้องในการค้นหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรก นำไปสู่การวางแผนการรักษาที่มีประสิทธิภาพต่อไป ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา ศัลยศาสตร์ตกแต่งเต้านม ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีช่วยให้การผ่าตัดเต้านมไม่จำเป็นต้องตัดเต้านมออกหมดทุกราย หรือในบางรายที่จำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออกหมดก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้ทันทีด้วยการใช้เต้านมเทียม หรือการใช้เนื้อเยื่อของตัวผู้ป่วยเอง โดยเนื้อเยื่อที่นิยมใช้ ได้แก่ กล้ามเนื้อและชั้นไขมันบริเวณหน้าท้อง กล้ามเนื้อและไขมันบริเวณหลัง ซึ่งการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหลังทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าการใช้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง เป็นวิธีการที่ปลอดภัยมีผลแทรกซ้อนน้อย การรักษานี้ช่วยให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจมากขึ้น เนื่องจากเต้านมที่สร้างขึ้นใหม่เหมือนเต้านมจริงทั้งด้านรูปร่างและลักษณะ การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ภายหลังตัดเต้านมออกทั้งเต้าสามารถทำในคราวเดียวกัน โดยใช้ระยะเวลาในการผ่าตัดไม่เกิน 4-6 ชม. ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถลุกนั่งบนเตียงและลุกเดินได้ และใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาล 5-7 วัน ผู้ป่วยก็สามารถกลับบ้านได้

วัยรุ่น… เศร้าที่ต้องการคนเข้าใจ
วัยรุ่น…เศร้าที่ต้องการคนเข้าใจโดย นพ.ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล แพทย์เชี่ยวชาญด้าน Mind Center ปัจจุบันแทบจะพบว่า อาการเศร้า พบบ่อยกับทุกคน จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก พบว่า โรคซึมเศร้าส่งผลต่อความสูญเสียมาก และพบว่าคนในโลก 1 ใน 20 กำลังเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ในวัยรุ่นพบโรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ 5 ซึ่งลำดับแรกต้องมาทำความรู้จักกับอารมณ์เศร้า และโรคซึมเศร้ากันก่อน ซึ่งหลายคนอาจจะเข้าใจผิดและติดว่าสภาวะเศร้าที่เกิดขึ้นกับตัวเองนั้นจัดการได้ เช่น การไปออกกำลังกายก็หาย ทำกิจกรรมอย่าไปคิดมาก เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็พอช่วยได้ แต่โรคซึมเศร้านั้น รุนแรงมากกว่านั้น ซึ่งควรให้ความสำคัญและทำความเข้าใจ จะได้สังเกตและช่วยเหลือวัยรุ่นที่เศร้าได้ อารมณ์เศร้า และโรคซึมเศร้า เป็นสิ่งที่หลายคนสับสน และแนะนำผู้ป่วยซึมเศร้าจนทำให้รู้สึกว่า ไม่เข้าใจฉันบ้างเลยที่ฉันเป็นโรคซึมเศร้า โดยอารมรณ์เศร้านั้น เป็นภาวะปกติของมนุษย์เกิดขึ้นได้และจัดการได้ เมื่อตัวกระตุ้นการเปลี่ยนไป เช่น การสูญเสีย ตกงาน สอบตก เป็นต้น ก็ทำให้เกิดอารมณ์เศร้าได้ หลายคนระยะเวลาก็เยียวยาได้ ทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะสามารถช่วยได้ แต่แตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างสิ้นเชิง ที่เป็นนานและรุนแรงมากกว่า ซึ่งเศร้ามากจนสารเคมีในสมองเปลี่ยนแปลงไป มีความคิดที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริง แสดงพฤติกรรมบางอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นผลจากโรคซึมเศร้า และเกิดอาการครอบคลุมจิตใจตลอดเวลา ซึ่งต้องได้รับความเข้าใจและบำบัดรักษา ในวัยรุ่น ซึ่งมีพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ และความคิด ที่กำลังเจริญเติบโต ซึ่งอาจทำให้หลายคนมองข้ามไป เพราะบางครั้งสิ่งที่หลายคนคิดว่า “เป็นวัยรุ่นก็เป็นแบบนี้แหละ” อาจไม่ใช่ความจริง เช่น หงุดหงิดง่าย เก็บตัว ไม่ค่อยกิน อาการเหล่านี้อาจจะเป็นโรคซึมเศร้าก็ได้ โดยอาการโรคซึมเศร้าของวัยรุ่น ตามมาตรฐานการวินิจฉัยของ DSM-5(APA) และปรับปรุงให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้ อาการของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น(มีอารมณ์เศร้า หรือ หมดความสนใจทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเปลี่ยนไปจากเดิม ในช่วงเวลา 2 สัปดาห์ติดต่อกันและมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน) 1.หงุดหงิดหรือเศร้า (มักจะบอกว่าเศร้า ว่างเปล่า)2.หมดความสนใจหรือความสุขใจในกิจกรรมต่างๆ3.น้ำหนักลดหรือเพิ่มมากเกินไป (ไม่ได้เกิดจากการคุมอาหาร)4.นอนไม่หลับ หรือ หลับมากเกินไป5.กระวนกระวาย เฉื่อยชา6.อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง7. รู้สึกไร้ค่า หรือ รู้สึกผิดมากเกินไป8.สมาธิลดลง9.คิดซ้ำๆ เกี่ยวกับความตาย อยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย โรคซึมเศร้าในวัยรุ่นส่วนใหญ่นั้น อารมณ์เศร้า มักจะมีเหตุการณ์มากระตุ้น ทำให้กรอบความคิดความเชื่อเดิมๆ มาส่งผลทำให้เกิดผลกระทบมากมายในชีวิต เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ บางคนแยกตัวจากสังคม ไม่ไปเรียน ไม่ไปทำงาน เป็นต้น สำหรับกรอบความคิดของคนที่เศร้าพบได้บ่อย คือ การคิดลบกับตัวเอง คิดลับกับคนอื่น คิดลบกับอนาคต ได้แก่ ฉันไม่เก่ง ฉันไร้ค่า ฉันล้มเหลว คนอื่นไม่รักฉัน คนอื่นมองฉันไม่ดี โลกนี้มีแต่ปัญหา อนาคตไม่มีแล้ว หมดหวังแล้ว ซึ่งในความคิดเหล่านี้หากมองด้วยความเป็นจริงมากขึ้นจะเห็นว่า มันไม่สมเหตุสมผลเลย ซึ่งเป็นข้อสรุปที่มีความจริงบางส่วนเท่านั้นเอง ซึ่งส่วนนี้ในการรักษาซึมเศร้าที่ได้ผลตามหลักฐานวิจัย พบว่า การปรับความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy : CBT) ทำให้ผู้ป่วยซึมเศร้าดีขึ้น สาเหตุของโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น1.สารเคมีในสมองผิดปกติ ซึ่งในโรคซึมเศร้าสารที่หลั่งผิดปกติ ได้แก่ Serotonin , Norepinephrine2.กรรมพันธุ์ ได้แก่ Serotonin Transporter Gene ส่งผลและพบว่าในครอบครัวที่มีผู้ป่วยจิตเวช มีความเสี่ยง ทำให้เกิดซึมเศร้าในครอบครัวได้3.การใช้สารเสพติดบางชนิด พบ ซุมเศร้าประมาณ 1 ใน 4 ได้แก่ แอลกอฮอล์ ยานอนหลับ ยาบ้า และกัญชา ซึ่งพบว่า สัมพันธ์กับระยะถอนยา ซึ่งเกิดหลังจากสมองขาดยา4.ความคิดเห็นและความเชื่อที่บิดเบือนไป ซึ่งเป็นไปในทางลบกับตัวเอง ผู้อื่นและอนาคต เช่น ไร้ค่า ไม่มีอนาคต หมดหวัง คิดว่าตัวเองแย่ที่สุด รู้สึก Fail เป็นต้น5.ความเครียดที่รุนแรง ต่อเนื่องยาวนาน หรือป่วยเรื้อรังยาวนาน ก็มีความเสี่ยงให้เกิดซึมเศร้าได้6.เหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นในวัยเด็กและฝังใจ เมื่อมีเหตุการณ์ปัจจุบันกระตุ้นก็ทำให้เกิดอาการเศร้าขึ้นมาได้ใหม่ วัยรุ่นสงสัยหรือเป็นโรคซึมเศร้า ทำอย่างไรดี 1.วัยรุ่นที่มีอาการไม่มาก การได้รับความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับโคซึมเศร้า ก็จะช่วยประคับประคองให้จัดการอารมณ์ได้2.ส่งเสริมการออกกำลังกายและกิจกรรมร่วมกับเพื่อนหรือครอบครัว แม้จะฝืนกับความอยาก แต่พบว่าจะไม่ทำให้อาการเศร้าแย่ลง บางคนเศร้าดีขึ้นด้วย3.ครอบครัวและโรงเรียน ทำความเข้าใจโรคซึมเศร้าในวัยรุ่น เฝ้าระวังและสังเกตอาการให้คำแนะนำ ลดเหตุการกระตุ้นให้เศร้า4.หากโรคซึมเศร้าเป็นมากขึ้นควรพบแพทย์ หรือจิตแพทย์เพื่อช่วยประเมินและรักษาบำบัด5.การรักษาโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นปัจจุบัน นอกจากการใช้ยาแล้ว การทำจิตบำบัดที่ได้ผลตามหลักฐานงานวิจัยทั่วโลก ได้แก่ Cognitive Behavior Therapy (CBT) และ Interpersonal Therapy (IPT)6.หากโรคซึมเศร้าหนักมาก ทำร้ายตัวเองหรือเสี่ยงต่อผู้อื่น จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยรับไว้ในโรงพยาบาล

รู้จักโรคภูมิแพ้ ก่อนโรคร้ายจะรู้จักคุณ
โรคภูมิแพ้ไม่ใช่โรคร้ายแรง เพราะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้บรรเทาลงจนคุณรู้สึกดีขึ้นเหมือนเป็นปกติได้ หากได้รับการรักษาและมีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง โรคภูมิแพ้ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล และโรคภูมิแพ้ชนิดตลอดปี อาการที่มักพบอยู่เสมอในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ได้แก่ จาม คัดจมูก ตา หู และลำคอ มีน้ำมูกใสๆ ไหลออกมาบ่อยๆ รู้สึกคัดจมูก ตาแดง และมีน้ำตาไหล นอกจากนี้ยังอาจมีอาการเจ็บคอ ไอ อ่อนเพลีย ปวดท้อง ปวดศีรษะ หรือปวดบริเวณคาง และหน้าผากร่วมด้วย หากคุณมีอาการต่างๆ เหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัย และกำหนดวิธีการรักษาโรคภูมิแพ้ที่เหมาะที่สุด เพราะหากปล่อยไว้เรื้อรังอาจกลายเป็นโรคไซนัส และโพรงหลังจมูกอักเสบได้ โรคภูมิแพ้เกิดจากอะไร โรคภูมิแพ้เกิดจากการที่เราหายใจเอาสารบางอย่างที่เรียกว่า “สารแพ้” เข้าไปในร่างกาย ซึ่งสารแพ้ที่สำคัญ ได้แก่ – เกสรดอกไม้ เกล็ดเล็กๆ ของเกสรดอกไม้ที่ปลิวมาตามลม คือสาเหตุสำคัญตัวหนึ่งที่ทำให้เราป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ชนิดเป็นไปตามฤดูกาล- ฝุ่นในบ้าน ฝุ่นที่เกาะอยู่ตามที่ต่างๆ ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นบนชั้นหนังสือ ผ้าม่าน ที่นอน หมอน หรือล่องลอยอยู่ทั่วไปในอากาศ จะมีแมลงตัวเล็กมาก เรียกว่า ไรฝุ่น (Dust Mite) เกาะอยู่ และไรฝุ่นนี่เอง คือเจ้าตัวร้ายในบ้าน ที่ทำให้เราป่วยเป็นโรคภูมิแพ้- เชื้อรา เชื้อรามักอยู่ในที่มืดและชื้น เช่น ในห้องน้ำ ใต้ถุนบ้าน ในตู้เย็น ในดินที่ปลูกต้นไม้ เชื้อราขยายพันธุ์โดยการกระจายเกล็ดเล็กๆ ไปในอากาศ เรียกว่า “สปอร์” ถ้าเราสูดหายใจเอาสปอร์เข้าไปก็อาจทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ได้- สัตว์ สัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข นก ม้า และกระต่าย ก็เป็นสาเหตุสำคัญของโรคภูมิแพ้เช่นกัน โดยรังแค น้ำลาย และปัสสาวะของสัตว์ รวมทั้งขนนก ล้วนทำให้ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ได้ทั้งสิ้น- มลพิษและสารระคายเคือง เช่น ควันธูป ควันบุหรี่ น้ำหอม สเปรย์ปรับอากาศ ควันไฟจากเตาถ่านและเตาผิง ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ และสารที่มีกลิ่นแรงๆ สามารถทำให้เกิดการระคายต่อจมูก และทำให้อาการโรคภูมิแพ้แย่ลง- แมลงสาบ ถ้าบ้านคุณมีแมลงสาบในห้องครัว ท่อระบายน้ำ ตู้กับข้าว ถังขยะ ฝุ่นที่เกิดจากซากหรือชิ้นส่วนของแมลงสาบเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ทางจมูกและโรคหอบหืด โดยเฉพาะในเด็ก สารแพ้สร้างปัญหาให้คุณได้อย่างไร ปกติแล้วสารแพ้เป็นสารที่ไม่มีพิษภัยต่อร่างกายของเรา แต่เมื่อคุณเป็นโรคภูมิแพ้ ร่างกายของคุณจะเข้าใจว่า สารแพ้เป็นสิ่งแปลกปลอมที่จำเป็นต้องทำลาย ดังนั้น เมื่อคุณหายใจเอาสารแพ้เข้าไป ร่างกายของคุณก็จะโจมตีสารแพ้เหล่านี้ และจะทำให้ช่องทางเดินอากาศภายในจมูกของคุณเกิดอาการบวมและอักเสบ ซึ่งทำให้คุณเกิดอาการทางจมูก เช่น คัดจมูก คัน มีน้ำมูกไหล สารแพ้ยังสามารถทำให้เกิดอาการผิดปกติในส่วนอื่นของร่างกายคุณได้ เช่น ตา หู และปอด ปฏิกิริยาภูมิแพ้ เมื่อคุณหายใจเอาสารแพ้เข้าไป มันจะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติของร่างกายที่เรียกว่า ภูมิแพ้ ซึ่งจะหลั่งสารเคมีชื่อ “ฮีสตามีน” (Histamine) ออกมา ซึ่งเจ้าฮีสตามีนนี้เองที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อของจมูก ช่องจมูกเมื่อคุณเป็นโรคภูมิแพ้ – เยื่อบุโพรงจมูกบวม ทำให้มีน้ำขังจนเกิดอาการปวด รวมทั้งปวดศีรษะได้- จมูกสร้างน้ำมูกมากขึ้น ทำให้ช่องจมูกอุดตัน และมีน้ำมูกไหลออกจากจมูก- น้ำมูกไหลลงไปในช่องคอ (Postnasal Drip) ทำให้แสบระคายคอ และไอ โรคแทรกซ้อนจากการเป็นภูมิแพ้เรื้อรัง อาจมีปัญหาอื่นที่เกิดเป็นผลตามมาจากการระคายเคืองและการอักเสบ ซึ่งเกิดจากภูมิแพ้ หากคุณมีอาการอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา 1. การติดเชื้อของโพรงไซนัส (Sinusitis) น้ำมูกที่ขังเป็นเวลานานในโพรงไซนัส จะมีการติดเชื้อแบคทีเรียขึ้นได้ โดยมีอาการน้ำมูกหรือเสมหะลงคอที่ข้นเหนียวสีเหลือง – เขียว ถ้าเป็นบ่อยๆ จะกลายเป็นโรคไซนัสเรื้อรังได้ 2. ตาอักเสบ สารแพ้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อตา ทำให้เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) มีอาการตาแดง คัน บวม และมีน้ำตาไหล 3. ติ่งเนื้อในโพรงจมูก (Nasal Polyp) เยื่อบุโพรงจมูกอาจบวมมากจนกลายเป็นติ่งเนื้อเล็กๆ เรียกว่า Polyp ซึ่งอาจบวมโตมากจนอุดตันช่องจมูกได้ 4. ปัญหาของหู หูชั้นกลางกับช่องจมูกมีท่ออากาศเชื่อมต่อกัน ถ้าปฏิกิริยาภูมิแพ้ทำให้ท่อนี้เกิดการอุดตัน อากาศที่ถูกกักไว้ภายในจะทำให้รู้สึกหูอื้อได้ และอาจมีมูกขังภายใน จนเกิดการติดเชื้อและเกิดหูชั้นกลางอักเสบได้ 5. โรคหืด หากคุณเป็นโรคหืด การระคายเคืองและการบวมของทางเดินอากาศที่เข้าสู่ปอดจะทำให้คุณหายใจลำบาก ซึ่งสาเหตุของการระคายเคืองและบวมนี้ บ่อยครั้งพบว่าปฏิกิริยาภูมิแพ้ของจมูกนี้จะกระตุ้นให้โรคหืดกำเริบได้