Skip to content
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • TH
    • EN
    • CN
    • AR
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา
Menu
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา

Calcium Score ประเมินความเสี่ยงโรคหัวใจ

พญ.พรพิชญา บุญดี

บทความ

โรงพยาบาลพระรามเก้า

  • วันที่โพสต์ 15 ตุลาคม 2019

ปัจจุบันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบและตันเฉียบพลันเป็นการ เจ็บป่วยที่สำคัญของคนไทย โดยที่มีอัตราการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตที่เกิดจากโรคนี้มากขึ้น อาการที่สำคัญที่เกิดขึ้นคือเจ็บหน้าอก และเหนื่อย ไม่สามารถออกกำลัง หรือปฏิบัติภารกิจทางกายได้ ซึ่งมักจะเกิดจากหลอดเลือดที่ตีบ และการเสียชีวิตก็มักจะเกิดมากจากมีภาวะการตายเฉียบพลันของกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดจากหลอดเลือดที่อุดตันโดยไม่มีอาการเตือนมาก่อน

การตีบของหลอดเลือด หรือ การตันของหลอดเลือดนั้น

เกิดจากการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นภาวะเสื่อม (Degenerative Change) อย่างหนึ่งของร่างกาย โดยไขมันในผนังหลอดเลือดนี้ก็จะมีแคลเซียม หรือ หินปูน สะสมร่วมไปด้วย จนทำให้หลอดเลือดมีลักษณะแข็ง การตรวจวัดหินปูนหรือแคลเซียมที่เกาะอยู่กับหลอดเลือดหัวใจ ก็เปรียบเสมือนการตรวจวัดการเกาะหรือสะสมของไขมัน ในผนังหลอดเลือดนั่นเอง

ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจเพื่อประเมินโอกาสที่จะเกิดปัญหาจากโรคหลอดเลือดหัวใจหลายอย่างด้วยกัน อาทิเช่น การตรวจระดับไขมันในเลือด การวัดความดันโลหิต การเดินสายพาน (Exercise Stress Test) เป็นต้น การตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Calcium Detection) ก็เป็นทางเลือกหนึ่งซึ่งมีหลักฐานการศึกษาวิจัยรองรับมากมาย ว่าระดับหรือค่าที่ตรวจพบได้ สามารถทำนายโอกาสที่จะเกิดการเจ็บป่วยจากโรคหลอดเลือดหัวใจได้แม่นยำกว่าการตรวจเดี่ยววิธีอื่นๆ

CT Coronary Calcium Score

สามารถตรวจวัดระดับแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ และสามารถตรวจวัดได้ก่อนมีอาการของโรคหัวใจนานหลายปี ค่าที่วัดได้จาก CT Coronary Calcium Score นี้ จะนำไปใช้เพื่อการบอกโอกาสการเกิดหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมากขึ้นหลายเท่าตัว จึงควรได้รับการตรวจเพื่อที่จะนำข้อมูลไปประกอบการคำนวณอัตราเสี่ยงและมาตรการตรวจรักษา ป้องกัน ที่เหมาะสมกับบุคคลได้

ผู้ที่ควรตรวจ CT calcium score คือ

  • ผู้ป่วยทั่วไปที่อายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางของการเกิดโรคหัวใจ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ผู้ป่วยโรคไตวาย

บทความล่าสุด

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

อ่านเพิ่มเติม
ดูบทความทั้งหมด

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V

ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

  • Praram 9 Hospital
  • @praram9hospital

แพทย์ผู้เขียนบทความ

พญ.พรพิชญา บุญดี

พญ.พรพิชญา บุญดี

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

นัดหมาย

ประวัติเพิ่มเติม

 

ศูนย์แพทย์

สถาบันหัวใจและหลอดเลือด_1-1

สถาบันหัวใจและหลอดเลือดพระรามเก้า

เยี่ยมชม

ดูทั้งหมด

บทความอื่นๆ

หัวใจล้มเหลว

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม
ลิ้นหัวใจเทียม

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

อ่านเพิ่มเติม
บอลลูนหัวใจ

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

อ่านเพิ่มเติม
อ่านบทความทั้งหมด
Facebook-f Youtube Instagram Line
  • 1270
  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • นัดหมาย
  • บทความสุขภาพ
  • แพ็กเกจ
  • ข่าว และกิจกรรม รพ.
  • นโยบายความเป็นส่วนตัว
  • นักลงทุนสัมพันธ์
  • การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน
  • ร่วมงานกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดและเงื่อนไข

Copyright © 2025 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital

  • เกี่ยวกับเรา
  • ศูนย์การแพทย์
  • ค้นหาแพทย์
  • ห้องพัก
  • Health Guru
    • บทความสุขภาพ
    • Praram 9 Star Doctors
  • แพ็กเกจ
  • ติดต่อเรา