Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy) เป็นอย่างไร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 30 ตุลาคม 2024
เบาหวานขึ้นตา

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic retinopathy)

ตอบคำถาม Q&A จากศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลพระรามเก้า

Q1: ผู้ป่วยเบาหวานเสี่ยงตาบอด มากกว่าคนปกติเพราะอะไร

A: ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงโรคตามากขึ้น ทั้งต้อกระจก ต้อหิน เส้นประสาทตาและเส้นประสาทกล้ามเนื้อตาผิดปกติ และเบาหวานขึ้นจอตา(Diabetic retinopathy) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของตาบอดในประชากรโลกปัจจุบัน

ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน 2-3 ปี พบเบาหวานขึ้นตาร้อยละ 3-4 และเพิ่มเป็นร้อยละ 15-20 เมื่อเป็นเบาหวานนาน 15 ปี

Q2: สาเหตุของเบาหวานขึ้นตา

A: ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงทำลายผนังหลอดเลือดในจอประสาทตา ทำให้เกิดโป่งพอง อุดตัน มีการรั่วซึมของสารน้ำและเม็ดเลือด เกิดจอประสาทตาบวม จอตาขาดเลือดจึงงอกเส้นเลือดใหม่ซึ่งเปราะ แตกง่ายเกิดเลือดออกเข้าวุ้นตาทำให้ตามัวจนถึงตาบอด หรือเกิดพังผืดดีงรั้งจอตาทำตาบอดได้เช่นกัน

Q3: ป้องกันเบาหวานขึ้นตาได้อย่างไร

A: ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด และความดันโลหิตให้ปกติ

Q4: การตรวจโรคเบาหวานขึ้นตาทำอย่างไร

A: แนะนำผู้ป่วยเบาหวานทุกรายตรวจตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง โดยการตรวจประกอบด้วย

– การวัดสายตา

– การวัดความดันลูกตา

– หยอดยาขยายม่านตา เพื่อให้ตรวจจอตาได้ชัดเจน ซึ่งยาทำให้ตาลายชั่วคราวประมาณ 4 ชม. ไม่สามารถขับรถได้ และรอม่านตาขยาย 1 ชม. จึงตรวจได้

– ตรวจ Slit lamb เพื่อดูกระจกตาและส่วนหน้าของตา

– ตรวจจอประสาทตาด้วย Indirect Ophalmoscope

Q5: โรคเบาหวานขึ้นตารักษาอย่างไร

A: ระยะต้น เพียงควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้ปกติ

ระยะต่อมา รักษาด้วยการฉายเลเซอร์ที่จอประสาทตา ยับยั้งไม่ให้ลุกลาม หรือการฉีดยา Anti-vascular endothelial growth factor เข้าวุ้นตา เพื่อลดการงอกของหลอดเลือดใหม่

ในรายที่มีโรคแทรกซ้อน เช่น การดึงรั้งจอประสาทตาจนหลุดลอก ต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัด เป็นต้น

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิค_1-1

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา