Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

โรคต้อหิน ภัยเงียบที่อาจทำให้ตาบอดได้

นพ.ดิษณ์กร คชไกร

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 17 พฤษภาคม 2023
โรคต้อหินอาจทำให้ตาบอดได้

โรคต้อหิน เป็นโรคของดวงตาที่พบได้บ่อย มีสาเหตุมาจากเซลล์ประสาทตาถูกทำลายอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนถาวร ทำให้การมองเห็นลดลง หรือรุงแรงจนกระทั่งสูญเสียการมองเห็น โรคต้อหินสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่มักจะมีอาการ หรือสังเกตเห็นความผิดปกติในผู้สูงอายุที่อาการเป็นมากแล้ว ในคนอายุน้อยมักจะไม่ทราบว่าตนเองป่วย เนื่องจากจะไม่มีอาการ หรือยังไม่สังเกตเห็นความผิดปกติ ทำให้การมองเห็นใกล้เคียงกับหรือยังค่อนข้างปกติ แต่มีความดันตาที่เพิ่มขึ้นและส่วนใหญ่มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจสุขภาพ หรือเช็คสุขภาพประจำปี ซึ่งหากรอจนตามัวจึงมักจะสายเกินไป โรคต้อหินจึงถือเป็นภัยเงียบ ดังนั้นหากมีอาการสงสัย หรือมีปัจจัยเสี่ยงควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

สารบัญ

  • ต้อหินคืออะไร?
  • โรคต้อหินเกิดจากอะไร?
  • โรคต้อหินมีอาการอย่างไร?
  • ประเภทของโรคต้อหิน
  • การวินิจฉัยโรคต้อหิน
  • โรคต้อหินในผู้สูงอายุ
  • โรคต้อหิน กับต้อกระจก ต่างกันอย่างไร?
  • การรักษาต้อหิน
  • การป้องกันโรคต้อหิน
  • สรุป

ต้อหิน คืออะไร?

โรคต้อหิน (glaucoma) เป็นภาวะความผิดปกติของขั้วประสาทตาจากการที่เซลล์ประสาทตาถูกทำลายอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างถาวร  จนทำให้ลานสายตาค่อย ๆ แคบลง โดยเริ่มจากทางด้านข้างเข้ามาบริเวณตรงกลางของดวงตา ทำให้มีการมองเห็นลดลง หรือรุนแรงจนถึงสูญเสียการมองเห็นไปถาวร

> กลับสู่สารบัญ

โรคต้อหินเกิดจากอะไร?

โรคต้อหินสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่สำคัญคือ ความดันลูกตาที่สูง จนทำให้ลูกตาแข็งคล้ายหิน จึงเป็นที่มาของชื่อโรคต้อหิน และก็มีโรคต้อหินชนิดที่ความดันตาไม่สูง ซึ่งเชื่อว่าเกิดจาก เส้นประสาทตามีการเสื่อมตัวลงอย่างช้า ๆ จากภาวะการไหลเวียนของเลือดไม่สมบูรณ์ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยกลุ่มโรคเบาหวาน ความดัน และไมเกรน ซึ่งสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของต้อหินมักเกิดจากสาเหตุดังนี้

  • ความเสื่อมตามวัย จะสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยพบได้ในคนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป 
  • ผู้ที่มีประวัติครอบครัวป่วยเป็นโรคต้อหิน  
  • ในคนที่สายตาสั้นหรือยาวมาก ๆ (สายตาสั้นเกิน 600 หรือสายตายาว เกินกว่า 400 )
  • มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน เพราะทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอตา
  • เคยเป็นโรคทางตามาก่อน เช่น ภาวะตาติดเชื้อ หรืออักเสบในตา หรือโรคต้อกระจกที่ปล่อยทิ้งไว้นานจนเลนส์ตาสุกหรือบวม
  • เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา
  • มีประวัติใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน 
โรคต้อหิน เกิดจากอะไร?

> กลับสู่สารบัญ

โรคต้อหินมีอาการอย่างไร?

อาการของโรคต้อหินแบบเรื้อรัง

  • ในช่วงแรกผู้ป่วยโรคต้อหินจะไม่มีอาการใด ๆ เลย การมองเห็นจะเป็นปกติ สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่จะมีความดันตาที่เพิ่มขึ้น โดยไม่มีอาการแสดงอื่น ๆ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคต้อหินจะตรวจพบได้เมื่อเข้ารับตรวจสุขภาพตาประจำปี
  • จนกระทั่งถึงจุดหนึ่งที่ความดันตาที่เพิ่มขึ้นจะไปทำลายขั้วประสาทตา ทำให้เกิดเป็นอาการแสดงที่เป็นสัญญาณเตือน เช่น เริ่มรู้สึกเดินชนสิ่งของบ่อย ๆ ล้มบ่อย เกิดอุบัติเหตุรถชนบ่อยขึ้น เหล่านี้เกิดจากการที่ผู้ป่วยมองเห็นได้ไม่ชัดเจนนัก โดยอาการของโรคต้อหินจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นปี ๆ หรือ หลาย ๆ ปี 
  • ลานสายตาผู้ป่วยต้อหินจะค่อย ๆ แคบลง มองเห็นได้ไม่ชัดเจน
  • อาการจะเกิดขึ้นกับตาทั้ง 2 ข้าง โดยข้างใดข้างหนึ่งจะเป็นเยอะกว่า
โรคต้อหินมีอาการอย่างไร ?

อาการต้อหินชนิดเฉียบพลัน

หากมีอาการของโรคต้อหินแบบเฉียบพลันดังต่อไปนี้ ควรรีบเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างรีบด่วน    

  • ปวดตาทั้ง 2 ข้าง โดยอาจมีอาการปวดตาข้างใดข้างหนึ่งมากกว่า
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ตาแดง 
  • ปวดหัว
  • ปวดเบ้าตาบ่อย ๆ
  • เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ
  • ตามัวลง คล้ายมีหมอกมาบัง

> กลับสู่สารบัญ

ประเภทของโรคต้อหิน

โรคต้อหินสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. ต้อหินแบบปฐมภูมิ: เป็นโรคต้อหินที่เกิดขึ้นโดยไม่มีโรคทางตาหรือโรคทางร่างกายอยู่เดิม โดยผู้ป่วยจะมีความดันลูกตาเพิ่มขึ้น ซึ่งแบ่งย่อยตามลักษณะของโรคตามมุมตาได้ 2 ชนิด คือ

    – ต้อหินชนิดมุมตาเปิด เกิดจากทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาผิดปกติ มีการตีบแคบของท่อที่เป็นทางระบายของน้ำเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันลูกตาค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นและไปกดขั้วประสาทลูกตา ผู้ป่วยจะค่อย ๆ สูญเสียการมองเห็นอย่างช้า ๆ ใช้ระยะเป็นเดือนหรือเป็นปี หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด 

    – ต้อหินชนิดมุมตาปิด เกิดจากมีการปิดกั้นทางไหลออกของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันลูกตาเพิ่มสูงขึ้นอย่างเฉียบพลัน  ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา ตาแดง ตามัว เห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ ต้อหินชนิดนี้มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ หากผู้ป่วยเข้ามาพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที สายตาจะกลับมาเหมือนเดิม หรือสูญเสียการมองเห็นน้อยกว่าการปล่อยทิ้งไว้ 

  2. ต้อหินแบบทุติยภูมิ: เป็นโรคต้อหินที่เกิดจากโรคตาอื่น ๆ เช่น ตาอักเสบ ตาติดเชื้อ ต้อกระจก หรือเกิดตามหลังโรคประจำตัวบางโรค เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา ความดัน หรือการใช้ยาหยอดตาบางชนิด เช่น การใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ก็จะทำให้ความดันลูกตาสูงขึ้น เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต้อหินได้

  3. ต้อหินตั้งแต่กำเนิด: เป็นลักษณะต้อหินที่เกิดทางพันธุกรรม จะพบความผิดปกติตั้งแต่ในวัยทารก โดยพ่อแม่อาจจะพบว่า เด็กมีขนาดลูกตาใหญ่กว่าเด็กปกติ มีอาการกลัวแสง กระจกตาหรือส่วนของตาดำไม่ใส จนถึงขุ่นขาว มีน้ำตาไหลมากกว่าปกติ 

> กลับสู่สารบัญ

การวินิจฉัยโรคต้อหิน

จักษุแพทย์จะทำการซักประวัติ สอบถามโรคประจำตัว ซักประวัติครอบครัว ทำการวัดระดับสายตาทดสอบการมองเห็นเบื้องต้นว่าระดับสายตาปกติหรือไม่ จากนั้นจะทำการตรวจวินิจฉัยต้อหินด้วยวิธีการ วัดความดันลูกตา เพื่อพิจารณาค่าความดันตา ว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่ โดยความดันตาไม่ควรสูงเกิน 21 มม.ปรอท แพทย์อาจจะทำการตรวจความผิดปกติของขั้วประสาทตาอย่างละเอียดด้วยเครื่องสแกนวิเคราะห์ขั้วประสาทตา (optical coherence tomography) และถ่ายภาพความหนาของชั้นจอประสาทตา เพื่อระบุความเสื่อมของชั้นจอประสาทตาด้วยเครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา (fundus photography) ร่วมกับตรวจความผิดปกติของลานสายตาด้วยเครื่องมือตรวจลานสายตา ซึ่งต้องได้รับการตรวจจากจักษุแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เครื่องมือพิเศษเหล่านี้ จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคต้อหินได้อย่างชัดเจน และเพื่อติดตามการดำเนินโรคเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง

> กลับสู่สารบัญ

โรคต้อหินในผู้สูงอายุ

โรคต้อหินในผู้สูงอายุจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีความจำกัดด้านการมองเห็น โดยจะมีลานสายตาแคบลง  มองเห็นได้ไม่ชัดเหมือนเดิม ไปจนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นไปอย่างถาวร การมองเห็นของผู้สูงอายุต้อหินจะค่อย ๆ ลดลง ส่งผลทำให้การดำเนินชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุนั้นทำได้ลำบากมากขึ้น เช่น การขับรถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับรถยนต์ตอนกลางคืน การทำอาหาร หรือแม้กระทั่งการเดิน ผู้สูงอายุที่เป็นโรคต้อหินจะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มสูงมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่เป็นโรคต้อหิน ดังนั้นผู้สูงอายุจึงควรได้เข้ารับการตรวจสุขภาพตาอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการรักษาความดันตาให้อยู่ในระดับปกติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ ซึ่งจะเป็นวิธีที่ช่วยดูแลสุขภาพดวงตา ชะลอความเสื่อมของดวงตา และทำให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

> กลับสู่สารบัญ

โรคต้อหิน กับต้อกระจก ต่างกันอย่างไร?

โรคหินและโรคต้อกระจก ทั้งสองโรคเป็นโรคความเสื่อมของตาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุลักษณะอาการต้อหินจะคล้ายกับการเป็นโรคต้อกระจก และโรคตาแห้ง แต่สาเหตุของโรคและวิธีการรักษาโรคนั้นจะแตกต่างออกไป

โรคต้อกระจกเกิดจากการเสื่อมของเลนส์ตา เมื่ออายุมากขึ้นเลนส์ตาจะแข็งและขุ่น ทำให้การมองเห็นภาพมัวลง ไม่ชัด เหมือนมีฝ้าหรือมีหมอกมาบังตา อาการตามัวจะเป็นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งความขุ่นฝ้าในเนื้อเลนส์ตา

โดยอาการของโรคต้อหินและต้อกระจกจะมีอาการแตกต่างกันตามตารางต่อไปนี้

ข้อแตกต่างระหว่างต้อหิน และต้อกระจก

ต้อหินต้อกระจก
เกิดจากความเสื่อมของขั้วประสาทตาเกิดจากเลนส์ตาขุ่น
ตาค่อย ๆ มัวลงอย่าง ช้า ๆ ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่ทราบ และบอกไม่ได้ จนกว่าจะเป็นมากแล้ว ตามัว  ตาขุ่น มองเห็นภาพไม่ชัดเจน
ลานสายตาแคบลงตาสู้แสงไม่ได้
ค่าความดันตาผิดปกติ (มากกว่า 21 มม.ปรอท)มองเห็นได้ลำบากในที่ที่มีแสงน้อย
ตาแดง ปวดตาเห็นสีผิดไปจากเดิม
โรคต้อหิน กับ โรคต้อกระจก ต่างกันอย่างไร

> กลับสู่สารบัญ

การรักษาต้อหิน

เนื่องจากการสูญเสียการมองเห็นจากโรคต่อหิน ไม่สามารถรักษาให้กลับมามองเห็นได้ชัดเจนเหมือนเดิมได้ ทำให้การรักษาโรคต้อหินจะมุ่งเน้นไปที่การชะลอความเสื่อมของขั้วประสาทตา และรักษาระดับลานสายตาของผู้ป่วยให้สามารถมองเห็นให้ได้ชัดเจนมากที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุด โดยการรักษาประกอบไปด้วย 3 วิธี  คือ

  1. การใช้ยาหยอดตา เพื่อลดความดันลูกตา ปัจจุบันมียาหลายชนิดและได้ผลค่อยข้างดีเป็นวิธีที่จักษุแพทย์ส่วนใหญ่เลือกใช้
  2. การใช้เลเซอร์ เพื่อเปิดทางระบายน้ำในตา หรือเพื่อลดการผลิตสารน้ำในลูกตา ควบคุมความดันตา
  3. การผ่าตัด เพื่อสร้างทางระบายน้ำใหม่ 

โดยจักษุแพทย์จะเป็นผู้แนะนำและเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยในแต่ละราย โดยจะพิจารณาจากการดำเนินโรค อาการ และความรุนแรงของโรค 

> กลับสู่สารบัญ

การป้องกันโรคต้อหิน

เพื่อเป็นการป้องกันโรคต้อหิน จักษุแพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี เข้ารับการตรวจสุขภาพตาประจำปี โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันสูง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคต้อหินได้ 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดโรคต้อหินได้  เช่น มีประวัติญาติสายตรงเป็นโรคต้อหิน มีประวัติเคยได้รับการผ่าตัดดวงตามาก่อน หรือเคยมีโรคทางตามาก่อน มีประวัติอุบัติเหตุทางตา 

หรือมีประวัติการใช้ยาสเตียรอยด์เป็นเวลานาน 

โรคต้อหินหากตรวจพบได้เร็วก็จะสามารถควบคุมอาการไม่ให้ถึงระดับที่รุนแรงและป้องกันไม่ให้
อาการหนักถึงขั้นตาบอดถาวร

โรคต้อหินตรวจพบเร็ว ลดความเสี่ยงตาบอด

> กลับสู่สารบัญ

สรุป

โรคต้อหินนับว่าโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อการมองเห็นในระยะยาว โดยผู้ป่วยจะค่อย ๆ สูญเสียลานสายตาจากบริเวณรอบนอกเข้ามาเรื่อย ๆ จนกระทั่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว ตาเบลอ มองเห็นภาพไม่ชัด และหากปล่อยไว้จนอาการรุนแรง จะทำให้ตาบอดถาวรในที่สุด 

การตรวจพบและได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นจะเป็นการควบคุมอาการป่วยที่ดีที่สุด เนื่องจากโรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้  ดังนั้นหากตรวจพบและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว จะสามารถรักษาลานสายตาให้เสียหายน้อยที่สุด ซึ่งเป็นการทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีกว่าปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรง

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

สนใจนัดหมาย

> กลับสู่สารบัญ

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

S__32915469

นพ.ดิษณ์กร คชไกร

ศูนย์จักษุ

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

ศูนย์จักษุ_1-1

ศูนย์จักษุ

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา