Skip to content
  • TH
    • EN
Menu
  • TH
    • EN
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เพื่อวินิจฉัยโรคต่างๆ ในช่องท้องที่ตามองไม่เห็น

พญ.วรรณมงคล หล่อนิมิตดี

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 14 พฤษภาคม 2022
อัลตร้าซาวด์ท้อง

ช่องท้องเป็นที่อยู่ของอวัยวะสำคัญมากมาย ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับอวัยวะในช่องท้องไม่สามารถมองเห็นได้เหมือนที่ผิวหนัง หรือบางครั้งกว่าจะทราบว่ามีความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้อง ก็อาจสายเกินไป

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เป็นการตรวจที่ใช้อัลตร้าซาวด์ (หรือที่เรียกว่าคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง) ตรวจดูอวัยวะในช่องท้อง โดยแพทย์จะใช้หัวตรวจอัลตร้าซาวด์มาวางที่บริเวณท้อง แล้วตรวจดูอวัยวะภายใน ซึ่งจะทำให้เห็นภาพภายในช่องท้อง และสามารถบอกความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ปลอดภัย ไม่มีรังสี และไม่รู้สึกเจ็บ

การอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน

เป็นการตรวจดูอวัยวะบริเวณช่องท้องส่วนบนเหนือระดับสะดือ ได้แก่ ตับ ม้าม ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี ตับอ่อนไต และหลอดเลือดแดงใหญ่ และบริเวณช่องท้องส่วนบนอื่น ๆ 

สามารถบอกความผิดปกติของถุงน้ำดีได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี ถุงน้ำดีอักเสบ ความผิดปกติของไต เช่น มีก้อนที่ไต นิ่วที่ไต ความผิดปกติของตับ ก้อนที่ตับ ภาวะไขมันพอกตับ หรือหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองได้ เป็นต้น

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง

เป็นการตรวจดูอวัยวะบริเวณช่องท้องส่วนล่าง ต่ำกว่าระดับสะดือ ได้แก่ ต่อมลูกหมาก กระเพาะปัสสาวะ มดลูก เป็นต้น เพื่อหาความผิดปกติ เช่น เนื้องอกในมดลูก (ในผู้หญิงที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับรอบเดือน) ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ หรือต่อมลูกหมาก เป็นต้น

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง

การเตรียมตัวตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

  • อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน: งดอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันทุกชนิดก่อนการตรวจประมาณ 6 ชม. (ดื่มน้ำเปล่าได้)
  • อัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง: ดื่มน้ำมาก ๆ และอาจต้องกลั้นปัสสาวะไว้ก่อนตรวจ เพื่อให้มีน้ำเต็มกระเพราะปัสสาวะ ซึ่งจะช่วยให้เห็นอวัยวะต่าง ๆ บริเวณช่องท้องส่วนล่างได้ชัดเจนขึ้น
  • หากตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่างอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องงดน้ำและอาหาร แต่หากตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบนด้วย ต้องงดอาหารและเครื่องดื่มที่มีไขมันด้วยตามที่กล่าวแล้วข้างต้น
อัลตร้าซาวด์ท้อง เตรียมตัว

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องเหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ทั้งเพศชาย และเพศหญิง โดยแนะนำให้ตรวจร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปี
  • ผู้ที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่น ท้องอืด จุกเสียด หรือมีปัญหาการขับถ่าย
  • ผู้หญิงที่มีอาการปวดประจำเดือนรุนแรง ประจำเดือนมามาก ประจำเดือนมาผิดปกติ หรือคลำได้ก้อนที่ท้องน้อย
  • ผู้ที่มีอาการปัสสาวะผิดปกติ
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

ข้อดีของการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

  • เป็นการตรวจคัดกรองอวัยวะภายในช่องท้องที่ดี สามารถบอกความผิดปกติได้ตั้งแต่โรคยังไม่รุนแรง
  • เป็นการตรวจที่ไม่เจ็บ
  • ปลอดภัย ไม่มีรังสี
  • การเตรียมตัวก่อนตรวจไม่ยุ่งยาก
  • ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด ๆ หลังการตรวจ
อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง ข้อดี

“สุขภาพของอวัยวะในช่องท้องสำคัญไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ อย่าปล่อยให้สายเกินแก้” การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องเป็นการตรวจที่ปลอดภัย ไม่ยุ่งยาก บอกได้ถึงความผิดปกติของอวัยวะในช่องท้องได้แต่เนิ่น ๆ ก่อนโรคจะลุกลาม และสายเกินไป

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

บทความล่าสุด

อัลไซเมอร์ การรับมือกับผู้ป่วย

อัลไซเมอร์ กับการรับมือที่ไม่ง่ายของผู้ป่วยและคนใกล้ชิด

อ่านเพิ่มเติม
อัลตร้าซาวด์ท้อง

อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง เพื่อวินิจฉัยโรคต่างๆ ในช่องท้องที่ตามองไม่เห็น

อ่านเพิ่มเติม
เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบต่อเนื่อง

เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 V
  • Praram 9 V

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.วรรณมงคล หล่อนิมิตดี

พญ.วรรณมงคล หล่อนิมิตดี

ศูนย์สูตินรีเวช

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สูตินรีเวช

ศูนย์สูตินรีเวช

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความที่เกี่ยวข้อง

อัลไซเมอร์ การรับมือกับผู้ป่วย

อัลไซเมอร์ กับการรับมือที่ไม่ง่ายของผู้ป่วยและคนใกล้ชิด

อัลไซเมอร์หรือโรคความจำเสื่อม ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความทรงจำและยังทำให้อารมณ์และพฤติกรรมผิดปกติไป

อ่านเพิ่มเติม
เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบต่อเนื่อง

เครื่องตรวจน้ำตาลแบบต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อผลการรักษาที่ดีขึ้น

เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบ
ต่อเนื่อง ช่วยเตือนเมื่อระดับน้ำตาลตก ป้องกันการเป็นลมหมดสติ

อ่านเพิ่มเติม
ปลูกถ่ายไตซ้ำ

5 สาเหตุผ่าตัดปลูกถ่ายไตซ้ำ ที่ผู้ป่วยปลูกถ่ายไตควรทราบ

ผ่าตัดปลูกถ่ายไตซ้ำ มาจากปัจจัยสำคัญอะไรบ้าง เสี่ยงกว่าครั้งแรกมากน้อยแค่ไหนต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนผ่าตัด

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด

แพ็กเกจยอดนิยม

โปรแกรมตรวจสุขภาพหลังหายจากโควิด 19

รายละเอียด

แพ็กเกจ SUMMER SPLASH สาดโปรเด็ด ตรวจสุขภาพ 2022

รายละเอียด

แพ็กเกจ Lasik ครบทุกเทคโนโลยี

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจนอนกรน

รายละเอียด

ดูแพ็กเกจทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การบริหารแบบยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2021 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
  • ไทย