Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

สารกัมมันตรังสีกับการกินไอโอดีน

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 4 มีนาคม 2024
สารกัมมันตรังสีกับการกินไอโอดีน

เหตุการณ์กรณีที่โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นมีการระเบิดและมีความกังวลเกี่ยวกับเกิดการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี ซึ่งขณะนั้นประเทศญี่ปุ่นได้แจกจ่ายไอโอดีนให้แก่ประชาชนที่อยู่ในบริเวณพื้นที่เสี่ยง

แล้วไอโอดีนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องได้อย่างไร???…

ในร่างกายของคนเราจะมีต่อมไทรอยด์ที่ทำหน้าที่ดูดซึมสารไอโอดีน ซึ่งโดยปกติเราจะได้รับไอโอดีนจากเกลือปรุงอาหาร อาหารทะเลหรือสาหร่ายทะเล ซึ่งไอโอดีนที่เราได้รับกันมีชื่อทางเคมีว่า️โพแทสเซียมไอโอไดด์ หรือ KI

ทีนี้ปัญหาก็คือ สารกัมมันตรังสีที่รั่วไหลออกมานั้นจะมี ไอโอดีน-131 และ ซีเซียม-137 ปะปนอยู่ ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ต่อมไทรอยด์ก็จะทำการดูดซึมเช่นเดียวกัน เนื่องจากต่อมไทรอยด์ไม่มีระบบตรวจสอบว่า นี่คือไอโอดีนที่ดีหรือไม่ดี

แล้วถ้าเรากิน KI เข้าไปก่อนล่ะ ?

ร่างกายก็ยังรับไอโอดีน-131 เข้าไปอยู่ดี เพียงแต่ต่อมไทรอยด์จะไม่ดูดซึมเข้าไป…เพราะมันเต็มแล้ว เปรียบเทียบต่อมไทรอยด์เป็นคลังเก็บสินค้า เมื่อมีสินค้าลอตแรกเข้าไป จนเต็ม ก็ไม่สามารถเก็บสินค้าลอตหลังได้อีก หรืออาจจะแทรกเข้าไปได้เพียงเล็กน้อย จึงเป็นเหตุผลให้เราต้องกินไอโอดีนที่ดีไว้ก่อน เพื่อให้เจ้าตัวร้ายที่มาทีหลังไม่มีที่อยู่

แล้วเราจะต้องกินบ่อยแค่ไหน?

โดยปกติร่างกายต้องการไอโอดีนปกติหรือ KI ในปริมาณ 150 ไมโครกรัมต่อวัน ดังนั้น ไม่ว่าปริมาณสารจะรั่วไหลมากแค่ไหน เราก็ควรจะกินไอโอดีนแค่วันละหนึ่งเม็ดก็พอ … อย่าลืมนะว่าเราได้รับสารไอโอดีนจากอาหารอื่น ๆ ที่กินด้วย

แต่อย่าเข้าใจว่าการกินไอโอดีนมาก ๆ จะดี…

การได้รับไอโอดีนปริมาณสูงเป็นเวลาติดต่อกันก่อให้เกิดอันตรายได้ แทนที่จะช่วยเรื่องคอหอยพอก คุณอาจเป็นโรคคอพอกเป็นพิษโดยไม่รู้ตัว

มีผลวิจัยออกมาว่า เด็กมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่ ที่เมื่อรับสารกัมมันตรังสีเข้าไปแล้วจะกลายเป็นมะเร็งไทรอยด์ โดยเฉพาะเด็กทารก ฉะนั้นถ้ามีไอโอดีนหนึ่งเม็ด คุณก็ควรยกให้เด็กคนนั้นไปเพราะเขาจำเป็นมากกว่า ยิ่งคุณเป็นผู้ใหญ่เท่าไหร่ ต่อมไทรอยด์ของคุณก็จะแข็งแรงและเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งน้อยลง

ฉะนั้นขอมาร์คไว้สามดอกจัน *** ว่าให้กินกรณีที่ฉุกเฉินจริง อยู่ในพื้นที่เสี่ยงจริง ๆ และไม่มีทางเลือกจริง ๆ คงไม่มีใครอยากให้สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายหรอกใช่ไหมคะ แม้สิ่งนั้นเราจะเรียกมันว่า ‘ยา’ ก็ตาม

และอย่าลืมว่าไอโอดีนที่กินเข้าไปไม่ใช่ยาวิเศษ มันอาจป้องกันโรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์จากกัมมันตรังสีได้ แต่ไม่ได้ป้องกันคุณจากมะเร็งอื่น ก็สารกัมมันตรังสีที่ออกมาไม่ได้มีแต่ไอโอดีน เพราะฉะนั้นทางที่ดี พยายามอย่าสัมผัสกับสารพิษเป็นดีที่สุด หรือถ้าสัมผัสไปก็อย่าลืมรีบกลับมาล้างเนื้อล้างตัวให้สะอาด

แต่อย่าเพิ่งตกใจไป!! นี่เป็นแค่เรื่องทางทฤษฎีที่ควรรู้ไว้ แต่โอกาสที่เราจะสัมผัสสารกัมมันตรังสีในปริมาณที่สูงจนเกิดปัญหามีน้อยมาก

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา