Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
Menu
  • TH
    • EN
    • CN
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

“โอไมครอน (Omicron) ” เชื้อโควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ที่ต้องจับตา

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 4 ธันวาคม 2021

ไม่กี่วันมานี้เราได้ยินชื่อของเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ ซึ่งเป็นโควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่ชื่อว่า “โอไมครอน” ที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกกังวล และต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด มาทำความรู้จักกับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ว่าคืออะไร ทำไมจึงเป็นที่จับตามอง 

สารบัญ

  • เชื้อโควิด-19 โอไมครอน คืออะไร?
  • มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งไหนบ้าง?
  • เชื้อโควิด-19 โอไมครอนน่ากลัวอย่างไร?
  • ติดเชื้อแล้วอาการรุนแรงแค่ไหน ระวังในคนกลุ่มไหนบ้าง?
  • การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โอไมครอน
  • วัคซีนเอาอยู่หรือไม่?
  • เชื้อโควิด-19 โอไมครอน สามารถตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง?
  • คำแนะนำในการป้องกันดูแลตัวเอง
  • สรุป

เชื้อโควิด-19 โอไมครอน คืออะไร?

เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ เป็นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ชนิดใหม่ลำดับที่ 5 ของเชื้อโควิดกลายพันธุ์ ตามการรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) โดยมีชื่อสายพันธุ์ว่า  B.1.1.529  และองค์การอนามัยโลกตั้งชื่อว่าสายพันธุ์นี้ว่า “โอไมครอน (Omicron)”

>กลับสู่สารบัญ

มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งไหนบ้าง?

จากการรายงานเบื้องต้นพบการกลายพันธุ์อย่างน้อย 30 ตำแหน่งบนโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัส ซึ่งถือว่าเป็นการกลายพันธุ์จำนวนที่สูงมาก เมื่อเทียบกับสายพันธุ์กลายพันธุ์อื่น ๆ อย่างเช่น สายพันธุ์เดลต้าที่มีการกลายพันธุ์เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น และคาดว่ามีตำแหน่งกลายพันธุ์มากกว่านี้ ทั้งนี้ต้องรอข้อมูลการศึกษาจากห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม

จึงทำให้เชื้อโควิด-19 โอไมครอนนี้ถูกจัดให้เป็น สายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern; VOC) 

>กลับสู่สารบัญ

เชื้อโควิด-19 โอไมครอนน่ากลัวอย่างไร?

เนื่องจากโปรตีนหนาม หรือ spike protein เป็นส่วนสำคัญของไวรัสที่ใช้ยึดเกาะกับเซลล์ของเรา การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งโปรตีนหนาม มักจะทำให้ไวรัสยึดเกาะ และเข้าสู่เซลล์ร่างกายของเราได้ง่ายขึ้น จึงทำให้คาดกันว่า เชื้อโควิด-19 โอไมครอนนี้ จะแพร่ระบาดและมีอัตราการติดเชื้อมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ

นอกจากนี้ โปรตีนหนามนี้เป็นส่วนสำคัญที่ใช้พัฒนาวัคซีนโควิด ดั้งนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจะมีความกังวลกับการกลายพันธุ์ครั้งนี้ เพราะเชื้อโควิด-19 โอไมครอนนี้อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีน และภูมิคุ้มกันธรรมชาติในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆได้

>กลับสู่สารบัญ

ติดเชื้อแล้วอาการรุนแรงแค่ไหน ระวังในคนกลุ่มไหนบ้าง?

ผู้ป่วยที่ยืนยันแล้วว่าติดโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน พบว่า ไม่สูญเสียการรับรสหรือดมกลิ่น มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีอาการไอ อ่อนเพลีย 1 – 2  วัน บางรายมีไข้ โดยไม่มีอาการที่แตกต่างหรือโดดเด่นจากสายพันธุ์อื่นชัดเจน ผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งสามารถรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีการรายงานขณะนี้  อายุไม่มากและครึ่งหนี่งยังไม่ได้รับวัคซีน

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยทั้งหมดที่ติดเชื้อโควิด-19 โอไมครอน ที่มีการรายงานขณะนี้ เป็นคนที่มีสุขภาพดี แต่เป็นที่น่ากังวลว่า กลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่มคนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ถ้าติดเชื้อสายพันธุ์นี้อาจจะมีอาการรุนแรงมากกว่า ทั้งนี้ข้อมูลอาการเหล่านี้ยังไม่ชัดเจน และยังอยู่ในระหว่างการศึกษาอย่างเร่งด่วนจากนักวิทยาศาสตร์ ทำให้ไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าอาการจะรุนแรงกว่าหรือไม่

>กลับสู่สารบัญ

การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โอไมครอน

มีรายงานพบเชื้อโควิด-19 โอไมครอนครั้งแรกต่อองค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2564 ที่ประเทศแอฟริกาใต้ โดยพบจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเดียวกันที่ตรวจพบเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน อาจเป็นไปได้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ มีสาเหตุจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ 

ตัวอย่างเชื้อแรกที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นสายพันธุ์โอไมครอน มีการเก็บตั้งแต่วันที่ 9 พ.ย 2564 และภายใน 3 สัปดาห์ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์นี้ในประเทศต่าง ๆ แล้วกว่า 10 ประเทศ โดยเป็นผู้ที่มีประวัติเดินทางหรือสัมผัสผู้ที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา จึงถือว่าเป็นอัตราการติดเชื้อที่รวดเร็ว และต้องจับตามอง

>กลับสู่สารบัญ

วัคซีนเอาอยู่หรือไม่?

แม้จะมีความกังวลเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดที่มีในปัจจุบัน เนื่องจากการกลายพันธุ์หลายสิบตำแหน่งบนโปรตีนหนาม แต่องค์การอนามัยโลกยังคงแนะนำให้ฉีดวัคซีน และฉีดให้ครบโดสตามที่แนะนำ เพื่อป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ ลดอัตราการเสียชีวิด และลดอาการรุนแรง 

>กลับสู่สารบัญ

เชื้อโควิด-19 โอไมครอน สามารถตรวจได้ด้วยวิธีใดบ้าง?

จากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า เชื้อโควิด-19 โอไมครอน ยังสามารถตรวจได้ด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้ในปัจจุบัน และการตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัส รวมทั้งการตรวจด้วย antigen test kit (ATK)

แต่อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่า ผลตรวจ RT-PCR ของเชื้อโควิด-19 โอไมครอนนี้ ไม่พบยีน S ซึ่งพบได้ในสายพันธุ์อื่น หรือที่เรียกว่า S gene drop outs ทำให้การตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นสายพันธุ์โอไมครอนต้องใช้เทคนิค RT-PCR แบบพิเศษ แล้วทำการตรวจยืนยันอีกครั้งด้วยการหาลำดับสารพันธุกรรมของไวรัส ซึ่งต้องทำในห้องปฏิบัติการเฉพาะเท่านั้น 

>กลับสู่สารบัญ

คำแนะนำในการป้องกันดูแลตัวเอง

การดูแลป้องกันตัวเองอย่างที่เราคุ้นเคยยังคงเป็นมาตราการที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนนี้ ได้แก่ 

  • การรักษาระยะห่าง หรือ social distancing อย่างน้อย 1 เมตร
  • สวมหน้ากากอนามัย โดยควรสวมให้พอดีกับใบหน้า
  • จัดที่บ้านและที่ทำงานให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ไม่ไปในสถานที่มีคนเบียดเสียด หรือที่ที่มีคนเยอะ
  • ล้างมือบ่อย ๆ
  • ไม่ไอหรือจามโดยใช้มือปิดปากและจมูก ควรใช้กระดาษทิชชู่แทน
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

>กลับสู่สารบัญ

สรุป

เชื้อโควิด-19 “โอไมครอน” เป็นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ตัวล่าสุดที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังจับตามอง เพราะมีตำแหน่งการกลายพันธุ์หลายสิบตำแหน่ง ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับอัตราการติดเชื้อ 

การแพร่ระบาดที่รวดเร็ว รวมถึงอาการของผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนนี้ อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันจากวัคซีน และภูมิคุ้มกันธรรมชาติในผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อื่น ๆ ทั้งนี้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ชัดเจนเกี่ยวกับความรุนแรงของอาการ อัตราการติดเชื้อ หรือการหลบหลีกภูมิคุ้มกันยังต้องรอการศึกษาเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตามเราควรปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันอย่างเคร่งครัด ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด  และควรรับวัคซีนโควิดให้ครบโดส ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันการเสียชีวิตและลดความรุนแรงของอาการจากการติดเชื้อ

>กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 V
  • Praram 9 V

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์อายุรกรรม

ศูนย์อายุรกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีการผ่าตัดสงวนเต้า ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ต้องถูกตัดเต้านมออกทั้งหมด หรือหากจำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออก ก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF เป็นเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก ช่วยเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

ภาวะผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ หรือโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) อาจมีอาการคล้ายโรคมะเร็งลำไส้ สามารถตรวจสอบเพื่อแยกโรค และรักษาให้เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด

แพ็กเกจยอดนิยม

แพ็กเกจตรวจสุขภาพน้องใหม่วัยชิลล์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นพี่วัยชิค

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นใหญ่วัยเก๋า

รายละเอียด

ดูแพ็กเกจทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2021 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา