Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

หัวไหล่ติด ยกแขนไม่ขึ้น แก้ไขได้ ไม่ใช่เรื่องยาก

นพ.ณัฐวุฒิ ไพสินสมบูรณ์

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 22 สิงหาคม 2024
หัวไหล่ติด

หัวไหล่ติด หรือไหล่แข็ง (Frozen Shoulder) เป็นอาการที่หัวไหล่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวและและรู้สึกปวดเมื่อมีการใช้ข้อหัวไหล่ อาการนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อเคลื่อนไหวหัวไหล่ไม่ว่าจะในทิศทางไหนก็ตาม เช่น ยกแขนไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือข้างหลัง ทำให้กิจวัตรประจำวัน เช่น การแต่งตัว รับประทานอาหาร หรือแม้แต่อาบน้ำ ก็กลายเป็นเรื่องยาก อาการหัวไหล่ติด นอกจากผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บปวด ไม่สบายตัว ยังส่งถึงการใช้ชิวิตประจำวันรวมไปถึงการทำงานด้วย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาการนี้อาจยืดเยื้อและก่อให้เกิดปัญหาต่อเนื่องในระยะยาวตามมาได้

สนใจนัดหมายแพทย์

สารบัญ

  • หัวไหล่ติด อาการเป็นอย่างไร?
  • สาเหตุของหัวไหล่ติด
  • ใครบ้างที่เสี่ยงหัวไหล่ติด
  • การรักษาอาการหัวไหล่ติด
  • 6 ท่าบริหารแก้อาการหัวไหล่ติด
  • ทำอย่างไร? เพื่อป้องกันหัวไหล่ติด
  • สรุป

หัวไหล่ติด อาการเป็นอย่างไร?

หัวไหล่ติด หรือข้อไหล่ติดเป็นอาการที่ไม่สามารถยกแขนได้เต็มที่ หากพยายามยกแขนขึ้นสูงจะรู้สึกเจ็บ โดยอาการนี้เกิดขึ้นในทุกทิศทางของการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไปข้างหน้า ด้านข้าง หรือข้างหลัง ทำให้รบกวนการชีวิตประจำวันและการทำงาน อาการของหัวไหล่ติดสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะปวด: ในระยะนี้จะมีอาการปวดมาก แม้เพียงยกไหล่ขึ้นเล็กน้อย ซึ่งอาการนี้มักจะเป็นอยู่ประมาณ 2-9 เดือน
  • ระยะข้อไหล่ติด: เป็นระยะที่พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่จะลดลงอย่างมาก จะรู้สึกปวดและตึงเมื่อขยับไหล่ ทำให้เกิดปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การหยิบของ การรับประทานอาหาร อาบน้ำ และใส่เสื้อผ้า ระยะนี้อาจนานตั้งแต่ 2 เดือนถึง 1 ปีครึ่ง
  • ระยะฟื้นคืนตัว: หลังจากผ่านระยะข้อไหล่ติด ร่างกายจะเข้าสู่ระยะฟื้นคืนตัว โดยอาการจะดีขึ้นได้เอง ซึ่งอาจใช้เวลาตั้งแต่ 1 ถึง 3 ปี

> กลับสู่สารบัญ

สาเหตุของหัวไหล่ติด

สาเหตุของหัวไหล่ติดยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของอาการหัวไหล่ติดนี้ เช่น

  • การบาดเจ็บที่หัวไหล่หรือการผ่าตัด
  • การไม่ใช้หัวไหล่เป็นเวลานาน
  • โรคข้อเสื่อม
  • การอักเสบของเนื้อเยื่อ
  • โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคไทรอยด์ 

> กลับสู่สารบัญ

ใครบ้างที่เสี่ยงหัวไหล่ติด

ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดหัวไหล่ติด ได้แก่

  • ผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี
  • ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการนี้มากกว่าผู้ชาย
  • ผู้ที่มีประวัติการบาดเจ็บหรือผ่าตัดที่หัวไหล่
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวาน โรคไทรอยด์

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาอาการหัวไหล่ติด

การรักษาอาการหัวไหล่ติดสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ซึ่งแนวทางการรักษาได้แก่

  • การรับประทานยา: ยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบสามารถช่วยลดอาการปวดและการอักเสบได้
  • การฉีดยาลดการอักเสบ: การฉีดยากลุ่มต้านการอักเสบหรือสเตียรอยด์เข้าไปในข้อไหล่ เพื่อลดอาการอักเสบของเยื่อบุข้อไหล่ เมื่อการอักเสบลดลง จะช่วยให้การทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูหัวไหล่ทำได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • การทำกายภาพบำบัด: การทำกายภาพบำบัดเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของหัวไหล่
  • การผ่าตัด: ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อแก้ไข ซึ่งปัจจุบันมีเทคโนโลยีการผ่าตัดแก้หัวไหล่ติดแบบส่องกล้อง (Arthroscopic Shoulder Surgery) เป็นการผ่าตัดที่แพทย์จะทำการแก้ไขปัญหาข้อไหล่ติดโดยการส่องกล้องแล้วใช้เครื่องมือขนาดเล็กไปผ่าตัดแก้ไข ทำให้ผู้ป่วยมีแผลผ่าตัดเล็ก ฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านได้เร็วขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

6 ท่าบริหารแก้อาการหัวไหล่ติด

หากเริ่มรักษาอาการหัวไหล่ติดแต่เนิ่น ๆ อาการจะไม่รุนแรง แต่หากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่ทำกายภาพบำบัดหรือปรึกษาแพทย์ อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นจนขยับไหล่ได้น้อยลงและมีอาการปวดร่วมด้วย

การบริหารเพื่อแก้อาการหัวไหล่ติด เป็นการยืดเยื่อหุ้มข้อไหล่และเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ ซึ่งสามารถทำได้ที่บ้านโดยค่อย ๆ ยืดทีละน้อย และอาจต้องยอมให้มีอาการเจ็บบ้างเล็กน้อย โดยควรทำทุกวันจนกว่าอาการจะดีขึ้น 5 ท่าบริหารนี้จะช่วยลดอาการหัวไหล่ติดที่สามารถทำได้เองที่บ้าน

  1. ท่ายืดแขนเข้าผนัง: ยืนหันหน้าเข้าผนัง ยกแขนที่มีอาการเจ็บไปข้างหน้า เหยียดข้อศอกให้ตรง (โดยอาจใช้มือข้างที่ไม่ปวดช่วยจับ) แล้วเดินเข้าหาผนังจนปลายนิ้วแตะฝาผนัง พยายามเลื่อนปลายนิ้วให้สูงขึ้นจนรู้สึกตึงและเจ็บเล็กน้อย จากนั้นก้าวถอยหลังออกมา แล้วเดินหน้าเข้าไปใหม่ ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  2. ท่ายกแขนเหนือศีรษะ: นั่งลงบนเก้าอี้ ประสานมือทั้งสองข้างแล้วยกขึ้นเหนือศีรษะ เหยียดข้อศอกให้ตรง จากนั้นเอาแขนทั้งสองข้างแนบหู แล้วงอข้อศอกให้มือที่ประสานกันวางที่ท้ายทอย แบะศอกออกให้เต็มที่ นับ 1 ถึง 5 แล้วเหยียดข้อศอกตรงมือประสานเหนือศีรษะ ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง
  3. ท่าบิดแขน: ยืนหรือนั่ง เหยียดแขนข้างที่เจ็บตรงอยู่ระดับไหล่ งอข้อศอกให้มาแตะไหล่ข้างที่ดีและใช้มือข้างที่ดีดึงข้อศอกข้างที่เจ็บไปข้างหลัง จนมือข้างที่เจ็บแตะด้านหลังของหัวไหล่ข้างที่ดี ท่านี้จะคล้ายกับการล็อกคอตัวเอง ให้ทำเท่าที่ทำได้
  4. ท่ายืดอกเข้ามุมห้อง: ยืนหันหน้าเข้ามุมห้อง กางแขนระดับไหล่ ศอกงอ 90 องศา วางฝ่ามือบนผนังทั้งสองข้าง ก้าวขาข้างที่ไหล่เจ็บไปข้างหน้า แล้วแอ่นอกเข้าหามุมห้อง จนหัวไหล่ข้างที่เจ็บยืดจนตึงอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อย นับ 1 ถึง 5 แล้วถอยกลับ ทำซ้ำ 10 ครั้ง
  5. ท่ายกไหล่: นั่งหรือยืน ห้อยแขนข้างลำตัว เหยียดข้อศอกตรง ยักไหล่ขึ้นทั้งสองข้าง แล้วแบะไหล่ไปข้างหลังและปล่อยลง ทำซ้ำประมาณ 10 ครั้ง
  6. ท่าดึงผ้า : จับปลายผ้าทั้ง2 ข้าง โดยแขนที่ปวดอยู่ล่าง แขนปกติอยู่ด้านบน ค่อยๆใช้แขนปกติดึงขึ้นช้าๆ  ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที จากนั้นปล่อยกลับสู่ท่าเริ่มต้น  ทำซ้ำ ประมาณ 10 ครั้ง  เช้า กลางวัน เย็น

หมั่นทำซ้ำบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการหัวไหล่ติด เพื่อบรรเทาให้อาการไหล่ติดให้ดีขึ้น

> กลับสู่สารบัญ

ทำอย่างไร? เพื่อป้องกันหัวไหล่ติด

การป้องกันหัวไหล่ติดสามารถทำได้โดยการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและรักษาสุขภาพของข้อต่อให้แข็งแรง ท่าบริหารและวิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันหัวไหล่ติดมีดังนี้

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  โดยอาจเลือกการออกกำลังกายที่ใช้หัวไหล่ เช่น การว่ายน้ำ การเล่นโยคะ หรือการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อรักษาความยืดหยุ่นของหัวไหล่
  2. หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าที่ทำให้หัวไหล่เครียดหรือตึง  เช่น การนั่งทำงานนาน ๆ ควรเปลี่ยนท่าบ่อย ๆ และทำท่ายืดกล้ามเนื้อระหว่างวัน
  3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์  ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย
  4. ปรึกษาแพทย์หากมีอาการเจ็บปวดที่หัวไหล่หรือรู้สึกว่าหัวไหล่เริ่มแข็งเพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม

การปฏิบัติตัวเหล่านี้สามารถช่วยป้องกันการเกิดหัวไหล่ติดและรักษาสุขภาพของหัวไหล่ให้แข็งแรงและเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

หัวไหล่ติดเป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากทำให้การเคลื่อนไหวของหัวไหล่ถูกจำกัดและมีอาการปวดร่วมด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หากมีอาการหัวไหล่ติดดังกล่าว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม 

นอกจากนี้ การบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอและการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดหัวไหล่ติดยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดความเสี่ยงและฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ให้กลับมาเป็นปกติได้

สนใจนัดหมายแพทย์

แนะนำแพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

โปรแกรมผ่าตัดข้อไหล่

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจคัดกรองอาการปวด หลัง บ่า ไหล่

รายละเอียด

แพ็กเกจตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก Bone Mineral Density

รายละเอียด

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

นพ.ณัฐวุฒิ ไพสินสมบูรณ์

นพ.ณัฐวุฒิ ไพสินสมบูรณ์

ศูนย์กระดูกและข้อ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

1200-กระดูกและข้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา