Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

นอนกรน…เสี่ยงหัวใจหยุดเต้น

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 30 ตุลาคม 2024
นอนกรน เสี่ยงหัวใจหยุดเต้น

อ้วน นอนกรนและโรคหัวใจเกี่ยวข้องกันอย่างไร

โรคนอนกรน (Sleep apnea) จะหมายถึง การพบมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์คั่งในเลือด ตอนที่หยุดหายใจเป็นพัก ๆ ระหว่างนอนหลับเท่านั้น และการที่นอนกรนก็ไม่จำเป็นต้องเกิดภาวะผิดปกตินี้ นอกจากนี้การเกิดภาวะหยุดหายใจระหว่างนอนหลับ ก็ไม่จำเป็นต้องพบในคนที่อ้วนเท่านั้นในคนที่ผอมก็อาจเกิดความผิดปกตินี้ได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์ชัดเจน โดยใช้เครื่องมือพิเศษตรวจ (Sleep Study) ความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจจึงพบได้ เนื่องจากการหยุดหายใจระหว่างหลับและเนื่องจากโรคอ้วนเอง (ทั้งๆ ที่ไม่มีภาวะนอนกรนร่วมด้วย)

โรคนอนกรน หรือ Sleep apnea นี้จะพบว่าระหว่างที่นอนหลับแล้วมีการหยุดหายใจออกซิเจนในเลือดจะต่ำลง คาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น ความดันของทั้งหลอดเลือดแดงในปอดและร่างกายจะสูงขึ้น หัวใจจะบีบตัวส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายลดลง ในระยะแรกจะพบเฉพาะกลางคืนช่วงที่หยุดหายใจถ้าเป็นไปนาน ๆ ความผิดปกตินี้จะพบในเวลากลางวันด้วย คนไข้จะนอนหลับไม่สนิทตอนกลางคืน ทำให้ง่วงนอนและหลับมากในเวลากลางวัน ความผิดปกติจะพบว่าหัวใจเต้นช้าลงมาก บางครั้งหัวใจจะหยุดเต้นอาจนานถึง 2-13 วินาที ซึ่งอาจทำให้อาการเป็นลมหมดสติได้ อาจพบภาวะ heart block ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Prematureatrial contraction, Premature ventricular contraction. Atrial fibrillation,Ventricular Tachycardia) ซึ่งบางครั้งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ส่วนความผิดปกติในหัวใจที่เกี่ยวข้องกับอ้วนนั้น ประกอบด้วย

  1. กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ การบีบตัวลดลง การทำงานของหัวใจล้มเหลว
  2. ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจหนา การบีบตัวผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะและเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  3. โรคอ้วนทำให้ไขมันในเลือดสูง น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  4. ทำให้การหายใจลดลง (Hypoventilation) โดยไม่มีภาวะการหยุดหายใจร่วมด้วย เกิดภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์คั่ง ภาวะเป็นกรดในเลือด ถ้าสามารถลดน้ำหนักได้ ภาวะนี้จะดีขึ้นหรือหายไปได้

แนวทางการรักษา

  1. ปรับสุขภาพอนามัยการนอนหลับ นอนพักผ่อนเป็นเวลาทุกวัน ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายก่อนนอนหลับ
  2. ควบคุมน้ำหนักและออกกำลังกาย
  3. หลีกเลี่ยงในท่านอนหงาย
  4. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ บุหรี่ และยานอนหลับหรือยาที่กดประสาทส่วนกลาง
  5. ใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจขณะนอนหลับ CPAP (Continuous Posititve Airway Pressure) ซึ่งเครื่องจะอัดอากาศที่เหมาะสม ทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น
  6. Oral applicances เป็นเครื่องมือทางทันตกรรม ที่ช่วยเปิดทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น
  7. การผ่าตัด มีอยู่หลายวิธีตามตำแหน่งที่มีภาวะอุดตัน

    7.1 ช่องจมูกและหลังโพรงจมูก เช่น ผ่าตัดริดสีดวงจมูก ผ่าตัดผนังจมูกให้ตรง ลดขนาดของเยื่อบุจมูกบวมด้วยเครื่องซอมโนพลาสตี้ (Radiofrequency Volumetric Tissue Reduction)

    7.2 ผ่าตัดทอนซิลและตกแต่งบริเวณลิ้นไก่เพดานอ่อน Uvulopalatopharyngoplarty (UPPP)

    7.3 ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรมาทางด้านหน้า เพื่อเปิดช่องทางเดินหายใจให้กว้างขึ้น Maxillo-Mandibular Advancment (MM)

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

นพ.วิโรจน์ โตควณิชย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา