Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

มะเร็งปากมดลูก โรคร้ายของผู้หญิงทุกคน

พญ.ธิษณา อนันตวัฒน์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 29 ตุลาคม 2022
มะเร็งปากมดลูก

จากข้อมูลสถิติในประเทศไทยปี 2563 พบว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิงไทย รองจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่ในระยะเริ่มแรก มักจะไม่ค่อยมีอาการ หรืออาจจะมีอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ตกขาวผิดปกติ มีเลือดปน หรือมีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เช่น ออกแบบกะปริบกะปรอย หรือเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ดังนั้นหากท่านมีอาการหรือสัญญาณเตือนที่อาจจะเกิดจากโรคมะเร็งปากมดลูก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม และป้องกันไม่ให้กลายเป็นมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม

New call-to-action

สารบัญ

  • มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร?
  • เชื้อ HPV คืออะไร?
  • อาการของมะเร็งปากมดลูก
  • มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้หรือไม่?
  • วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้จริงหรือ?
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ควรตรวจเมื่อไหร่?
  • สรุป

มะเร็งปากมดลูก เกิดจากอะไร?

ปัจจุบันพบว่าสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก คือเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า Human Papilloma Virus หรือเรียกสั้นๆว่า เชื้อ เอชพีวี (HPV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ โดยอาจจะเกิดจากการติดต่อได้หลายช่องทาง เช่น ทางปาก ทางช่องคลอด หรือ ทางทวารหนัก โดยได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อ HPV อยู่

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากสาเหตุใด

> กลับสู่สารบัญ

เชื้อ HPV คืออะไร?

ดังที่กล่าวไปแล้วว่า เชื้อ HPV คือเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูก 

เชื้อ HPV มีกว่า 100 สายพันธุ์ โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งคือสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ ตัวอย่างเช่น สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 35, 39, 45, 51, 52, 58 เป็นต้น และกลุ่มที่เป็นสายพันธุ์ความเสี่ยงหรือสายพันธุ์ที่ไม่ได้ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่อาจจะทำให้เกิดโรคอื่น เช่น โรคหูดหงอนไก่

> กลับสู่สารบัญ

อาการของมะเร็งปากมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถตรวจพบได้ในระยะก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง โดยส่วนใหญ่ระยะเริ่มแรกนี้มักจะไม่มีอาการแสดงใด ๆ ส่วนใหญ่เป็นการตรวจพบจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกประจำปี ดังนั้น สตรีในวัยเจริญพันธุ์ทั่วไปควรทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำและสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องรอให้มีอาการใด ๆ 

มะเร็งปากมดลูกอาจมีอาการดังต่อไปนี้

  1. ระยะแรกมักไม่มีอาการ
  2. เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เช่น ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือ เลือดออก กะปริบกะปรอย
  3. เลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์
  4. เลือดออกทางช่องคลอดหลังหมดประจำเดือน
  5. ตกขาว หรือระดูขาวผิดปกติ เช่น มีกลิ่น มีเลือดปน ปริมาณมากผิดปกติ
  6. ปวดหน่วงท้องน้อย
อาการของมะเร็งปากมดลูก

> กลับสู่สารบัญ

มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้หรือไม่?

เนื่องจากมะเร็งปากมดลูก เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV  ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อ HPV จึงเป็นการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก โดยแนวทางในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก 

มี 2 แนวทาง ได้แก่

  1. การป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้แก่ การฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV การป้องกันการติดเชื้อระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การมีคู่นอนคู่เดียว หรือการรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงอาหารก่อมะเร็งต่างๆ การติดเชื้อ HPV ในช่วงแรก มักจะเป็นๆ หายๆ ได้เอง หากผู้ได้รับเชื้อมีสุขภาพและมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
  2. การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบเจอได้ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง (premalignant lesions) ซึ่งระยะนี้ส่วนใหญ่มักจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น ดังนั้น จึงควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ

> กลับสู่สารบัญ

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้จริงหรือ?

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่รู้จักกันในปัจจุบัน คือวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV เนื่องจากสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งปากมดลูกคือการติดเชื้อไวรัส HPV ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV แต่เริ่มแรก จึงเป็นการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด 

ในปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV อยู่ 3 ชนิด ได้แก่

  1. วัคซีนป้องกัน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ (bivalent) ครอบคลุมสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
  2. วัคซีนป้องกัน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ (quadrivalent) ครอบคลุมสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และสายพันธุ์ 6 และ 11 ที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่
  3. วัคซีนป้องกัน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ (nonavalent) ครอบคลุมสายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58  ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และสายพันธุ์ 6 และ 11 ที่ทำให้เกิดโรคหูดหงอนไก่

โดยเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็น 2 สายพันธุ์หลักที่พบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มสายพันธุ์ความเสี่ยงสูง โดยรวมกัน พบได้ประมาณ 70% ของ HPV ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก 

ดังนั้น วัคซีน 2 สายพันธุ์ และ 4 สายพันธุ์ จะป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้ประมาณ 70% ในขณะที่วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ จะป้องกันสายพันธุ์ความเสี่ยงสูงได้เพิ่มอีกประมาณ 20% (ป้องกันได้ประมาณ 90%)

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง วัคซีน HPV

New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ควรตรวจเมื่อไหร่?

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 วิธี คือ การตรวจทางเซลล์วิทยา (cervical cytology) หรือที่รู้จักว่า PAP Test และอีกวิธีหนึ่ง คือ การตรวจหาเชื้อ HPV ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญ
ของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก โดยมีแนวทางการตรวจดังนี้

  1. เริ่มตรวจในสตรีที่มีอายุ 25 – 30 ปีขึ้นไป
  2. วิธีการตรวจอาจตรวจด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง (ตรวจทางเซลล์วิทยา หรือ ตรวจหาเชื้อ HPV) หรืออาจตรวจพร้อมกัน ที่เรียกว่า Co-test ซึ่งเป็นการตรวจที่ให้ความแม่นยำที่สุดในปัจจุบัน
  3. ระยะเวลาห่างในการตรวจ ในกรณีที่ผลตรวจเลือดเป็นปกติ แนะนำให้ตรวจทุก 2-3 ปี หรือถ้าตรวจด้วย Co-test อาจตรวจได้ทุก 3-5 ปี หรือตรวจตามที่สูตินรีแพทย์แนะนำ อย่างไรก็ตาม การตรวจภายในที่มักจะทำพร้อมกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เป็นการตรวจดูมดลูกและรังไข่ร่วมด้วย ซึ่งควรจะตรวจภายในทุกปี

ในกรณีที่ตัดมดลูกและปากมดลูกไปแล้ว อาจจะสามารถหยุดตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ ควรปรึกษาแพทย์ที่ทำการผ่าตัดอีกครั้ง ส่วนบุคคลทั่วไป อาจหยุดตรวจเมื่ออายุมากกว่า 65-70 ปีขึ้นไปได้

การตรวจคัดกรองมัเร็งปากมดลูก

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ การฉีดวัคซีน HPV และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูกได้ และหากพบความผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นอาการของมะเร็งปากมดลูก ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

New call-to-action

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

robotic-surgery

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด นวัตกรรมการแพทย์ ช่วยเพิ่มความแม่นยำ ฟื้นตัวเร็ว ลดความเสี่ยงการผ่าตัดซ้ำ

อ่านเพิ่มเติม

ทำไมกินหมูแล้วหูดับ?

อ่านเพิ่มเติม
หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.ธิษณา อนันตวัฒน์

พญ.ธิษณา อนันตวัฒน์

Obstetrics Gynecology Center

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สูตินรีเวช_1-1

ศูนย์สูตินรีเวช

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

robotic-surgery

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด นวัตกรรมการแพทย์ ช่วยเพิ่มความแม่นยำ ฟื้นตัวเร็ว ลดความเสี่ยงการผ่าตัดซ้ำ

หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น ด้วยความสามารถในการช่วยศัลยแพทย์ให้ทำการผ่าตัดได้อย่างแม่นยำ และลดระยะเวลาพักฟื้นของผู้ป่วย ซึ่งการผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียมที่ผู้ป่วยส่วนมากมักเป็นผู้สูงอายุ

อ่านเพิ่มเติม

ทำไมกินหมูแล้วหูดับ?

โรคไข้หูดับ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส (Streptococcus suis) โดยเชื้อนี้จะอยู่ในทางเดินหายใจของหมู และอยู่ในเลือดของหมูที่กำลังป่วย สามารถติดต่อสู่คนได้ 2 ทาง

อ่านเพิ่มเติม
หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Doctor’s Health Insights
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา