บทความสุขภาพ

Knowledge

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุ “ โรคปอดอักเสบ ”

จากสถานการณ์การระบาดของโรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ภายในเมืองอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน


ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส จำนวน 4,000 ราย เสียชีวิต 106 ราย จากการตรวจสอบเบื้องต้น ทางการจีนได้ดำเนินการสอบสวนโรค ซึ้งขณะนี้ มีผู้ป่วยส่วนใหญ่ทำงานในตลาดหรือมีประวัติเดินทางไปที่ตลาด South China Seafood Market ในเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นตลาดที่มีการค้าสัตว์หลายชนิด เช่น นก ไก่ฟ้า งู เครื่องในกระต่าย และสัตว์ป่าอื่นๆ แต่จากการตรวจสอบพบว่า ไม่ใช่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก อะดิโนไวรัส หรือโรคทางเดินหายใจที่พบทั่วไป เบื้อต้นจากข้อมูลกรมควบคุมโรค ได้มอบหมายให้ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ทำการเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น โดยการคัดกรองอาการไข้ และอาการที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ ในผู้ที่เดินทางจากเมืองอู่ฮั่น เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งมีหลายสายการบิน ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ และภูเก็ต สำหรับประเทศไทย ได้มีการประกาศให้โรคซาร์ส (SARS) เป็นโรคติดต่ออันตราย ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ซึ่งต้องมีการรายงานผู้ป่วยที่สงสัย ทำการแยกกัก โดยมีการเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการ และทีมสอบสวนโรคติดต่ออันตราย ซึ่งมีในทุกจังหวัด และในส่วนกลางอีก 8 ทีม


ทั้งนี้ในประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 14 ราย อยู่ระหว่างการรักษาอาการ


นอกจากนี้ ในช่วงเทศกาลตรุษจีน กระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการให้สถานพยาบาลทุกแห่งยกระดับมาตรการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก พร้อมยกระดับศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินเพื่อตอบโต้สถานการณ์เป็นระดับ 3 ทั้งเพิ่มระบบการคัดกรองที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในสนามบินทั้ง 5 แห่ง เฝ้าระวังผู้ป่วยทั้งโรงพยาบาลรัฐเอกชน มีระบบคัดแยกโรคและผู้ป่วยที่รวดเร็วจัดทีมแพทย์พยาบาลและบุคลากรที่ผ่านการอบรมรองรับเหตุ


โรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาไวรัส (Coronavirus) สายพันธุ์ใหม่นี้ อยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสที่ก่อให้เกิด โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS) หรือโรคทางระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง พบการติดเชื้อนี้ได้เฉพาะในสัตว์ที่มีขนาดเล็ก แต่มีการกลายพันธุ์ เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ขึ้น และแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว ในช่วงแรกผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส หรือมีอาการติดเชื้อที่ปอดและทางเดินหายใจ เช่น ไอแห้ง หายใจเหนื่อยหอบ โดยสถานการณ์ของโรคซาร์ส (SARS) ในประเทศไทย พบว่า ไม่เคยมีรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคซาร์สภายในประเทศ ยกเว้นเจ้าหน้าที่องค์การอนามัยโลกที่ป่วยด้วยโรคซาร์ส และเดินทางเข้ามารับการรักษาที่ประเทศไทย โดยไม่มีการติดเชื้อรายใหม่เพิ่มเติม สำหรับประเทศจีน เคยมีโรคซาร์สระบาดเมื่อปี 2546 ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 349 ราย


คำแนะนำสำหรับผู้ที่จะเดินทางจากประเทศไทยไปยังประเทศที่มีรายงานผู้ติดเชื้อ


เนื่องจากองค์การอนามัยโลกยังไม่มีประกาศห้ามการเดินทางไปยังพื้นที่ดังกล่าว ดังนั้นผู้ที่จะเดินทางสามารถเดินทางไปได้ แต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังนี้


  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่มีมลภาวะเป็นพิษ
  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปตลาดค้าสัตว์มีชีวิต การสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับสัตว์
  • หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอด้วยน้ำ และสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลล้างมือ
  • ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ผ้าเช็ดตัว
  • รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ

นอกจากนี้ สำหรับคนที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง โดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ หากมีอาการเริ่มป่วย เช่น มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ขอให้รีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เนื่องจากมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนปอดบวมได้ ประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

รู้จัก ASD คืออะไร? ผนังหัวใจรั่วอาการเป็นแบบไหน รักษายังไงดี

ชวนรู้จัก ASD หรือ ภาวะผนังกั้นหัวใจรั่วคืออะไร ผนังหัวใจรั่ว อันตรายไหม? มาเช็กต้นตอสาเหตุ อาการของ ASD แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลให้หัวใจห้องบนแข็งแรง!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital