บทความสุขภาพ

Knowledge

คำแนะนำการปฎิบัติตัวเมื่อรักษาตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

พญ. รับพร ทักษิณวราจาร

คำแนะนำการปฎิบัติตัวเมื่อรักษาตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


การปฎิบัติตัวเมื่อรักษาตัวที่บ้าน


  1. โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบัน มักมีอาการเล็กน้อย ไม่รุนแรงและสามารถหายเองได้ที่บ้าน
  2. ผู้ป่วยโดยทั่วไปจะมีอาการเยอะสุดในระยะ 2-3 วันแรก และรู้สึกอาการดีขึ้นในหนึ่งสัปดาห์ (ยกเว้นเพียงผู้ป่วยสูงอายุ (ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี) หรือ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้, โรคอ้วน, โรคตับแข็ง และมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ที่ทำให้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่รุนแรงขึ้นได้ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรรักษาตัวในโรงพยาบาล)
  3. จุดมุ่งหมายในการรักษาด้วยยาเพียงเพื่อลดอาการต่าง ๆ ให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้น อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยที่มีอาการมากหรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่รุนแรงขึ้น
  4. ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 7 – 9 ชั่วโมง ดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้เพียงพอ ครบถ้วน
  5. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
  6. ออกกำลังกายเบา ๆ เช่นเดิน ยกขาสลับบนเตียง เป็นเวลา 6 นาทีต่อวัน, ฝึกการหายใจเข้าออกลึก ๆ โดยหายใจเข้าทางจมูกและเป่าออกทางปากช้า ๆ
  7. ดูแลสุขภาพจิตใจเพื่อช่วยรับมือกับภาวะความเครียดที่อาจจะเกิดขึ้น หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด พูดคุยกับบุคคลอื่นผ่านทางโทรศัพท์หรืการสนทนาออนไลน์

อาการที่บ่งบอกว่าแย่ลงต้องไปโรงพยาบาล


หมั่นประเมินอาการตัวเองอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการแสดงหรือสัญญาณชีพต่าง ๆ แย่ลง ควรไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์


อาการแสดงหรือสัญญาณชีพฉุกเฉินมีดังนี้


  1. รู้สึกแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
  2. สับสน ซึมลง หรือเรียกไม่รู้สึกตัว
  3. ผิวหนัง ริมฝีปาก หรือเล็บ มีสีซีดเทา
  4. วัดออกซิเจนปลายนิ้วได้น้อยกว่า 96%
  5. มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียล เป็นระยะเวลานานกว่า 24 ชั่วโมง
  6. อัตราการหายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาที

การป้องกันผู้อื่น สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


  1. ให้อยู่ที่บ้าน ไม่ควรออกไปที่ชุมชน ยกเว้นไปพบแพทย์ตามนัด และควรหลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ เช่น รถประจำทาง, รถไฟฟ้า หรือ รถแท็กซี่ทั่วไป
  2. เมื่ออยู่บ้าน ให้ท่านแยกตัวจากผู้อื่นในบ้านเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น ควรอยู่ในห้องแยกตามลำพัง และอยู่ห่างจากผู้อื่นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงการแยกรับประทานอาหารในห้องส่วนตัว เปิดกระจกให้อากาศถ่ายเทสะดวก แยกใช้ห้องน้ำจากผู้อื่นถ้าทำได้
  3. หลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ส่วนรวมในบ้าน เมื่อจำเป็นต้องใช้พยายามใช้พื้นที่ส่วนรวมให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เปิดอากาศให้ถ่ายเทในครัวหรือพื้นที่ส่วนรวม รักษาระยะห่างจากคนอื่นในครอบครัวอย่างน้อย 6 ฟุต หรือ 2 เมตร
  4. ทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย ๆ ในห้องทุกวัน เช่น ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และโต๊ะเคาน์เตอร์ต่าง ๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ 70%
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ของส่วนตัวร่วมกัน เช่น ภาชนะในการรับประทานอาหาร ผ้าเช็ดตัว เครื่องนอน และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
  6. สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องอยู่ใกล้กับผู้อื่นในบ้าน และเปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวันหรือทุกครั้งที่หน้ากากอนามัยสกปรกหรือเปียก
  7. ปิดปากและจมูกด้วยกระดาษทิชชูเมื่อมีอาการไอหรือจาม ทิ้งกระดาษทิชชู และล้างมือให้สะอาด
  8. ควรล้างมืออย่างสม่ำเสมอด้วยสบู่และน้ำอย่างน้อยเป็นเวลา 20 วินาที หรือใช้แอลกอฮอล์ล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์มากกว่า 60% แอลกอฮอล์
  9. การซักทำความสะอาดเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ควรใช้น้ำร้อน และตากให้แห้งสนิท โดยเสื้อผ้าและเครื่องนอนของผู้ป่วยสามารถซักรวมกับของผู้อื่นในบ้านได้ ยกเว้นกรณีที่มีการปนเปื้อนสารคัดหลั่งจากร่างกาย จะต้องแยกซัก
  10. ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง ให้แยกตัวและปฎิบัติตัวตามข้อปฎิบัติเมื่อรักษาตัวที่บ้าน จนครบอย่างน้อย 10 วันโดยนับจากวันแรกที่มีอาการหรือวันที่ตรวจพบเชื้อ
  11. ผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจจะมีระยะแพร่กระจายเชื้อที่นานกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยจะต้องแยกตัวและปฏิบัติตามข้อควรระวังอย่างน้อย 20 วัน

การสิ้นสุดการกักตัวรักษาตัวที่บ้าน


  1. ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง ให้แยกตัวและปฎิบัติตัวตามข้อปฎิบัติเมื่อรักษาตัวที่บ้าน จนครบอย่างน้อย 10 วันโดยนับจากวันแรกที่มีอาการหรือวันที่ตรวจพบเชื้อ
  2. ผู้ติดเชื้อที่มีอาการรุนแรง หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาจจะมีระยะแพร่กระจายเชื้อที่นานกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยจะต้องแยกตัวและปฏิบัติตามข้อควรระวังอย่างน้อย 20 วัน

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

พญ. รับพร  ทักษิณวราจาร

พญ. รับพร ทักษิณวราจาร

ศูนย์สมองและระบบประสาท

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

รู้จัก ASD คืออะไร? ผนังหัวใจรั่วอาการเป็นแบบไหน รักษายังไงดี

ชวนรู้จัก ASD หรือ ภาวะผนังกั้นหัวใจรั่วคืออะไร ผนังหัวใจรั่ว อันตรายไหม? มาเช็กต้นตอสาเหตุ อาการของ ASD แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลให้หัวใจห้องบนแข็งแรง!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital