บทความสุขภาพ

Knowledge

การผ่าตัดประสาทหูเทียม (Cochlear Implant) สำหรับผู้สูญเสียการได้ยิน

สำหรับผู้ที่สูญเสียการได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นในภายหลัง หากสามารถทำให้คนที่สูญเสียการได้ยินเหล่านี้กลับมาได้ยินเสียงอีกครั้ง อาจเรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนชีวิตใหม่เลยทีเดียว


การผ่าตัดประสาทหูเทียม (cochlear implant) เป็นทางเลือกการรักษาที่น่าสนใจในปัจจุบัน ยิ่งในเด็กเล็กที่หูหนวกแต่กำเนิดแล้ว การได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมตั้งแต่เด็ก ๆ อาจเป็นทางเลือกที่ทำให้สามารถได้ยิน ได้เติบโต ได้เรียนรู้ เข้าสังคม พูดคุย และสื่อสารได้ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป


ปัจจุบันการผ่าตัดประสาทหูเทียมเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง ความเสี่ยงน้อย จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กวัยก่อนอนุบาล หากตรวจพบความผิดปกติทางการได้ยินได้แต่เนิ่น ๆ และเข้ารับการผ่าตัดฝังประสาทหูเทียมได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ จะยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะมีพัฒนาการการใช้ภาษาที่เทียบเท่าเด็กปกติ ยิ่งระยะเวลาที่หูหนวกสั้นลงเท่าใด ก็ยิ่งได้รับประโยชน์จากการรักษามากขึ้น


ประสาทหูเทียม (cochlear implant) คืออะไร?


ประสาทหูเทียม (cochlear implant) เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยให้การได้ยินดีขึ้นโดยทำหน้าที่ทดแทนหูชั้นใน (cochlear) บางคนอาจสับสนว่าประสาทหูเทียมคือเครื่องช่วยฟัง จริง ๆ แล้วประสาทหูเทียมไม่ใช่เครื่องช่วยฟัง เนื่องจากเครื่องช่วยฟังจะช่วยให้ได้ยินชัดเจนขึ้นโดยการขยายเสียงให้ดังขึ้นโดยไม่ได้ทำหน้าที่ทดแทนหูชั้นใน


ประสาทหูเทียม ช่วยให้ได้ยินได้อย่างไร?


ในผู้ที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรงจากสาเหตุของหูชั้นในไม่ทำงาน ประสาทหูเทียมจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณแทนหูชั้นในที่เสียไป โดยการเปลี่ยนเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าเข้าสู่เส้นประสาทการได้ยิน และส่งไปยังสมอง ทำให้เกิดการรับรู้เสียง


ส่วนประกอบของประสาทหูเทียม มีอะไรบ้าง?


ประสาทหูเทียมประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนภายนอก และ ส่วนภายใน


  1. ส่วนภายนอก เป็นส่วนที่เกี่ยวอยู่หลังหู ทำหน้าที่ประมวลเสียง เครื่องมือส่วนนี้จะมีไมโครโฟนรับคลื่นเสียง จากนั้นประมวลผลเป็นสัญญาณส่งเข้าส่วนภายใน
  2. ส่วนภายใน เป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนัง เครื่องมือส่วนนี้จะรับสัญญาณจากส่วนภายนอก และแปลงเป็นไฟฟ้าแล้วส่งผ่านสายอิเล็กโทรดเข้าสู่หูชั้นในเพื่อไปกระตุ้นเส้นประสาทรับการได้ยิน

ใครเหมาะกับการผ่าตัดประสาทหูเทียม?


  1. เด็กเล็กที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรงแต่กำเนิด ควรได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมในช่วงวัยที่สมองกำลังเรียนรู้ภาษาแรก คือ ช่วงอายุ 1 ถึง 3 ขวบ จะได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด และมีพัฒนาการด้านภาษาและสื่อสารได้เทียบเท่าเด็กปกติ และเนื่องจากช่วงเวลาทองของการรักษาอยู่ใน 3 ปีแรกเท่านั้น ดังนั้นการประเมินการได้ยินในเด็กเล็กจึงควรเริ่มทำตั้งแต่เด็กอายุ 3 ถึง 4 เดือน
  2. ผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยินอย่างรุนแรงที่หูชั้นในเสื่อมไม่ทำงานแล้ว และใช้เครื่องช่วยฟังแล้วยังไม่ได้ยิน
  3. ผู้ที่มีความพร้อมสำหรับการผ่าตัดประสาทหูเทียมและพร้อมเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินหลังการผ่าตัด

จะทราบได้อย่างไรว่าบุตรหลานของท่าน มีความบกพร่องทางการได้ยิน?


พ่อแม่หรือญาติผู้ดูแลสามารถเริ่มสังเกตพฤติกรรมการได้ยินของบุตรหลานได้ตั้งแต่ที่ยังเป็นทารก หากมีความบกพร่องทางการได้ยินจะมีลักษณะที่สังเกตได้ ดังต่อไปนี้


ในทารกวัยแบเบาะ มีลักษณะผิดปกติที่สังเกตเห็นได้ ได้แก่


  • ไม่สะดุ้งตกใจเวลาเกิดเสียงดังกะทันหัน
  • ไม่หันหาเสียงเรียก แม้ว่าอายุครบ 6 เดือนแล้ว
  • ไม่เรียก “แม่” “พ่อ” “ม้า” “ป๊า” หรือพูดคำโดดใด ๆ แม้จะอายุครบหนึ่งขวบแล้ว
  • เด็กจะหันหน้ามาหาเฉพาะเมื่อเด็กมองเห็นผู้เรียก แต่หากมองไม่เห็นผู้ถูกเรียกจะไม่หันมอง
  • เหมือนจะได้ยินเสียงเพียงบางเสียงเท่านั้น

ในเด็กเล็ก มีลักษณะผิดปกติที่สังเกตเห็นได้ ได้แก่


  • เริ่มพูดได้ช้า
  • พูดไม่ชัด
  • ไม่ทำตามคำสั่ง อาจดูเหมือนไม่สนใจหรือไม่มีสมาธิหรือทำหูทวนลม
  • พูดว่า “ฮะ?” หรือ “อะไรนะ?” บ่อย ๆ
  • เปิดเสียงทีวี ยูทูป หรือเกมดังมาก ๆ

หากพบว่ามีลักษณะผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเข้ารับการตรวจประเมินการได้ยินกับผู้เชี่ยวชาญ เพราะการได้รับการวินิฉัยที่รวดเร็ว จะนำไปสู่การรักษาและการฟื้นฟูการได้ยินที่ดีกว่า


การผ่าตัดประสาทหูเทียม (cochlear implant surgery)


บริเวณที่จะทำการผ่าตัดประสาทหูเทียม คือ บริเวณศีรษะส่วนหลังใบหู เนื่องจากประสาทหูเทียมมีทั้งส่วนภายนอกและส่วนภายใน จึงต้องมีการผ่าตัดเพื่อวางอุปกรณ์ส่วนภายในลงไปใต้ผิวหนังบนกระดูกมาสตอยด์ (กระดูกบริเวณหลังใบหู) และเจาะร้อยสายอิเล็กโทรดใส่เข้าไปในหูชั้นใน และเนื่องจากเป็นการผ่าตัดในอวัยวะที่สำคัญและละเอียดอ่อน ก่อนที่จะได้รับการผ่าตัดจึงจำเป็นที่จะต้องทำ CT scan ตรวจผลเลือด ตรวจร่างกาย ประเมินการได้ยิน และประเมินพัฒนาการและสติปัญญาในกรณีเด็กเล็ก


ผลการรักษาหลังผ่าตัดประสาทหูเทียม


หลังการผ่าตัดจะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 3-4 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเปิดการใช้งานประสาทหูเทียมได้เนื่องจากการได้ยินด้วยประสาทหูเทียมจะไม่เหมือนการได้ยินทั่วไป ผู้ได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้และฝึกฝนเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยิน เพื่อให้สามารถฟังเข้าใจและสื่อสารได้


ผลการรักษาจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นกับปัจจัยที่ส่งผลหลาย ๆ อย่าง เช่น ในเด็กที่หูหนวกแต่กำเนิด ผลการรักษาจะได้ผลดีที่สุดเมื่อได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียมตั้งแต่อายุน้อย ๆ ส่วนในผู้ใหญ่ที่สูญเสียการได้ยิน ยิ่งมีระยะเวลาที่สูญเสียการได้ยินสั้น ยิ่งให้ผลการรักษาที่ดี นอกจากนี้การร่วมมือกันของบุคคลในครอบครัวในการฝึกฝนและฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินก็มีผลต่อการรักษาเป็นอย่างมาก


หลังผ่าตัดประสาทหูเทียม ต้องดูแลและระมัดระวังอย่างไรบ้าง?


ส่วนของประสาทหูเทียมที่ต้องได้รับการดูแล คือ ส่วนภายนอก อุปกรณ์ส่วนนี้ส่วนใหญ่จะไม่กันน้ำ จึงต้องระมัดระวังไม่ให้เปียกหรือชื้น การทำความสะอาดสามารถทำได้โดยการเช็ดด้วยผ้าแห้ง เพื่อกำจัดฝุ่นและเศษสิ่งสกปรก และขณะจัดแต่งทรงผมควรครอบอุปกรณ์เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์โดนสเปรย์ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ทั้งนี้ผู้ใช้ควรใส่ประสาทหูเทียมตลอดเวลาที่ตื่นนอน เพื่อให้เกิดความคุ้นชินและสามารถรับรู้เสียงที่แตกต่างกันออกไปได้ และยังจะช่วยให้ผู้ใช้บอกได้ว่าเสียงที่ได้ยินเบาลงหรือมีคุณภาพเสียงแย่ลง ซึ่งจะทำให้ประเมินระยะเวลาการบำรุงรักษาได้อย่างเหมาะสม


ในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีอากาศร้อนชื้น เหงื่อและความชื้นอาจทำให้ต้องเปลี่ยนตัวหุ้มไมโครโฟนบ่อยครั้ง เพื่อให้ประสาทหูเทียมยังคงคุณภาพเสียงที่ดี และในส่วนประมวลเสียงของอุปกรณ์อาจต้องมีการเปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อครบอายุการใช้งาน


สรุป


ภาวะความบกพร่องทางการได้ยินในรายที่เป็นแต่กำเนิด หากพ่อแม่หรือผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติได้เร็วและรีบเข้ารับการรักษา จะทำให้เด็กสามารถได้ยินเสียงและมีพัฒนาการการเรียนรู้และการสื่อสารที่ใกล้เคียงกับเด็กปกติ ดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตลักษณะผิดปกติที่สงสัยว่าเด็กจะมีปัญหาด้านการได้ยินตั้งแต่วัยแบเบาะ หากพบความผิดปกติ การเข้ารับการรักษาภายใน 3 ขวบปีแรก จะให้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด


ในวัยผู้ใหญ่ หากมีปัญหาการได้ยินแบบรุนแรง และใช้เครื่องช่วยฟังแล้วแต่ยังคงไม่ได้ยิน การรักษาโดยการฝังประสาทหูเทียมนับว่าเป็นทางเลือกหนึ่ง ซึ่งผลการรักษาขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่สูญเสียการได้ยิน ยิ่งระยะเวลาที่สูญเสียการได้ยินสั้นก็ยิ่งให้ผลการรักษาที่ดี


ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับ Praram 9 V ปรึกษาแพทย์ได้ทุกที่ผ่านทางวิดีโอคอล (Telemedicine)

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

รู้จัก ASD คืออะไร? ผนังหัวใจรั่วอาการเป็นแบบไหน รักษายังไงดี

ชวนรู้จัก ASD หรือ ภาวะผนังกั้นหัวใจรั่วคืออะไร ผนังหัวใจรั่ว อันตรายไหม? มาเช็กต้นตอสาเหตุ อาการของ ASD แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลให้หัวใจห้องบนแข็งแรง!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital