Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ทดสอบความฟิตของหัวใจ ด้วยเทคโนโลยี

นพ.วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 12 พฤษภาคม 2019

การเอกซเรย์ปอดและหัวใจ รวมถึงได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจหัวใจขั้นต้นเท่านั้น แม้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะสามารถบ่งบอกถึงสิ่งผิดปกติของหัวใจได้มาก เช่นลักษณะการเต้น ขนาดของหัวใจห้องต่าง ๆ การนำไฟฟ้าภายในหัวใจ รวมถึงภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่เนื่องจากเป็นการตรวจในขณะพัก ดังนั้นโอกาสที่จะพบความผิดปกติ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่บ่งบอกว่าหัวใจมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอนั้นค่อนข้างยาก นอกเสียจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจนั้นตีบมาก จนทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พออยู่ตลอดเวลา

การทดสอบความฟิตของหัวใจ เพื่อจะได้ทราบว่า เส้นเลือดหัวใจตีบจนทำให้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอหรือไม่ จึงทำได้โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือที่เรียกกันว่า การทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test)

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย โดยการเดินสายพาน นับได้ว่าเป็นการตรวจทางหัวใจที่ให้ผลคุ้มค่า มีความปลอดภัยสูง สามารถทำได้โดยง่าย ช่วยบ่งชี้ถึงภาวะของโรคหัวใจโดยเฉพาะผู้ที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เป็นเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีประโยชน์มากชนิดหนึ่ง

 

ขั้นตอนการเดิน วิ่ง บนสายพาน

ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องแน่ใจว่าสามารถเดินหรือวิ่งได้ และก่อนเข้ารับการทดสอบควรได้นอนหลับพักผ่อนมาแล้วอย่างเพียงพอ งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 ชั่วโมง รับประทานอาหารมาแล้ว 2-3 ชั่วโมง ขณะเข้ารับการทดสอบควรสอบใส่ชุดที่เหมาะกับการวิ่งออกกำลังกาย การเดินบนสายพานจะต้องมีสายตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจติดกับตัวตลอดเวลา สายพานนี้จะปรับระดับความเร็วและความชันทุก ๆ 3นาที เพื่อให้ทราบจุดสูงสุดของสมรรถภาพหัวใจ ภายใต้การดูแลของแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่เทคนิคตลอดเวลา

 

ประโยชน์ของการตรวจด้วยเครื่องเดินบนสายพาน

• เพื่อทดสอบความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย
• เพื่อการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง
• เพื่อตรวจแยกแยะหาสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอกว่าเกิดจากโรคหัวใจหรือโรคอื่น
• เพื่อบ่งชี้ความรุนแรงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
• เพื่อติดตามผลในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
• เพื่อประเมินสภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

 

“การป้องกันและรักษาตัวเองให้แข็งแรง หมั่นออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดยังคงนับได้ว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด”

บทความล่าสุด

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร เลือกผ่าตัดแบบไหนให้เหมาะกับปัญหาข้อเข่าเสื่อม ของเรา?

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากอะไร รู้จักสังเกตอาการก่อนเป็นอันตรายถึงชีวิต

อ่านเพิ่มเติม
เลือดออกในสมอง

เข้าใจภาวะเลือดออกในสมอง วิกฤติสุขภาพที่อาจร้ายแรงถึงชีวิต

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

นพ.วิสุทธิ์ เกตุแก้ว

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ ต่างกันอย่างไร เลือกผ่าตัดแบบไหนให้เหมาะกับปัญหาข้อเข่าเสื่อม ของเรา?

ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ? สามารถแบ่งการผ่าตัดข้อเข่าเทียมออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ คือผ่าตัดใส่ผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน และการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมทั้งหมด

อ่านเพิ่มเติม
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ

เยื่อหุ้มสมองอักเสบเกิดจากอะไร รู้จักสังเกตอาการก่อนเป็นอันตรายถึงชีวิต

เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) คือภาวะที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังเกิดการอักเสบบวมจนก่อให้เกิดอาการผิดปกติ ซึ่งสาเหตุมีทั้งจากการติดเชื้อและไม่ใช่จากการติดเชื้อ

อ่านเพิ่มเติม
เลือดออกในสมอง

เข้าใจภาวะเลือดออกในสมอง วิกฤติสุขภาพที่อาจร้ายแรงถึงชีวิต

เลือดออกในสมอง (Intracerebral Hemorrhage) คือภาวะเส้นเลือดในสมองแตก ทำให้เลือดไหลไปกดทับเนื้อเยื่อสมอง และเป็นสาเหตุของความพิการหรือเสียชีวิตในที่สุด

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา