สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า
ศูนย์การแพทย์
โรงพยาบาลพระรามเก้า

หัวใจ เป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือด ไหลเวียนผ่านหลอดเลือดไปทั่วร่างกาย ดังนั้นหากเกิดโรคหรือภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจหรือหลอดเลือด จึงส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายหรือกระทั่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ทันที
9 เรื่องเล่าจากเรื่องจริง"โรคหัวใจ"
ในประเทศไทยอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากท่านเป็นผู้มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการที่น่าสงสัยว่าอาจสัมพันธ์กับโรคหัวใจ จึงควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ
อาการที่สัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่
- แน่นหน้าอก จุกลิ้นปี่
- ใจสั่น
- หายใจไม่ออก
- เหนื่อยง่าย แม้จะอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ออกแรงหรือทำงานก็เหนื่อย
- ออกกำลังกายแล้วแน่นหน้าอก
- เวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
- ใจเต้นเร็วผิดปกติ
- น้ำหนักตัวเพิ่ม เท้าหรือข้อเท้าบวมมากขึ้น
- นอนราบไม่ได้
- ต้องตื่นขึ้นมาหายใจหอบตอนกลางคืน
- เหงื่อออกง่าย ตัวเย็น
ควรหมั่นสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการต่าง ๆ ดังกล่าวนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะท่านอาจมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรงพยาบาลพระรามเก้าได้เห็นถึงความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจ และ ตระหนักถึงอันตรายของโรคดังกล่าวที่ต้องการการวินิจฉัยที่ รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ พร้อมรับมือกับทุกเหตุการณ์ฉุกเฉิน จึงได้พัฒนาเพิ่มศักยภาพจากศูนย์หัวใจสู่การพัฒนาเป็น “สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า” เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ
สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า มีความพร้อมในทุกด้านไม่ว่าจะเป็น การบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้น การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาหัวใจอย่างละเอียด ด้วยวิธีการและอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ครบถ้วน ทันสมัย ได้มาตรฐานสากล เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยในการรักษา ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ และการส่งเสริมการดูแลเชิงป้องกันควบคู่ไปด้วย
เรามีบุคลากรที่ชำนาญการเฉพาะทาง ทั้งทีมแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในสาขาต่าง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือก พัฒนาความรู้ความสามารถและศึกษาเรียนรู้วิทยาการใหม่ ๆ สามารถให้การรักษาโรคเฉพาะทางต่าง ๆ ทางหัวใจและหลอดเลือด และคอยให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด อยู่เคียงข้างผู้ป่วยและญาติ ตั้งแต่การตรวจพบโรค ให้การรักษา ตลอดจนการฟื้นฟูหลังจากการรักษา และให้ความรู้และคำแนะนำในการปฏิบัติตัว เพื่อให้ผู้ป่วยได้อุ่นใจในการดำเนินชีวิต และมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังได้รับการรักษาแล้ว
การให้บริการของสถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า
สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า มีพร้อมด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้บริการตรวจหัวใจ และหลอดเลือด การตรวจหาปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของโรคเพื่อการป้องกันอย่างทันท่วงที ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยหัวใจและหลอดเลือด สามารถให้ข้อมูลครบถ้วนและถูกต้องในการช่วยตรวจหาร่องรอยของโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะแรกเริ่ม ก่อนมีอาการ การวินิจฉัยโรค และการเตรียมการรักษา
ด้านการตรวจวินิจฉัย
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (electrocardiography; EKG) เป็นการตรวจเพื่อดูสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจว่าเข้าข่ายเป็นโรคหัวใจหรือไม่
- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (echocardiogram) เป็นการตรวจอัลตร้าซาวด์หัวใจเพื่อตรวจดูโครงสร้างของหัวใจ การบีบตัว การคลายตัวของหัวใจ และการทำงานของลิ้นหัวใจว่าปกติหรือไม
- การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (exercise stress test; EST) โดยให้ผู้ป่วยเดินออกกำลังกายบนสายพานและติดอุปกรณ์เพื่อดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจและความดันเลือดในขณะออกกำลังกาย เพื่อทดสอบว่า ในขณะออกกำลังกายมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะเกิดขึ้นหรือไม่
- การตรวจวัดความแข็งตัวของหลอดเลือด (ankle brachial index; ABI) เพื่อประเมินการอุดตันและความยืดหยุ่นของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เช่น โดยเฉพาะที่แขนและขา สามารถใช้ในคัดกรองโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันที่มักพบในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือผู้ที่มีอาการปวดขาและช่วยบอกความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจในอนาคตได้
- การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (computed tomographic angiography; CTA) เป็นการตรวจเพื่อดูลักษณะของหลอดเลือดว่ามีลักษณะของการตีบหรือป่องโพงหรือไม่
- การตรวจหาแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ (coronary calcium score; CACs) เป็นการตรวจระดับแคลเซียม หรือหินปูนที่ผนังหลอดเลือดหัวใจที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Scan) นอกจากนี้ยังใช้ตรวจระดับหินปูนที่ลิ้นหัวใจที่อาจเป็นสาเหตุของลิ้นหัวใจตีบได้ด้วย เป็นการตรวจที่ใช้เวลาไม่นานประมาณ 10-15 นาที ใช้ปริมาณรังสีน้อย ลดความเสี่ยงต่ออันตรายจากรังสีเอกซเรย์
- การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า (cardiac magnetic resonance imaging; CMR) เป็นการตรวจโดยเครื่องเอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้าตรวจดูโครงสร้างของหัวใจ การบีบตัว การคลายตัวของหัวใจ และการทำงานของลิ้นหัวใจ โดยเป็นการตรวจที่ให้รายละเอียดที่ชัดเจนขึ้น และสามารถแยกโรคได้ดีขึ้นด้วย
ด้านการตรวจรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
- การตรวจรักษาโรคทางหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่
- ห้องตรวจโรคหัวใจผู้ป่วยนอก (OPD) ให้บริการตรวจรักษาโดยการให้ยาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
- หออภิบาลผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ (critical cardiac care unit; CCU) ให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล
- การสวนหัวใจและการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (coronary angiogram; CAG) และการขยายหลอดเลือดหัวใจผ่านสายสวนและใส่ขดลวดค้ำยัน (percutaneous coronary intervention; PCI) เป็นเทคโนโลยีการตรวจและรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งมักเรียกกันว่า ทำบอลลูนหัวใจ หรือ ใส่ขดลวดหัวใจ
- การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (permanent pacemaker; PPM) สำหรับการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นช้าจนมีอาการหน้ามืด เป็นลม
- การตรวจสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจและจี้ไฟฟ้าหัวใจ (electrophysiology study; EPS และ radiofrequency ablation; RFA) สำหรับการรักษาในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง
- การผ่าตัดหัวใจ (cardiac surgery) เป็นการผ่าตัดบายพาสของหลอดเลือดหัวใจ (CABG) โรคลิ้นหัวใจ โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นต้น
ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ
การฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ (cardiac rehabilitation) เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจหลังจากรักษาอาการหัวใจวายหรือหลังการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจเพื่อให้หัวใจกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้าได้รวบรวมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ทีมแพทย์และบุคลากรของสถาบันทุกท่านที่มีประสบการณ์ ความชำนาญ และทำงานร่วมกันเป็นทีมในการประเมินและวางแผนการรักษาให้ผู้ป่วย นอกจากการรักษาแล้ว ทีมแพทย์โรงพยาบาลพระรามเก้า ยังเน้นการดูแลปรับพฤติกรรมควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อชะลอการดำเนินโรคและป้องกันไม่ให้เกิดอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดซ้ำอีกด้วย
สถานที่ตั้ง
สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า ชั้น 3 อาคาร A โรงพยาบาลพระรามเก้า
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทรศัพท์ : 1270
Line : @pr9heartclub:

รายนามแพทย์ประจำศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้อง

รักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยการผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ
การผ่าตัดบายพาสหัวใจ คือ การต่อหลอดเลือดใหม่ให้กับเส้นเลือดหัวใจเพื่อเลี่ยงตำแหน่งที่มีการตีบหรือตัน

เส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน เกิดขึ้นได้อย่างไร ป้องกันได้หรือไม่?
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ลดโอกาสเกิดโรค เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

หน้ามืด วูบ หมดสติ อาจคร่าชีวิตคุณ จากโรคหัวใจ หรือโรคทางสมอง
อาการเฉียบพลันของหน้ามืด วูบ หมดสติ อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต หากเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือสมอง
สถาบันการแพทย์
แพทย์เฉพาะทาง
รายนามแพทย์ประจำศูนย์
บทความที่เกี่ยวข้อง

รักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ ด้วยการผ่าตัดบายพาสเส้นเลือดหัวใจ
การผ่าตัดบายพาสหัวใจ คือ การต่อหลอดเลือดใหม่ให้กับเส้นเลือดหัวใจเพื่อเลี่ยงตำแหน่งที่มีการตีบหรือตัน

เส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน เกิดขึ้นได้อย่างไร ป้องกันได้หรือไม่?
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง ลดโอกาสเกิดโรค เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที

หน้ามืด วูบ หมดสติ อาจคร่าชีวิตคุณ จากโรคหัวใจ หรือโรคทางสมอง
อาการเฉียบพลันของหน้ามืด วูบ หมดสติ อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต หากเกี่ยวกับโรคหัวใจ หรือสมอง