Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
Menu
  • TH
    • EN
    • CN
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ยาลิ้นฟ้า Rohypnol (โรฮิปนอล) อันตรายที่ต้องรู้เท่าทัน

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 1 สิงหาคม 2022
ยาลิ้นฟ้า rohypnol

หลังจากมีข่าวที่น่ากังวลเกี่ยวกับยาลิ้นฟ้า หรือ Rohypnol (โรฮิปนอล) ที่มีวัยรุ่นบางกลุ่มนำมาใช้ผิดประเภท แล้วแลบลิ้นสีฟ้าอวดลงโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นที่น่ากังวลใจอย่างมาก ความจริงแล้วยาชนิดนี้ไม่ใช่ยาใหม่ แต่เป็นยาที่มีมานานานกว่า 30 ปี และในวงการแพทย์ก็ทราบกันดีถึงอันตรายของยาดังกล่าว จนบางประเทศมีคำสั่งห้ามจำหน่าย แต่กลับเป็นว่าในช่วงนี้มีการระบาดในเมืองไทย

สารบัญ

  • Rohypnol (โรฮิปนอล) หรือยาลิ้นฟ้า คืออะไร? 
  • อันตรายจากการใช้ยา Rohypnol 
  • ทำไมกินแล้วลิ้นมีสีฟ้า?
  • วิธีป้องกันสำหรับบุคคลทั่วไป
  • โทษทางกฎหมาย
  • สรุป

Rohypnol (โรฮิปนอล) หรือยาลิ้นฟ้า คืออะไร?

Rohypnol (โรฮิปนอล) เป็นชื่อการค้าของยานอนหลับโดยบริษัทยา Roche ซึ่งเป็นผู้คิดค้น และผลิตเป็นเจ้าแรก โดยเริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ปี ค.ศ.1975 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยชื่อสามัญของยาตัวนี้คือ Flunitrazepam ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม Benzodiazepines (BZD) โดยมียาในกลุ่มเดียวกันนี้ที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ได้แก่ Alprazolam (Xanax®), Clonazepam, Diazepam (Valium®), Lorazepam เป็นต้น 

โรฮิปนอลเป็นยานอนหลับที่มีฤทธิ์เร็ว แรง และออกฤทธิ์ยาวนาน (มากกว่าระยะการนอนหลับในหนึ่งคืน) ทำให้เกิดผลข้างเคียงคือ มีอาการง่วงซึมในช่วงเวลากลางวัน และเพิ่มความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ โดยพบว่าโรฮิปนอลเป็นยานอนหลับที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุด เมื่อเทียบกับยาตัวอื่นซึ่งเป็นยานอนหลับด้วยกัน นอกจากนั้นโรฮิปนอลยังมีผลต่อความทรงจำ จึงทำให้มีการออกข้อกำหนดให้มีการจำกัดยาใช้อย่างเคร่งครัด

> กลับสู่สารบัญ

อันตรายจากการใช้ยา Rohypnol

ยาโรฮิปนอลควรใช้เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ตามแพทย์สั่งเท่านั้น เพราะการใช้ติดต่อกันเกิน 1 เดือน จะทำให้เกิดการติดยา และหากใช้ในระยะยาวนอกจากการติดยา และอาการถอนยาที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้แล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อความสามารถในการเรียนรู้และสมรรถภาพการรู้คิด และหากได้รับยาเกินขนาด จะทำให้กดการหายใจและทำให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ ผลข้างเคียงที่สำคัญของโรฮิปนอลคือ เมื่อหยุดยาอาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับที่แย่ลงกว่าเดิมได้ (rebound insomnia)

> กลับสู่สารบัญ

ทำไมกินแล้วลิ้นมีสีฟ้า?

เนื่องจากยาโรฮิปนอล มีฤทธิ์เป็นยานอนหลับที่แรง และมีผลต่อความทรงจำ และสร้างอันตรายต่อสังคมโดยรวมเป็นอย่างมาก ผู้ผลิตจึงคิดค้นวิธีป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด โดยการใส่สีฟ้าไว้ภายในเม็ดยา ทำให้เมื่อยาละลายในเครื่องดื่มจะเกิดสีฟ้าให้เห็นและสังเกตได้ ดังนั้นจากข่าวจึงพบว่าเมื่อวัยรุ่นนำมาใช้เสพด้วยการอมไว้ในปาก ทำให้สีที่ละลายออกมาย้อมติดที่ลิ้น เห็นเป็นลิ้นสีฟ้า 

และด้วยความกังวลต่อการนำไปใช้ก่ออาชญากรรมและความปลอดภัยของสังคม การผลิต ขาย หรือใช้ยาตัวนี้ถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศในยุโรป เช่น สเปน ฝรั่งเศส นอร์เวย์ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร เป็นต้น ส่วนในประเทศที่ยังอนุญาตให้มีการใช้ในทางการแพทย์ ข้อบ่งใช้ของยาตัวนี้ก็มีเหลือไม่มากนัก ดังที่กล่าวไปข้างต้น

> กลับสู่สารบัญ

วิธีป้องกันสำหรับบุคคลทั่วไป

โรฮิปนอลเป็นยาที่ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ละลายน้ำได้ดีและมีตะกอนเพียงเล็กน้อย ทำให้สังเกตเห็นยาก สิ่งเดียวที่จะบอกได้ว่ามียาตัวนี้อยู่า คือ “สีฟ้า” ที่ผู้ผลิตใส่เพิ่มเข้ามา แต่หากเครื่องดื่มมีสีเข้ม สีฟ้าก็จะถูกบดบังทำให้ไม่เห็นความแตกต่าง หรือผู้ผลิตบางบริษัทก็ไม่มีการใส่สีเข้ามาทำให้สังเกตยากว่ามียาตัวนี้อยู่หรือไม่ 

ดังนั้นการสังเกตเพียงดูสีที่ผิดปกติของอาหารและเครื่องดื่มว่ามีสีฟ้าที่อาจมียาตัวนี้อยู่อาจจะไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันอันตรายจากยาตัวนี้ และควรมีมาตรการป้องกันตัวจากยาตัวนี้

  1. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่ผู้อื่นยื่นให้ ควรรับเครื่องดื่มจากพนักงานของร้านเองโดยตรง
  2. ถ้าลุกออกจากที่ เมื่อกลับมาต้องไม่ดื่มแก้วที่ทิ้งเอาไว้ 
  3. ควรไปเที่ยวเป็นหมู่คณะ และควรมีเพื่อนคนนึงไม่ดื่มแอลกอฮอล์เพื่อครองสติ ทำหน้าที่คอยสังเกตสถานการณ์ และดูแลให้กลับที่พักอย่างปลอดภัย (desinated driver/buddy system)
  4. ในปัจจุบันสถานบันเทิงหลายแห่งมีนโยบายป้องกันภัยคุกคามทางเพศ หากลูกค้ามีอาการง่วงผิดปกติ สะลึมสะลือ หรือถูกคุกคาม พนักงานจะเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์ หรืออาจมีรหัสเพื่อให้ลูกค้าสามารถขอความช่วยเหลือจากพนักงานได้โดยไม่กระโดกกระตากให้คนร้ายไหวตัวทัน หากจะไปเที่ยวสังสรรค์ ดังนั้นจึงควรเลือกไปสถานบันเทิงที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเหล่านี้ด้วย
  5. โรฮิปนอลจะออกฤทธิ์ภายในครึ่งชั่วโมง หากสงสัยว่าตัวเองโดนวางยาจึงต้องรีบขอความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วก่อนที่จะเบลอและหมดสติ 
  6. หากสังเกตว่าเพื่อนดูง่วงมากและมึนงงผิดปกติ ให้สงสัยว่าเพื่อนโดนมอมยา ให้รีบประกบตัว ไม่เปิดโอกาสให้คนร้ายเข้าถึงตัวได้ แล้วรีบขอความช่วยเหลือ และหากสังสัยว่าได้รับยาเกินขนาดจนอาจมีอันตรายถึงขึ้นเสียชีวิต ควรรีบพาไปโรงพยาบาลทันที

> กลับสู่สารบัญ

โทษทางกฎหมาย

ยาโรฮิปนอลนี้มีการควบคุมการใช้และจำหน่ายอย่างเข้มงวดในประเทศไทย โดยจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 มีเพียงแพทย์ ทันตแพทย์ และสัตวแพทย์เท่านั้นที่มีสิทธิสั่งจ่ายยา ไม่มีการจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป และมีบทกำหนดโทษหากมีการใช้หรือจำหน่ายอย่างผิดกฎหมายตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ดังนี้

  • จำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 โดยไม่ได้รับอนุญาต: จำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 700,000 บาท
  • โฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต: จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • เสพโดยไม่ได้รักษาโรคตามคำสั่งของผู้ประกอบวิชาชีพ: จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • ผู้ใดจูงใจ ชักนำ ยุยงส่งเสริม ใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังบังคับ ให้ผู้อื่นเสพวัตถุออกฤทธิ์: โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

ยาลิ้นฟ้า หรือ ยาโรฮิปนอล (Rohypnol) เป็นยาอันตรายต่อทั้งผู้เสพยาและผู้ตกเป็นเหยื่อของการใช้ก่ออาชญากรรม และมีบทลงโทษหากผู้ใดนำไปใช้หรือจำหน่ายอย่างผิดกฎหมาย ในช่วงนี้มีการระบาดของยาชนิดนี้ในเมืองไทย ดังนั้นการรู้เท่าทันและการเฝ้าระวังจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อความปลอดภัยของคุณและคนรอบตัว

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 V
  • Praram 9 V

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

พญ.รับพร ทักษิณวราจาร

ศูนย์สมองและระบบประสาท

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

รักษามะเร็งเต้านม

แนวทางใหม่! รักษามะเร็งเต้านม ด้วยวิธีผ่าตัดสงวนเต้า และการเสริมสร้างเต้านมใหม่

การรักษามะเร็งเต้านมด้วยวิธีการผ่าตัดสงวนเต้า ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมไม่ต้องถูกตัดเต้านมออกทั้งหมด หรือหากจำเป็นต้องผ่าตัดเต้านมออก ก็สามารถทำการผ่าตัดสร้างเสริมเต้านมได้เช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม
เด็กหลอดแก้ว

การทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก

การทำเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF เป็นเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์สำหรับคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก ช่วยเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์

อ่านเพิ่มเติม
ลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุการปวดท้องเรื้อรัง อืดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ

ภาวะผิดปกติเรื้อรังของลำไส้ หรือโรคลำไส้แปรปรวน (IBS) อาจมีอาการคล้ายโรคมะเร็งลำไส้ สามารถตรวจสอบเพื่อแยกโรค และรักษาให้เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด

แพ็กเกจยอดนิยม

แพ็กเกจตรวจสุขภาพน้องใหม่วัยชิลล์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นพี่วัยชิค

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นใหญ่วัยเก๋า

รายละเอียด

ดูแพ็กเกจทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2021 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา