Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

จิตเวช: ป้องกันลูกวันรุ่นไม่ติดยาบ้าได้อย่างไร ลูกต่อต้านพ่อแม่มาก

พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 10 พฤษภาคม 2019

จิตเวช: ป้องกันลูกวัยรุ่นไม่ติดยาบ้าได้อย่างไร ลูกต่อต้านพ่อแม่มาก 

คำถาม จะป้องกันไม่ให้เด็กวัยรุ่นติดยาบ้าได้อย่างไรคะ มีลูกชายอายุ 15 ปี กำลังต่อต้านคุณพ่อคุณแม่มาก ไม่เชื่อฟังเลยค่ะ

คำตอบ โดย นายแพทย์ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง (จิตแพทย์)

ผมรู้สึกเห็นใจคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่นในยุคนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยสารเสพย์ติดโดยเฉพาะยาบ้า จากสถิติพบว่าวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ประมาณร้อยละ 2 เท่านั้นที่มีปัญหาทางจิตใจ บุคลิกภาพ การปรับตัว ครอบครัว และสังคม ที่เลือกสารเสพย์ติดเป็นทางออกในการแก้ปัญหา ประกอบกับวัยรุ่นนั้นโตแต่ตัว แต่ใจยังเป็นเด็กอยู่ ขาดความรู้ประสบการณ์และทักษะชีวิต ต่อต้านพ่อแม่ เชื่อฟังกลุ่มเพื่อน ซึ่งเป็นไปโดยธรรมชาติอยู่แล้ว คุณพ่อคุณแม่คงต้องเปลี่ยนท่าทีใหม่มิใช่คอยจับผิด ตั้งกฎเกณฑ์โดยไม่มีเหตุผล ควรใกล้ชิดสนิทสนม ให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของยาเสพติด สังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะดูขยันขันแข็งขึ้น ดูหนังสือดึกดื่นไม่หลับไม่นอน ไม่กินข้าวกินปลา ผ่ายผอม หรือในทางตรงข้าม นอนหลับมากตื่นสาย ขาดความรับผิดชอบ ไม่ไปโรงเรียน ฯลฯ พ่อแม่ควรสอบถามข้อมูลจากครูที่โรงเรียน ผู้ปกครองของเพื่อนลูก ดูผลการเรียนความประพฤติ การคบเพื่อน ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมที่ชอบ ไม่คาดหวังสูงจนต้องบังคับฝืนใจ มีเวลาสันทนาการเพื่อการผ่อนคลาย ออกกำลัง เล่นกีฬา นั่งสมาธิ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่เที่ยวกลางคืน หรือดื่มสุรา สูบบุหรี่ มีเพศสัมพันธ์ พกเงินเท่าที่พอใช้ พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก คอยให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำวิธีจัดการกับอารมณ์ทางลบต่างๆ เช่น ความเครียด โกรธ เศร้า เบื่อเหงา ฯลฯ ชมเชยเมื่อลูกทำความดีแม้เป็นสิ่งเล็กน้อย ให้ลูกเกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง รู้จักจุดดีจุดด้อยของตัวเอง พ่อแม่หัดไว้วางใจปล่อยให้ลูกรู้จักคิดวิเคราะห์ตัดสินใจ และทำด้วยตัวเอง แม้จะไม่ถูกใจพ่อแม่ 100% แต่ลูกก็เกิดการเรียนรู้พัฒนาด้วยตนเอง และกล้าที่จะเล่าถึงปัญหา แสดงความคิดเห็น ตอบรับ หรือปฏิเสธกับพ่อแม่ เพื่อน และบุคคลอื่นๆ ได้ ทั้งหมดนี้จะเป็นเกราะป้องกันจากภายในของตัววัยรุ่นเองที่จะไม่เสพยาบ้า หรือสารเสพย์ติดอื่นใด

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์

พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์

Mind Center

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา