Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

การตรวจหัวใจในผู้สูงอายุ มีขั้นตอนสำคัญอย่างไรบ้าง

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 7 ตุลาคม 2024
การตรวจหัวใจในผู้สูงอายุ

เมื่อคนอายุมากขึ้นโรคที่เกิดจากหัวใจและหลอดเลือดจะเพิ่มมากขึ้น

โดยสามารถจะแบ่งเป็นกลุ่มดังนี้

1. เกิดจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งทำให้เส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน และกล้ามเนื้อ
หัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ตาโป่งพอง (Aortic Aneurysm)
2. โรคความดันโลหิตสูง ในคนที่อายุเกิน 65 ปี อาจพบว่าความดันโลหิตสูงกว่า 140/90 มม.ปรอท ถึง 50%
3. การทำงานของหัวใจล้มเหลว (Congestive heart farilure) ซึ่งมีสาเหตุหลายอย่าง ทำให้เกิดอาการ
เหนื่อยง่าย
4. โรคของลิ้นหัวใจตีบหรือรั่ว โดยเฉพาะลิ้นหัวใจเอออร์ตา เนื่องจากมีการเสื่อมของลิ้นหัวใจและมีแคลเซียม
มาจับ
5. โรคหัวใจเนื่องจากการเต้นที่ผิดจังหวะ

คนไข้บางคนอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลย เช่น โรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการผิดปกติเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ในคนไข้ที่กล้ามเนื้อหัวใจทำงานลดลงไม่มาก อาจไม่มีอาการเหนื่อยง่ายเนื่องจากคนสูงอายุไม่ได้
ทำงานหนัก

 

การตรวจเช็กหัวใจจึงมีความจำเป็น และการตรวจพื้นฐานจะประกอบด้วย

1. การตรวจร่างกายระบบหัวใจ และการวัดความดันโลหิต
2. ตรวจเลือดดูภาวะไขมันในเลือดสูงและเบาหวาน
3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (E.K.G.) และเอกซเรย์ปอดดูขนาดหัวใจ

 

ส่วนในคนที่สงสัยว่าจะมีโรคหัวใจจะสามารถตรวจพิเศษ ดังนี้

1. การวิ่งทดสอบสมรรถภาพหัวใจ (Exercise Stress Test) เพื่อดูการทำงานของหัวใจ และดูว่ามีกล้าม
เนื้อหัวใจขาดเลือดหรือไม่เวลาออกกำลัง
2. การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) จะสามารถดูขนาดของหัวใจ ความหนาของ
กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจทั้ง 4 ลิ้นว่ามีมีลิ้นตีบหรือรั่วหรือไม่ ดูการบีบตัวของหัวใจ
3. การบันทึกการเต้นหัวใจ 24 ชั่วโมง (24 hours holter monitoring) ในกรณีที่สงสัยหัวใจเต้นผิดจังหวะ
หรือสงสัยว่าอาการเป็นลมหมดสติเกิดจากหัวใจเต้นช้ามาก นอกจากนี้ยังสามารถดูการขาดเลือดของกล้ามเนื้อ
หัวใจระหว่างที่ติดเครื่องไว้

การตรวจโดยวิธีพิเศษนี้ แต่ละวิธีจะมีข้อดีข้อต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจ

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา