บทความสุขภาพ

Knowledge

ทันตแพทย์กับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

สวัสดีครับท่านผู้อ่านวารสาร 9 ทันโรคทุกท่าน ที่ขึ้นหัวเรื่องไว้ว่า “ทันตแพทย์กับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน”

นี้ไม่ได้หมายความว่าหมอฟันกำลังจะไปรักษาโรคกระดูกพรุน หรือเขียนบทความวิชาการเรื่องโรคกระดูก

พรุนแข่งกับอายุรแพทย์หรอกนะครับ ท่านผู้อ่านสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้ได้ในบทความอื่นๆ

ของวารสารฉบับนี้ แต่ในตอนนี้เราจะมาคุยกันเรื่องเกี่ยวกับสภาพในช่องปาก และการทำฟันในผู้ป่วยโรค

กระดูกพรุน



ดังที่ทราบกันแล้วว่าอุบัติการณ์ของโรคกระดูกพรุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกวัน และกำลังจะกลาย

เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย ผู้ป่วยเหล่านี้ส่วนหนึ่งก็คงจะต้องมาพบหมอฟันกันบ้าง โดย

ทั่วไปลักษณะในช่องปากจากการตรวจทางคลินิกก็ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยสูงอายุทั่วไปนัก แต่พอถ่ายภาพรังสี

ออกมาจะพบว่ากระดูกขากรรไกรจะอ่อนแอกว่าปกติ คือมีการบางตัวลงของชั้นคอร์เท็กซ์ซึ่งเป็นชั้นกระดูก

หนา ในส่วนเสี้ยนใยกระดูกก็จะมีน้อยกว่าปกติเช่นกัน ซึ่งผมก็มีภาพรังสีให้ดูเทียบกับของผู้ป่วยปกตินะ

ครับ ในปี 1999 มีการศึกษาของ Kingsmill เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของกระดูกแขน

ส่วนปลายกับความหนาของกระดูกขากรรไกรล่างส่วนที่รองรับฟัน พบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน

กล่าวคือในรายที่มีความหนาแน่นของกระดูกแขนน้อย ก็จะมีความหนาของกระดูกขากรรไกรล่างน้อยด้วย

นอกจากนี้ยังมีรายงานของ Jonasson และคณะในปีเดียวกันพบว่าชั้นคอร์เท็กซ์ของกระดูกขากรรไกร

ล่างของผู้ป่วยจะมีลักษณะรูพรุนมากกว่าปกติ และการสูญเสียมวลกระดูกของผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นตามอายุโดย

จะพบในผู้ป่วยหญิงมากกว่าผู้ป่วยชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่อายุเกิน 50 ปี เป็นการอธิบายผลการ

ศึกษาในสหรัฐอเมริกาซึ่งพบว่า ในผู้หญิงมักจะสูญเสียฟันก่อนผู้ชายแม้ว่าจะดูแลฟันดีกว่าก็ตาม การที่

กระดูกขากรรไกรบางกว่าปกตินี้เคยมีรายงานว่าเวลากระทบกระแทก บดเคี้ยวอาหารแข็งๆ ก็อาจทำให้

กระดูกหักได้ ดังนั้นทันตแพทย์จึงต้องระมัดระวังอย่างมากเวลาถอนฟัน มิฉะนั้นก็อาจทำให้ขากรรไกร

หักได้



ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมีโอกาสที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบ หรือที่ชาวบ้านมักเรียกว่าโรครำมะนาด

มากกว่าผู้ป่วยปกติ หลังจากสูญเสียฟันไปแล้วก็จะมีการละลายตัวของกระดูกขากรรไกรเร็วกว่าปกติ การ

จะบูรณะฟันด้วยทันตกรรมรากเทียม ก็ทำได้ค่อนข้างลำบากเนื่องจากการหายของกระดูกภายหลังการฝัง

รากเทียมไม่ดีนัก แม้โรคกระดูกพรุนจะไม่เป็นข้อห้ามสำคัญสำหรับการทำรากเทียม และยังไม่มีการ

ศึกษาว่ามวลกระดูกต่ำกว่าเท่าใดจึงไม่สามารถฝังรากเทียมได้ แต่ผู้เขียนตำราทันตกรรมรากเทียม

ส่วนใหญ่รวมทั้งตัวผมเองด้วยก็เชื่อว่าภาวะกระดูกพรุนน่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงสำหรับการฝังรากเทียมอย่าง

แน่นอน



นอกจากประเด็นที่กล่าวมาแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักได้รับยาพวกแคลเซียมทดแทน ซึ่งยาเหล่านี้อาจ

ส่งผลต่อการดูดซึมหรือมีปฏิกิริยากับยาซึ่งหมอฟันเป็นผู้จ่ายก็ได้ จึงอาจต้องมีการปรับขนาดของยาหรือ

เปลี่ยนไปใช้ยาอื่นที่เหมาะสม ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมาพบทันตแพทย์ อาจยังไม่ได้รับการ

รักษาในทันทีเพราะต้องปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลรักษาโรคกระดูกพรุนก่อน อาจต้องมีการส่งตรวจทางห้อง

ปฏิบัติการ ตรวจมวลกระดูก และการประเมินอื่นๆ เพื่อการวางแผนการรักษาร่วมกัน



สรุปได้ว่าโรคกระดูกพรุนนี้เป็นโรคที่สำคัญมากๆ และส่งผลมากต่อชีวิตประจำวัน แม้กระทั่งเรื่อง

เล็กๆ น้อยๆ เช่น การไปหาหมอฟันก็จะมีความยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าผู้ป่วยปกติ ดังนั้นทางที่ดีเรามา

ป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้กันจะดีกว่านะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

รู้จัก ASD คืออะไร? ผนังหัวใจรั่วอาการเป็นแบบไหน รักษายังไงดี

ชวนรู้จัก ASD หรือ ภาวะผนังกั้นหัวใจรั่วคืออะไร ผนังหัวใจรั่ว อันตรายไหม? มาเช็กต้นตอสาเหตุ อาการของ ASD แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลให้หัวใจห้องบนแข็งแรง!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital