Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

คำถามจากกิจกรรมสัมมนา “100 เรื่องราวที่คุณแม่ตั้งครรภ์…ต้องรู้”

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 11 พฤษภาคม 2019

คำถามจากกิจกรรมสัมมนา “100 เรื่องราวที่คุณแม่ตั้งครรภ์…ต้องรู้”

1. ลูกดิ้นเยอะ เวลากลางวันหลายช่วง และกลางคืนช่วงตี2-ตี5 อยากทราบว่าเขาจะพักผ่อนพอไหม

ตอบ. ลูกดิ้นเป็นเรื่องที่ไม่มีอะไรน่ากังวลเลยค่ะ และลูกมักจะดิ้นใกล้เวลารับประทานอาหาร และเวลาอิ่มแล้ว หรือเวลามีเสียงดังรอบตัว คุณแม่จึงควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และหลีกเลี่ยงการได้ยินเสียงดังค่ะ

2. อาการเท้าบวม เดินแล้วเหมือนมีน้ำอยู่ในเท้า นอนพักเอาหมอนหนุนตอนกลางคืน ตื่นมายังบวมอยู่ อยากทราบว่าเกิดจากอะไร ผิดปกติหรือไม่

ตอบ. ถ้าเท้าบวมตอนเย็นเนื่องจากยืน เดิน ตลอดวัน และยุบตอนตื่นเช้า ถือว่าเป็นอาการปกติได้ค่ะ แต่ถ้าบวมเลยข้อเท้าขึ้นมาถึงหน้าแข้ง กดแล้วบุ๋ม และยังบวมตอนตื่นนอนตอนเช้า อาจมีภาวะครรภ์เป็นพิษ ควรไปพบแพทย์ก่อนนัดค่ะ

3. อายุครรภ์ 7- 9 เดือน เดินขึ้นสะพานลอยได้ไหม

ตอบ. ควรเลี่ยงค่ะ เพราะน้ำหนักของครรภ์อาจทำให้เสียศูนย์ และเสียการทรงตัว หรือก้าวบันไดพลาดเกิดอันตรายได้ และยังอาจเกิดอาการหน้ามืดเพราะเลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองไม่ทันค่ะ

4. ถ้าคุณแม่เป็นงูสวัดเดือนเมษายน เป็นประจำเดือนครั้งสุดท้ายเดือนมีนาคม ลูกในครรภ์มีอันตรายหรือไม่ ทั้งในเรื่องของเชื้อไวรัส และยาที่ทาน

ตอบ. การติดเชื้อและการรับประทานยา จะไม่มีผลต่อลูกในครรภ์ในช่วง 2 สัปดาห์หลังปฏิสนธิ (ก่อนถึงวันที่ควรมีประจำเดือนค่ะ) สำหรับงูสวัด ถ้าเป็นคุณหมอสูติจัดยาให้และทราบว่าตั้งครรภ์ ก็ไม่เป็นอันตรายค่ะ

5. การบล็อคหลัง ได้ทราบข่าวมาว่าบางโรงพยาบาลไม่ทำการบล็อกหลังให้แล้ว เนื่องจากการฟ้องร้อง ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไรบ้าง จริงหรือไม่ อย่างไร

ตอบ. คงเป็นเฉพาะกรณี และเฉพาะบางโรงพยาบาลที่มีข้อจำกัดในการบล็อกหลังค่ะ แต่ในโรงพยาบาลใหญ่ที่มีวิสัญญีแพทย์ที่มีความชำนาญ ก็ยังมีการให้บริการอย่างปลอดภัยตามปกติค่ะ

6. อยากสอบถามว่าถ้าคุณแม่ไม่ค่อยทานเนื้อสัตว์ จะหันมาทานอาหารเสริม สารสกัดจากถั่วเหลืองของแอมเวย์ที่เสริมโปรตีน ได้หรือไม่ค่ะ และจะเป็นอันตรายหรือไม่ค่ะ

ตอบ. อาหารเสริมหรือสารสกัด ไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ จึงต้องรับประทานตามความเชื่อค่ะ ถ้าไม่ทานเนื้อสัตว์ก็แนะนำให้ทานไข่ขาววันละ 3-4 ฟองค่ะ และถ้าทานปลาได้ ก็ควรให้ได้ทุกวันและเสริมวิตามิน B1-6-12 วันละ 1-2 เม็ด เพื่อชดเชยที่จะไม่ทานเนื้อหมูค่ะ

7. ถ้ามีปัญหาเคยปวดหลังจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ควรจะคลอดเองหรือผ่าคลอดดีกว่า

ตอบ. แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอกระดูก เพื่อประเมินว่ายังมีการกดทับหรือมีความเสี่ยงของการกดทับขณะครรภ์ใกล้กำหนดหรือเวลาเบ่งคลอดหรือไม่ ถ้ามีก็ควรจะผ่าตัดคลอดค่ะ

8. อัลตร้าซาวด์ สามารถตรวจความผิดปกติ ของอวัยวะภายในของทารกในครรภ์ได้หรือไม่

ตอบ.สามารถตรวจได้ แต่มีข้อจำกัดว่าอาจไม่สามารถตรวจพบความพิการได้ทั้งหมด ขึ้นกับว่าตรวจในขณะอายุครรภ์เท่าใด และทารกอยู่ในอิริยาบถที่เผยส่วนที่ต้องการตรวจได้ในจังหวะที่กำลังตรวจหรือไม่

9. บริเวณผิวหนังใกล้ช่องคลอดอับชื้นกว่าปกติคิดว่าเนื่องจากต้องปัสสาวะบ่อยทำให้มีตุ่ม (ลักษณะเหมือนยุงกัด และรู้สึกคัน) สามารถใช้แป้งเด็กทาเพื่อลดอาการคันและอับชื้นได้หรือไม่ค่ะ

ตอบ. การทาแป้งอาจเกิดการหมักหมม และเกิดการอักเสบเพิ่มเติม ควรเปลี่ยนวิธีการใช้กระดาษชำระ เพื่อกดกระดาษให้นิ่งและแน่นในบริเวณอับชื้น จนรู้สึกว่าแห้งแล้วก็เอากระดาษอออก พลิกกลับอีกด้านที่ยังแห้งกดซับนิ่งๆอีกครั้ง ไม่ควรเช็ดแบบเคลื่อนกระดาษ เพราะนอกจากไม่แห้งแล้ว อาจเกิดการแปดเปื้อนของแบคทีเรียและเชื้อรารอบทวารหนัก เข้าไปในช่องคลอด ทำให้เกิดการอักเสบและคันได้

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา