Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรคหัวใจ รวมคำถามพร้อมตอบทุกข้อสงสัย    

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 8 พฤษภาคม 2019
โรคหัวใจ ตอบคำถาม

มีคำถามว่าอายุ 40 ปี ยังไม่มีลูกหลังแต่งงานมาหลายปี อยากทำเด็กหลอดแก้วแต่กลัวว่าลูกเกิดมาจะมีปัญหาโดยเฉพาะโรคหัวใจและไม่ฉลาด

ในการทำเด็กหลอดแก้วนั้น เด็กที่โตขึ้นมายังไม่เคยมีรายงานว่ามีความผิดปกติมากกว่าเด็กที่คลอดปกติ แต่ปัญหาคือ ส่วนใหญ่แม่ที่อายุเกิน 40 ปี จากสถิติพบว่าในหญิงที่อายุมากขึ้นจะมีโอกาสของลูกจะเป็นโรคดาวน์ (Down Syndrome) มากขึ้นโดยเฉพาะหลังอายุ 35 ปีขึ้นไป และพบถึง 4% ในหญิงตั้งครรภ์อายุมากกว่า 45 ปี อย่างไรก็ตามเราสามารถตรวจโครโมโซมของเด็กในครรภ์ โดยการเจาะเอาน้ำคร่ำมาตรวจโครโมโซมว่าผิดปกติหรือไม่ได้ โดยจะตรวจตอนตั้งครรภ์ได้ 5 เดือน
ความจริงแล้วสาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดนั้นส่วนใหญ่แล้วยังไม่ทราบแน่ชัดมีทั้งเป็นผลจากความผิดปกติทางพันธุกรรมและ
จากสิ่งแวดล้อม แม่ที่มีหัวใจพิการแต่กำเนิดโอกาสจะให้กำเนิดลูกที่มีหัวใจพิการมากกว่าปกติเล็กน้อย อย่างไรก็ตามไม่ใช่เหตุผลที่จะไม่ตั้งครรภ์เนื่องจากเราพบเพียงประมาณ 2 – 10%นอกจากนี้แม่ที่มีโรคบางอย่างเช่นโรคเอส แอล อี ลูกที่เกิดมาอาจมีความผิดปกติที่หัวใจได้

สาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ซึ่งสาเหตุที่ทราบแน่ชัดในปัจจุบันนี้คือ

1. ติดหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์

โดยเฉพาะ 5 เดือนแรก ลูกที่เกิดมาอาจจะมี ศีรษะเล็ก หูหนวก ตามีต้อกระจก และโรคหัวใจ

2. แอลกอฮอล์

ทำให้การเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์ผิดปกติ และมีโรคหัวใจได้

3. ยาบางอย่าง

เช่น Lithium ซึ่งใช้รักษาโรคซึมเศร้า ยากันชัก ยารักษาสิว Retinoic acid

4. การได้รับรังสีจากเอ็กซเรย์ในขนาดสูง

จะพบว่าสาเหตุเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ และควรฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันตั้งแต่เด็ก

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา