Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

สมองเสื่อม ออกกำลังกายสมองช่วยได้

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 12 พฤษภาคม 2019

สมองเสื่อมเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากความเสื่อมของร่างกาย โดยปกติคนวัยนี้จะมีโรคประจำตัวบ้าง เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน บางทีก็มีเส้นเลือดในสมองที่เปลี่ยนไป เส้นเลือดอุดตันเลือดเลี้ยงไม่พอ สมองก็จะทำงานไม่ได้ดีเท่าเดิม สมองเสื่อม ไม่ใช่จำไม่ได้ แต่เป็น ความคิดและอารมณ์ ด้วยจึงแสดงออกมาด้วยอาการซึมเศร้าก็มี เพราะสมองที่เสื่อมเป็นส่วนของการแสดงอารมณ์ 

ขณะที่คนปกติสมองก็จะเสื่อมไปตามวัยอยู่แล้ว แต่ผู้สูงอายุจะมีความเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป ทั้งความเสื่อมตามธรรมชาติ และอาการเจ็บป่วยตามช่วงวัย 

ข้อบ่งชี้การเกิดโรค

สมองเสื่อมเป็นโรคที่แสดงการบ่งชี้ได้หลายแบบ เช่น อาการอารมณ์แปรปรวน ความคิดไม่เฉียบแหลมเท่าเดิม สมองที่ไม่ดีเท่าเดิม ก็จะเสียความมั่นใจไป ส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ หรือความจำไม่ดี หลงหลงลืมลืม อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่ญาติจะพามา สามีภรรยาพามา เพราะเขาผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด ถ้าเป็นมากๆ จะทำให้หลงผิดคิดไปว่า จะมีคนมาทำร้าย เป็นต้น 

การดูแลป้องกัน

กลุ่มนี้บางทีเกษียณแล้วใช้ความคิดความจำน้อยลง ก็ทำให้สมองเสื่อมเร็วขึ้นกว่าปกติ ผิดกับในช่วงวัยทำงานที่สมองได้ทำงานอยู่เสมอ ฉะนั้นการป้องกันจึงอยู่ที่การหมั่นใช้สมองอยู่เสมอ รวมถึงการเข้าสังคม จะช่วยส่งเสริมให้สมองได้มีการใช้งานอยู่เสมอ และการมีสังคมจะช่วยเรื่องโรคเครียด โรคซึมเศร้าด้วย 

การรักษาทางการแพทย์

“การออกกำลังกายสมอง” โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถใช้ยาช่วยรักษา เพื่อชะลอการเสื่อมของสมองให้ช้าลง ทำให้อาการดีขึ้นเล็กน้อย แต่ไม่สามารถทำให้หายขาดได้ นอกจากนี้ในการรักษา อาจจะใช้การฝึกกระตุ้นความคิด ด้วยการเล่นเกมส์ต่างๆ “การเล่นทายอักษร การใบ้คำ การลบเลข” 

การรักษาทางการแพทย์ เนื่องจากสมองที่เสื่อม เราไม่สามารถทำให้กับมาปกติได้อีก ฉะนั้นในการดูแลทางการแพทย์จึงมุ่งเน้นไปที่การประคองไม่ให้แย่ลงกว่าเดิม รวมถึงการรักษาตามอาการของโรค เช่น มีอาการหลงผิด หรือซึมเศร้า ก็ให้ยาแก้ไขไปตามอาการ 

เกร็ดความรู้

“อาการทางจิตนั้น บ่อยครั้งเรามักพบว่า ไม่ได้เป็นอาการป่วยที่เกิดขึ้นแบบแปลกแยก แต่มักมาควบกับอาการทางร่างกายหลายอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ฉะนั้นในการดูแลให้ได้ผล จึงต้องใช้การรักษาแบบผสมผสานในรูปแบบของทีมแพทย์ เช่น อายุรแพทย์ จิตแพทย์ แพทย์กายภาพ เป็นต้น ซึ่งการรักษาด้วยทีมแพทย์แบบบูรณาการนั้น จำเป็นจะต้องใช้ทีมแพทย์จำนวนมาก นั่นจึงเป็นสาเหตุที่คนไข้ส่วนใหญ่เลือกใช้บริการ” 

สุขภาพใจที่ดี การทำใจให้สงบเป็นสิ่งที่ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ทำได้ เนื่องจากสภาพร่างกาย และการใช้ชีวิตที่ช้าลงตามอายุที่มากขึ้น ดังนั้นเพื่อสุขภาพกาย สุขภาพใจดี ก็ย่อมทำให้มีความสุขตามไปด้วย การมีสุขภาพใจดี เริ่มด้วยการได้รับความอบอุ่นจากครอบครัว ลูกหลาน ที่ช่วยดูแลเอาใจใส่ การพบปะเพื่อนเก่า หรือการหาเพื่อนใหม่ที่วัยใกล้กันเป็นสิ่งที่สำคัญ 

นอกจากนี้การเข้าวัด หรือหาที่สงบเพื่อฟังเทศน์ นั่งสมาธิก็ทำให้จิตใจเบิกบานได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญข้อหนึ่งของผู้สูงวัยคือ ความโดดเดี่ยว ความเหงา เพราะไม่ได้ทำงานจึงไม่ค่อยได้พบปะกับผู้อื่น ในขณะที่ลูกหลานก็ต้องทำงานหรือทำธุรกิจของตนเอง ดังนั้นการเข้าหากลุ่มสังคม เพื่อมีโอกาสได้พบปะเพื่อนในวัยใกล้เคียงกัน จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ โดยมีเครือข่ายผู้สูงอายุของหน่วยงานต่างๆ กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ซึ่งสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์สมองและระบบประสาท

ศูนย์สมองและระบบประสาท

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา