บทความสุขภาพ
ไขข้อสงสัย เสริมสร้างความรู้ เพื่อดูแลสุขภาพของตัวเองและครอบครัว

การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ทางเลือกควบคุมน้ำตาลสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลที่ปลายนิ้ว ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานทราบระดับน้ำตาลของตนเองเมื่อมีอาการผิดปกติต่าง ๆ ป้องกันภาวะน้ำตาลตก ช่วยให้ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดได้ดีขึ้น และลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จากโรคเบาหวาน

อวสาน น้ำตาลเทียม …. จริงหรือ?
สารให้ความหวานเป็นตัวช่วยควบคุมระดับน้ำตาลและน้ำหนัก แต่หลายคนอาจกังวลถึงผลในระยะยาวต่อสุขภาพ ล่าสุดองค์การอนามัยโลกได้แนะนำว่า สารให้ความหวานไม่ใช่ทางเลือกในการลดน้ำหนักและป้องกันโรค ควรรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลตามธรรมชาติ ลดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลแทน

แพ้การดมยาสลบจนเสียชีวิต มีจริงหรือ?
ภาวะแพ้ยาดมสลบ หรือ malignant hyperthermia เป็นภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีที่พบได้น้อยมาก แต่อันตรายถึงชีวิต ต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วน เกิดจากภาวะเมตาบอลิซึมสูงขึ้น พบในผู้ป่วยบางราย เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ดังนั้นหากมีประวัติแพ้ยาสลบต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนการผ่าตัดทุกครั้ง

Coronary calcium score ช่วยประเมินการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
การตีบตันของหลอดเลือดหัวใจเกิดจากการสะสมของไขมันและแคลเซียมในผนังหลอดเลือด การตรวจ coronary calcium score ช่วยบอกระดับของแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ ประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้

เช็กอาการและเข้าใจโรคไทรอยด์แต่ละประเภท
ต่อมไทรอยด์มีหน้าที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการเผาผลาญพลังงานและควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกาย ส่งเสริมการเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมองและระบบประสาท หากต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติจะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายตามไปด้วย

โรคต้อหิน ภัยเงียบที่อาจทำให้ตาบอดได้
โรคต้อหินโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในระยะยาว โดยผู้ป่วยจะค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นจนทำให้การมองเห็นลดลง และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตหากทิ้งไว้จนอาการรุนแรงอาจถึงขั้นตาบอดถาวรได้

เข้าใจโรคหัวใจ รู้ก่อน รักษาทัน ป้องกันได้
โรคหัวใจ (heart disease) คือโรคหรือความผิดปกติที่เกิดกับหัวใจทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจแบ่งได้เป็นหลายโรค ซึ่งมีสาเหตุและอาการแตกต่างกัน การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจต้องอาศัยการตรวจร่างกาย การซักประวัติ และการตรวจพิเศษเฉพาะทางโรคหัวใจ การดูแลตัวเอง สังเกตอาการผิดปกติที่เข้าข่ายอาการของโรคหัวใจ การตรวจคัดกรองโรคหัวใจเป็นประจำสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้

การดูแลสุขภาพและการปฏิบัติตัวหลังการปลูกถ่ายไต
หลังการปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตเพื่อป้องกันภาวะปฏิเสธไตและต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจร่างกายและวัดระดับยากดภูมิคุ้มกัน รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

ขั้นตอนการผ่าตัดปลูกถ่ายไต การพักฟื้นร่างกาย และภาวะแทรกซ้อนที่ต้องเฝ้าระวัง
การผ่าตัดปลูกถ่ายไตถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ที่ต้องมีการเตรียมตัวและวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้ผลการผ่าตัดดีที่สุด โดยในระยะผ่าตัดและหลังผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนซึ่งผู้ป่วยจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์อย่างไกล้ชิด