Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

“กระดูกข้อมือหัก” ตำแหน่งที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

ผศ.นพ.อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 14 ตุลาคม 2023

การหกล้ม หนึ่งในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้ทุกที่ทุกเวลา เมื่อเราหกล้มเรามักใช้มือในการป้องกันการกระแทกส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้น กระดูกข้อมือหัก จึงกลายเป็นตำแหน่งที่พบได้บ่อยอันดับต้นๆ ไม่ว่าจะในคนอายุเท่าใดก็ตาม และมือก็เป็นอวัยวะสำคัญที่เราต้องใช้เป็นประจำทุกวัน กระดูกข้อมือหักจึงส่งผลกระทบต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันอย่างมาก  การดูและรักษาที่เหมาะสมเมื่อเกิดกระดูกข้อมือหักจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น เพื่อให้เราสามารถกลับมาใช้งานมือได้ใกล้เคียงเดิมมากที่สุด

การรักษากระดูกข้อมือหัก จะเป็นการใส่เฝือกหรือการผ่าตัดดามโลหะ ต้องพิจารณาร่วมกันหลายปัจจัย เช่น ลักษณะการแตกหักเข้าไปในผิวข้อหรือนอกข้อ แตกน้อยหรือแตกละเอียด การเคลื่อนผิดรูปของส่วนที่หัก สภาวะกระดูกของผู้ป่วย ข้างที่หัก อาชีพ อายุ หรือความต้องการใช้งานของผู้ป่วย เป็นต้น

การรักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยทุกราย ควรใส่เฝือกดามส่วนที่หักไว้ให้มั่นคงก่อน เพื่อลดปวดให้แก่ผู้ป่วย รวมถึงลดการบาดเจ็บเพิ่มเติมของเนื้อเยื่อ กระดูกที่หักโดยเฉลี่ยจะเริ่มเชื่อมติดกันใช้เวลาอย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ ดังนั้นกรณีที่รักษาโดยการใส่เฝือกจึงต้องใส่ไว้อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์เช่นกัน โดยต้องระวังไม่ให้เฝือกถูกน้ำหรือเสียหาย เพราะอาจทำให้กระดูกที่หักเคลื่อนผิดรูปมากขึ้น

กรณีผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดรักษา การผ่าตัดรักษากระดูกข้อมือหักอาจทำภายใต้การระงับความรู้สึกของเส้นประสาทที่แขน หรือดมยาสลบ และเปิดแผลผ่าตัดขนาด 4-5 เซนติเมตร เข้าไปจัดเรียงกระดูกให้เข้าที่ แล้วใช้แผ่นโลหะและสกรูในการยึดตรึงกระดูกให้มั่นคงแข็งแรงใกล้เคียงก่อนแตกหักมากที่สุด ใช้เวลาผ่าตัดประมาณหนึ่งชั่วโมง หลังการผ่าตัดดามกระดูกเรียบร้อยจึงเสมือนว่ากระดูกเชื่อมติดกัน ดังนั้นผู้ป่วยจะสามารถฟื้นตัวขยับใช้งานข้อมือและนิ้วมือเบาๆได้ทันที (บางกรณีอาจมีการใส่เฝือกอ่อนดามข้อมือไว้ชั่วคราว 1-2 สัปดาห์หลังผ่าตัด)

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

ผศ.นพ.อรรถกร กาญจนพิบูลวงศ์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

1200-กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา