
โรคกรดในกระเพาะไหลย้อนสู่หลอดอาหาร (GERD)
โรคกรดในกระเพาะไหลย้อนสู่หลอดอาหาร (GERD) โรคนี้คือโรคอะไร เกิดจากสาเหตุใด ตอบ เป็นภาวะที่มีน้ำย่อย และ กรดในกระเพาะไหลย้อนไปสู่หลอดอาหาร จนก่อให้เกิดอาการ ในบางรายอาจมีการอักเสบแดง รายรุนแรงมากอาจมีแผล อาจเรื้อรังจนเกิดพังผืด จนหลอดอาหารตีบ หรือ มะเร็งหลอดอาหารแทรกซ้อนได้ด้วย ผู้ป่วยอีกส่วนหนึ่งอาจไหลย้อนจนเกิดสำลัก เสียงแหบไอเรื้อรัง หรือเกิดปัญหาหลอดลม หรือปอดอักเสบ อาการในผู้ป่วยส่วนหนึ่งจะเป็นกลางดึก หรืออยู่ในท่านอนคอพับ สาเหตุพบว่าในบางคนอาจมีหูรูดที่ส่วนต่อระหว่างหลอดอาหาร และ กระเพาะ เปิดบ่อยกว่าปกติ จนทำให้น้ำย่อยขึ้นมาทำลาย ระคายเคืองหลอดอาหารดังกล่าว บางคนเป็นปัญหาของการเคลื่อนไหวบีบตัวของหลอดอาหาร หรือ กระเพาะบีบตัวผิดปกติ หรือ บางคนเกิดจากไส้เลื่อน คือกระเพาะเลื่อนขึ้นไปในอก ทำให้ไม่มีหูรูดหลอดอาหารก็พบได้ (hiatal hernia) อาการของโรคนี้ เป็นอย่างไร จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้ ตอบ อาจมีอาการใดอาการหนึ่งอาการเดียว หรือ อาจมีหลาย ๆ อาการในที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ก็ได้ ได้แก่ ปวดแสบหรือปวดจุกลิ้นปี่(ด้านบนสุดของท้อง) ถ้ามีอาการแสบอก, แน่นอก, เรอเปรี้ยว เกินกว่า 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจเกิดจากภาวะนี้ บางครั้งอาจแสบไปถึงคอ แน่นอก แบบอึดอัด หายใจไม่สะดวก คล้ายโรคหัวใจ หวิว หรือ ปวดแสบอก กลืนลำบาก หรือ ติด กลืนเจ็บ คอเจ็บ ไอ หรือ เสียงแหบเรื้อรัง ไอเรื้อรัง, หอบหืดแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อนตอนเด็ก ๆ หรือ หอบกลางดึก, บางคนมีปอดบวมเรื้อรัง สำลักอาหาร หรือ น้ำ เรอเปรี้ยว เปรี้ยวในคอ แน่นในคอ โรคฟันเรื้อรัง แย่ลง โรคไซนัสเรื้อรัง( sinusitis ) ตื่นมากลางดึก แน่นอก แสบอก หรือ หายใจไม่สะดวก วินิจฉัยโรคนี้ได้อย่างไร? ตอบ ส่วนใหญ่ขึ้นกับอาการ และ การตอบสนองต่อยารักษา มากกว่าการตรวจพิเศษ แพทย์จะทำการตรวจพิเศษให้ถ้า อาการไม่ชัดเจนนัก หรือ มีอาการเตือนโรคมะเร็ง หรือ ภาวะแทรกซ้อน (“alarm” symptoms (เช่น มีเม็ดเลือดขาวต่ำมาก ผอมลง เลือดออก ซีดไม่ทราบสาเหตุ มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง หรือ กลืนติด)) ในรายที่ต้องใช้ยานาน ๆ ไม่หายขาด ก็อาจจำเป็นต้องค้นหาสาเหตุ เพื่อพิสูจน์โรคนี้ หรือ แยกโรคอื่น ๆ – แรกสุดจะเป็นการแยกโรคร้ายแรง ที่ไม่ใช่โรคนี้ แต่อาการคล้ายกัน ได้แก่ ผู้ป่วยที่แน่นอกควรแยกโรคหัวใจก่อน – กรณีที่มีอาการที่ไม่แน่ว่าเป็นโรคนี้แน่ ต้องการพิสูจน์โรค หรือ หาโรคแทรกซ็อนโรคนี้ อาจต้องตรวจดังนี้ 4.1 การส่องกล้องตรวจ (Endoscopy) โดยใส่สายที่ยืดหยุ่นได้ดี ขนาดเล็ก ๆ ( small, flexible tube ) ที่มีแสงสว่างตรงปลาย และ มีกล้องขยายภาพถ่ายภาพยนตร์ จะเห็นการอักเสบ, แผล หรือ โรคแทรกซ้อนดังที่กล่าวแล้ว รวมทั้งสามารถเก็บตัดชิ้นเนื้อที่สงสัยได้ด้วย เพื่อแยกโรคมะเร็ง หรือ ความลึกความรุนแรงของการอักเสบ 4.2 การกลืนแป้ง (Barium swallow) โดยการกลืนสารทึบแสง แล้วเอ๊กซเรย์ตรวจ จริง ๆ แล้วการตรวจนี้จะตรวจเฉพาะแผลใหญ่ ๆ หรือ เนื้องอกใหญ่ ๆ ไม่ช่วยตรวจดูการอักเสบตื้น ๆ หรือ ช่วยดูการเคลื่อนไหวผิดปกติของหลอดอาหาร โดยทั่วไปไม่เหมาะสมในการตรวจโรคนี้ 4.3 การตรวจกรดในหลอดอาหาร 24 ชั่วโมง ( 24-hour esophageal pH study ) เป็นวิธีที่ไวที่สุดในการตรวจโรคนี้ โดยการกลื่นสายเล็ก ๆ แล้วปล่อยค้างในหลอดอาหารตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อวัดกรด เปรียบเทียบกับอาการ โดยต่อข้อมูลไปในกล่องบันทึกที่เหน็บไว้ที่เอว แล้วไปวิเคราะห์ข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์ ดูความถี่ของภาวะสำลักกรดขึ้นมาหลอดอาหาร ว่ามากหรือน้อย นานแค่ไหน สัมพันธ์กับอาการหรือไม่ ส่วนใหญ่มักลองรักษาก่อน แล้วถ้าหายได้ก็เป็นการวินิจฉัยโรคนี้ มากกว่าทำการตรวจวิธีนี้ 4.4 การใช้เครื่องดูการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร (Esophageal manometry) เพื่อดูการบีบตัวของหลอดอาหารโดยใช้เครื่องวัดความดันที่ผนังของหลอดอาหาร จากที่กล่าวแล้วว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งเกิดจากการเคลื่อนไหวของหลอดอาหารผิดปกติ รวมทั้ง การตรวจการเคลื่อนไหวยังช่วยดูการสำลักการหย่อนของหูรูดด้วย มักทำในรายสงสัยภาวะเคลื่อนไหวผิดปกติ หรือ วางแผนการผ่าตัดเพื่อกำหนดวิธีการผ่าตัดหูรูดได้ถูกต้องขึ้น โรคที่เกิดกับหลอดอาหารอื่นมีอะไรบ้าง อาการดังที่กล่าวในข้อ 2 เช่นจุกคอ แน่นในอก กลืนติด เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ตอบ โรคที่ทำให้เกิดแน่นในอก ขอเน้นย้ำให้แยกโรคในช่องอก คือเอ๊กซเรย์ปอด แยกโรคหัวใจโดยการวิ่งสายพานตรวจให้แน่นอนว่าไม่ใช่โรคในกลุ่มนี้ก่อนนะครับ – อาการจุกในลำคอถ้าเป็นไม่นานเกิน 1 ถึง 2 อาทิตย์ น่าลองรักษาดูก่อน ไม่ควรตรวจหาสาเหตุครับ แค่ซักประวัติและให้ยาก็หายได้ง่ายแล้วครับ ผมจะสรุปว่าเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง ทำให้ครบไปเลยครับ แต่อย่าไปเครียดว่าเราเป็นตามที่ไล่ให้ฟังนะครับ เพราะส่วนใหญ่ที่เจอไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงอะไรครับ ไล่ให้ครบเพื่อเป็นวิทยาทานนะครับ และจะสรุปการแก้ไขตามสาเหตุดังนี้ครับ อาหารที่บาด เคือง ให้กินอาหารอ่อนข้าวต้ม โจ๊ก พักหนึ่งครับ อาหารเผ็ดเปรี้ยว แต่มักมีโรคหลอดอาหารร่วมด้วย ให้เลี่ยงเผ็ดเปรี้ยว ความรู้สึกไปเอง โรคหลอดอาหารอักเสบ ให้ปฏิบัติตามที่แนะนำใน บทความ โรคกรดย้อนก่อให้หลอดอาหารอักเสบ ที่เขียนในนี้ครับ โรคยาติด ให้ทบทวนดูว่าทานยาผิดอะไรไปบ้าง คราวหน้าทานยาให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ หลังทานยาอย่าล้มนอนทันที โรคติดเชื้อเริม ถ้ามีแผลในปากนำมาก่อนให้รีบพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้ยารักษา จะได้ผลเร็วดีถ้ามารักษาตั้งแต่วันแรก ๆ ของการติดเชื้อครับ โรคติดเชื้อรา ให้ทบทวนว่าเราปัสสาวะบ่อยมานานหรือเปล่า หรือ กินยาฆ่าเชื้อนานเกินไป ให้รีบพบแพทย์เพื่อปรับเปลี่ยนยาครับ โรคหลอดอาหารอักเสบจากยากลุ่มแอสไพริน แก้ข้อแก้กระดูก ให้เลี่ยงยานี้ แล้วรีบรับยารักษาหลอดอาหารครับ โรคเอดส์หลอดอาหารอักเสบแบบไม่มีสาเหตุ ถ้ามีน้ำหนักลด มีความเสี่ยงเอดส์ควรปรึกษาแพทย์ครับ บางรายอาจมีการติดเชื้อไวรัส