Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

ปรับพฤติกรรมการกิน ลดความเสี่ยง กรดไหลย้อน

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 20 มกราคม 2020

กรดไหลย้อน เป็นภาวะของโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเมือง เช่น นอนน้อย ทานอาหารไม่เป็นเวลา

ทานกาแฟและน้ำอัดลม โดยอาการกรดไหลย้อนนั้น เป็นภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารที่มีความเข้มข้นสูง ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งหลอดอาหารเป็นอวัยวะที่ไม่ทนต่อกรด จึงทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร

สาเหตุของโรค มีด้วยกัน 3 สาเหตุหลักๆ คือ

  1. ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหารที่ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าในคนปกติ เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และยาบางชนิด
  2. ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานไหลลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
  3. ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง

โดยกลุ่มเสี่ยงและพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเป็นโรค ส่วนใหญ่เกิดกับคนที่มีน้ำหนักตัวมากหรือคนอ้วนมากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติครับ ซึ่งพฤติกรรมการกินอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอน จะกระตุ้นฮอร์โมนทำให้หูรูดทำงานผิดปกติ การใส่เสื้อผ้ารัดเวลานอนทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลม เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคได้

วิธีสังเกตอาการของโรคกรดไหลย้อน สามารถสังเกตง่ายๆ เราจะแสบร้อนที่หน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก มีน้ำรสเปรี้ยวหรือขมย้อนขึ้นมาในลำคอหรือปาก ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร หรืออาจจะมีอาการหืดหอบ ไอแห้งๆ เจ็บคอร่วมด้วย เพราะกรดไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียงทำให้กล่องเสียงอักเสบได้ บางรายอาจจะมีปัญหาเรื่องของฟันตามมา เนื่องจากกรดที่ไหลย้อนมา

โรคกรดไหลย้อน สามารถรักษาให้หายได้ โดยการรับประทานยากลุ่มยาลดกรด  ขณะเดียวกัน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น ลดน้ำหนัก  งดบุหรี่  งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง รับประทานอาหารแต่พออิ่ม งดอาหารมันๆ อาหารทอด หลีกเลี่ยงชากาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ คลายเครียดและออกกำลังกายเป็นประจำจะให้ผลดีมาก

สำหรับการรักษาทางการแพทย์นั้นจะดูแลตามความรุนแรงของอาการ หากเป็นอาการเบื้องต้นแพทย์จะพิจารณาให้ยาลดการอักเสบควบคู่กับยาลดกรด แต่หากมีอาการรุนแรงมากแพทย์อาจใช้การผ่าตัด เพื่อปรับหูรูดกระเพาะอาหารร่วมด้วย

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา