Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
  • TH
    • EN
    • CN
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรคงูสวัดและวัคซีนป้องกันงูสวัดรุ่นใหม่

พญ.อังสนา ภู่เผือกรัตน์, พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 18 พฤศจิกายน 2023
โรคงูสวัดและวัคซีนป้องกันงูสวัด

โรคงูสวัด

โรคงูสวัด (herpes zoster หรือ shingles) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส varicella-zoster โดยการติดเชื้อครั้งแรกทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส (chickenpox) มักเป็นในวัยเด็ก และเชื้อไวรัสนี้แฝงอยู่ในร่างกายบริเวณปมประสาท เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง ไวรัสนี้จะก่อให้เกิดโรคงูสวัดได้ โดยกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตนเอง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น

อาการของโรคงูสวัด

มีผื่นผิวหนัง ร่วมกับเส้นประสาทอักเสบ โดยผื่นเริ่มเป็นตุ่มแดง เป็นกระจุกตามแนวเส้นประสาท ไม่ข้ามแนวกลางลำตัว ต่อมากลายเป็นตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด รวมกับอาการปวดประสาท ปวดแสบปวดร้อน ซึ่งส่วนใหญ่มักปวดนำมาก่อนผื่นผิวหนัง 2-3 วัน อาจมีไข้ ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ และอ่อนเพลียร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อนของโรคงูสวัด

  • อาการปวดปลายประสาทหลังงูสวัด (postherpetic neuralgia) ตามแนวที่ตุ่มน้ำขึ้น มักปวดนานเกิน 3 เดือน มักพบมากขึ้นในผู้สูงอายุ หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • Herpes zoster opthalmicus เป็นการติดเชื้อที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 แขนงที่เลี้ยงตา ซึ่งหากมีการอักเสบภายในตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
  • Ramsay hunt syndrome หรือ herpes zoster oticus ติดเชื้อที่ปมประสาท และเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 อาการมาด้วยใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก ร่วมกับปวดหู และตุ่มน้ำขึ้นที่หู
  • ภาวะแทรกซ้อนระบบประสาทอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นต้น

การรักษาโรคงูสวัด

รักษาด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งควรเริ่มยาภายใน 3 วันหลังจากเริ่มมีอาการ จะได้ผลการรักษาดี รวมกับยาลดอาการปวด ในรายที่เป็นมาก มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แพทย์อาจรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้ยาฉีดต้านไวรัส

การป้องกันโรคงูสวัด

วัคซีนป้องกันงูสวัดตัวใหม่ เป็น recombinant zoster vaccine ซึ่งดีกว่าวัคซีนเดิมที่เป็นเชื้อมีชีวิตทำให้อ่อนฤทธิ์ลง (zoster vaccine live) วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัดถึง 97% ในผู้ที่มีอายุ 50-69 ปี และ 91% ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี และมีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการปวดปลายประสาทหลังงูสวัดได้ถึง 89-91% ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคงูสวัด 68-91%

ใครบ้างควรฉีดวัคซีนงูสวัด

  • ทุกคนที่อายุมากกว่า 50 ปี
  • ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง ที่มีอายุมากกว่า 19 ปี

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงเหมือนวัคซีนทั่วไป หลังฉีดควรสังเกตอาการแพ้ที่โรงพยาบาล อาการข้างเคียงที่พบ ได้แก่ อาการปวด บวม แดง บริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ ไข้หนาว คลื่นไส้ ปวดท้อง ใน 2-3 วัน  ซึ่งเป็นอาการที่ไม่รุนแรง และหายเองได้ 2-3 วัน

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน

ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนรุนแรง ตั้งครรภ์ หรือกำลังป่วยโรคงูสวัดอยู่

การฉีควัคซีน

ฉีดวัคซีน 2 เข็ม ห่างกัน 2-6 เดือน สามารถฉีดได้ในคนที่เคยเป็นโรคงูสวัดมาก่อน เคยฉีดวัคซีนงูสวัดรุ่นเดิมหรือวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน โดยควรเว้นจากวัคซีนเดิมอย่างน้อย 2 เดือนขึ้นไป

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

บทความล่าสุด

ผ่าตัดริดสีดวงทวาร

ผ่าตัดริดสีดวงทวาร

อ่านเพิ่มเติม
การตรวจหูและการได้ยิน

ตรวจหูดีอย่างไร อาการแบบไหนบ้างที่ควรตรวจหู?

อ่านเพิ่มเติม

บอกลาการพิมพ์ปากและจัดฟันแบบเดิม ๆ ตั้งแต่รู้จัก เทคโนโลยีสแกนฟันแบบดิจิทัลและจัดฟันแบบใส (Clear Aligners)

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 V
  • Praram 9 V

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.อังสนา ภู่เผือกรัตน์

พญ.อังสนา ภู่เผือกรัตน์

ศูนย์อายุรกรรม

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

พญ.ณัฐกานต์ มยุระสาคร

ศูนย์เบาหวานและเมตาบอลิก

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

ศูนย์แพทย์

ศูนย์อายุรกรรม

ศูนย์อายุรกรรม

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

ผ่าตัดริดสีดวงทวาร

ผ่าตัดริดสีดวงทวาร

โรคริดสีดวงเป็นโรคที่พบบ่อย ปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดมีการพัฒนามากขึ้น เพื่อลดอาการปวดหลังการผ่าตัด แผลหายเร็วขึ้น จึงเป็นทางเลือกรักษาที่น่าสนใจในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม
การตรวจหูและการได้ยิน

ตรวจหูดีอย่างไร อาการแบบไหนบ้างที่ควรตรวจหู?

หูเป็นอวัยวะที่ช่วยในการสื่อสาร การทำงาน และการเรียนรู้ต่าง ๆ การตรวจหูจะช่วยทำให้ตรวจพบความปกติของหูได้ก่อน ช่วยป้องกันภาวะสูญเสียการได้ยินซึ่งพบได้ในวัยเด็กแรกเกิดจนถึงวัยสูงอายุ หากมีอาการผิดปกติของหู และมีความเสี่ยงต่อภาวะสูญเสียการได้ยิน ยิ่งไม่ควรละเลยการตรวจหู เพื่อป้องกันและรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

อ่านเพิ่มเติม

บอกลาการพิมพ์ปากและจัดฟันแบบเดิม ๆ ตั้งแต่รู้จัก เทคโนโลยีสแกนฟันแบบดิจิทัลและจัดฟันแบบใส (Clear Aligners)

Praram 9 Dental Center นำเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีความก้าวหน้าและทันสมัยมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด

แพ็กเกจยอดนิยม

แพ็กเกจตรวจสุขภาพน้องใหม่วัยชิลล์

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นพี่วัยชิค

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจสุขภาพรุ่นใหญ่วัยเก๋า

รายละเอียด

ดูแพ็กเกจทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2021 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา