Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

Metabolic Syndrome โรคที่มากับความอ้วน

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 11 พฤษภาคม 2019

Metabolic Syndrome เป็นศัพท์ทางการแพทย์ที่หมายถึง กลุ่มอาการของโรคที่เกี่ยวข้องและมีสาเหตุมาจากความอ้วนซึ่งมีมูลเหตุมาจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติ (Metabolism) ซึ่งนำไปสู่โรคไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และภาวะดื้ออินซูลินในที่สุดจะก่อให้เกิดโรคไขมันอุเตันหลอดเลือด (Atherosclorosis) ซึ่งนำพาไปสู่การเสียชีวิต สมัยก่อนทางการแพทย์เรียกโรคนี้ว่า Syndrome X และ Insulin Resistane Syndrome แต่ในปัจจุบัน Metabolic Syndrome เป็นคำที่นิยมและสะท้อนถึงสาเหตุและอาการของโรคได้ดีที่สุด

อาการของโรค

Metabolic Syndrome จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ไตจะขับเกลือออกได้น้อยลงทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่สูงเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดแดงตีบ ทำให้ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ หรืออัมพาต และยังเพิ่มโอกาสให้เป็นโรคเบาหวานได้ง่าย

ความน่ากลัวของโรค

 Metabolic Syndrome คือ เป็นโรคที่เป็นภัยเงียบ ไม่มีอาการบ่งชี้ล่วงหน้า คนไข้จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อมีอาการของหลอดเลือดอุดตันแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่มีอาการของโรคร้ายแรงอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เช่น หลอดเลือดสมองอุดตัน อัมพฤกษ์ หัวใจวาย หรืออาการผิดปกติอื่นๆ ตามแต่ตำแหน่งที่หลอดเลือดอุดตันสาเหตุของ Metabolic Syndrome มี 3 ประการได้แก่

  1. การรับประทานอาหารผิดสุขลักษณะ  เช่น อาหารหวาน อาหารมัน และอาหารรสเค็มจัด กินอาหารที่มีกากใยน้อย
  2. พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลต่อการเร่งให้เกิดโรค เช่น ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด นอนน้อยนอนดึก สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
  3. พันธุกรรม เชื้อชาติ และสภาพแวดล้อม 

ข้อบ่งชี้การเกิดโรค

การบ่งชี้โอกาสในการเกิดโรค Metabolic Syndrome สามารถบ่งชี้ความเสี่ยงได้ก่อนเกิดโรค คือ อาการอ้วนลงพุงเกินระดับมาตราฐาน คือ มีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย และ เกินกว่า 80 เซนติเมตรในเพศหญิง และมีข้อบ่งชี้ประกอบอย่างน้อย 2 ใน 4 อาการ ได้แก่

  • ความดันโลหิตมากกว่า 130/85 มม.ปรอท หรือผู้ที่ได้รับยาลดความดันโลหิต
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์มากกว่า 150 mg% หรือผู้ที่เป็นไขมันสูงและได้รับยาลดไขมัน
  • ระดับน้ำตาลสูงกว่า 100 mg% หรือผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
  • หากมีเส้นรอบเอวที่เกินระดับมาตราฐานและมีข้อบ่งชี้มากกว่า 3 ประการจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 เท่า และพบว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงครบ 4 ประการจะมีอัตราการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3 เท่า และ การเกิดโรคเบาหวานเพิ่ม 24 เท่า

การดูแลป้องกันโรค Metabolic Syndrome

สามารถป้องกันตัวเอง และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ โดยการปรับพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดโรคได้ โดยการปรับพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรค ซึ่งแบ่งได้ 4 ประการหลัก ได้แก่

  • การออกกำลังกายชนิดแอโรบิกวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน
  • การรับประทานอาหารสุขภาพ  เช่น ลดอาหารประเภทไขมันลง ลดการรับประทานแป้งเหลือไม่เกิน 50% ของอาหารที่รับประทาน เน้นอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ธัญพืช ข้าวกล้อง ผัก ถั่ว ลดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และลดซอสปรุงรสต่างๆลง เป็นต้น
  • การลดน้ำหนัก จากการศึกษาของประเทศฟินแลนด์ และสหรัฐอเมริกา พบว่า การลดน้ำหนักลง 5-10% ของน้ำหนักตัว จะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานได้
  • การงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์- งดบุหรี่

การรักษาทางการแพทย์

การรักษาทางการแพทย์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การรักษาอาการเบื้องต้น ไม่ให้เกิดโรคร้ายแรง และส่วนที่สองการรักษาเมื่อมีอาการป่วยเฉียบพลัน 

ในการรักษาอาการเบื้องต้น สามารถแบ่งออกได้เป็น การรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 120/80 มม.ปรอท การรักษาไขมันในเลือด โดยการลดระดับไขมัน LDL ลดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มไขมัน HDL การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 100 mg% 

การรักษาเมื่อมีอาการป่วยเฉียบพลัน เช่น มีอาการเจ็บหน้าอก อาการแขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว เป็นต้น ควรรีบพาผู้ป่วยมาพบแพทย์โดยด่วน

เกร็ดความรู้

ผู้ป่วย Metabolic Syndrome ควรให้ความใส่ใจกับสภาวะการเกิดโรคร้ายต่อเนื่องเป็นพิเศษ และต้องพบแพทย์เป็นประจำเพื่อรับคำปรึกษาอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งทำประวัติคนไข้ให้เรียบร้อย โดยมีการเลือกโรงพยาบาลที่ทำการรักษาและควรพิจารณาองค์ประกอบในหลายด้าน เช่น มาตราฐานการรักษาพยาบาลที่ได้รับมาตราฐานสากล ความพร้อมของเครื่องมือในการรักษา รวมถึงทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่พร้อมให้การดูแลรักษาตลอด 24 ชั่วโมง 

ข้อมูลโดย : อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน Metabolic Syndrome โรงพยาบาลพระรามเก้า

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ศัลยกรรม_1-1

ศูนย์ศัลยกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา