Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

สุขภาพจิตเติมเต็มได้ด้วยการออกกำลังกาย

พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 12 พฤษภาคม 2019

ปัญหาสุขภาพจิต และสมองเสื่อม เป็นหนึ่งในอาการทางจิตของคนในวัยสูงอายุ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากสภาพความเสื่อมของร่างกายและความเครียดในการใช้ชีวิต ส่งผลให้เกิดอาการทางจิตต่างๆ ตั้งแต่ อาการระยะแรกเริ่ม คือ ความเครียด กระวนกระวาย ซึมเศร้า จนถึงขั้นเป็นโรคจิตแบบสมบูรณ์แบบ ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้เป็นกลุ่มอาการที่เกิดกับวัยทำงานเช่นกัน แต่ด้วยสภาวะความเครียดที่น้อยกว่า การผ่อนคลาย และสภาพร่างกายที่สมบูรณ์ทำให้อาการเหล่านั้นไม่แสดงออกมา จนเมื่ออายุมากขึ้น สารเคมีในสมองผิดปกติ อาการเครียดแบบเดิมๆ ก็ส่งผลให้เกิดความเครียดจนนำไปสู่อาการทางจิตได้

ขณะที่วัยสูงอายุ ยังมีสาเหตุที่กระทบกระเทือนจิตใจได้มาก เช่น การจากไปของคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัว ก็ทำให้เกิดความเครียดที่นำไปสู่อาการทางจิตได้ในที่สุด

ข้อบ่งชี้ของการเกิดโรค

อาการทางจิตสามารถสังเกตได้ง่ายโดยคนรอบข้าง จากความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ร้องไห้ง่าย อาการต่างๆเหล่านี้จะเป็นการแสดงออกที่ผิดปกติไปจากนิสัยเดิมๆ นอกจาก 2 ข้อข้างต้น บางครั้งคนไข้จะรู้สึกว่าการดำรงชีวิตของตนเองเปลี่ยนแปลงไป เช่น ทำงานไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม ซึ่งถ้าทราบอาการแล้วก็สามารถมาพบแพทย์ได้

การดูแลป้องกัน

ในทางการแพทย์จะวัดระดับอาการทางจิตโดยพิจารณาจากระยะเวลา 2 สัปดาห์ ถ้าคนไข้มีอาการเครียด ซึมเศร้า อย่างสังเกตได้ ทั้งจากตัวเองและคนรอบข้าง ก็ควรจะผ่อนคลายอิริยาบถจากสิ่งที่ทำอยู่ พักจากงานที่ทำอันเป็นสาเหตุของความเครียด หรือหาเวลาว่างไปออกกำลังกาย สิ่งเหล่านี้จะช่วยปลดปล่อยความเครียดออกมา ทำให้จิตใจกลับไปสู่ภาวะปกติ

ส่วนในการป้องกันนั้น เราสามารถป้องกันได้ โดยระวังไม่ให้เครียด ซึมเศร้า นอนไม่หลับ โดยการสำรวจตัวเองเป็นหลักว่า เรามีสติ มีอารมณ์อย่างไร และหมั่นตรวจสอบความคิดของตัวเองอยู่เสมอ ส่วนด้านกายภาพนั้น การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยได้มาก ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

อีกประการหนึ่งที่สำคัญ พนักงานประจำจะเผชิญกับความเครียดอยู่แสมอ ฉะนั้นต้องมีวิธีในการปลดปล่อยความเครียด ถ้าไม่ระบายออกก็จะเป็นโรคได้ ซึ่งบ่อยครั้งคนไข้ไม่รู้สึกตัว ฉะนั้นการออกกำลังกายจะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด ไม่ว่าเครียดหรือไม่เครียดก็ต้องออกกำลังกาย

ปกติความเครียดมีแบบที่แสดงอาการอย่างรุนแรง และความเครียดสะสม ซึ่งในแบบการสะสมนั้น สามารถป้องกันได้ด้วยการออกกำลังกาย ผ่อนคลายตัวเอง เช่น การทำสติ ซึ่งเป็นการปล่อยความเครียดตลอดเวลา การออกกำลังกายเป็นการปลดปล่อยความเครียดทุกวัน ถ้าเรามีสติความเครียดจะไม่สะสม แต่เราไม่สามารถมีสติได้ตลอดเวลา

การรักษาทางการแพทย์

ถ้าคนไข้มีความผิดปกติทางจิตใจนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ให้สันนิษฐานเบื้องต้นว่ามีอาการทางจิต และควรเข้ามาปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษา ซึ่งในการรักษานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ การรักษาทางชีวภาพ เช่น การใช้ยาผ่อนคลาย และส่วนที่สองคือ การพูดคุยเพื่อเข้าใจสาเหตุของปัญหา และปรับปรุงสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่เป็นต้นเหตุของปัญหา รวมถึงการทำจิตบำบัด ซึ่งในการพูดคุย เพื่อเข้าใจสาเหตุของปัญหานั้น เป็นส่วนสำคัญของการรักษาที่ทำให้การรักษาได้ผลดีขึ้น

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์

พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์

Mind Center

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

PR9-Template_mind-center-1-1_TH

Mind Center

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา