บทความสุขภาพ

Knowledge

โรคเสื่อมสมรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction)



หมายถึง การที่อวัยวะเพศไม่สามารถแข็งตัว หรือแข็งตัวได้ไม่นานพอที่จะประกอบกิจทางเพศจนสำเร็จอุบัติการณ์ จากการสำรวจในอเมริกา ผู้ชายอายุ 40-70 ปี พบได้ 52% แบ่งตามความรุนแรงเป็น ระดับน้อย 17.2%, ปานกลาง 25.2%, รุนแรง 9.6%อุบัติการณ์พบมากขึ้นสัมพันธ์กับอายุ , โรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจ, ดัชนีความโกรธและซึมเศร้า


ลักษณะทางกายวิภาคของอวัยวะเพศ ประกอบดัวย


1. Corpus spongiosum เป็นลำ เนื้อเยื่อพรุน อ่อนนิ่ม ห่อหุ้มท่อปัสสาวะอยู่ ด้านล่าง


2. Corpus cavernosum เป็นแท่งเนื้อเยื่อพรุน ปลอกหุ้มหนา เหนียว 2 แท่งด้านบนอวัยวะเพศ เป็นส่วนที่ทำให้เกิดการแข็งตัว จากการที่เส้นใยและกล้ามเนื้อรอบเนื้อเยื่อพรุน และเส้นเลือดขยายตัว ทำให้เลือดเข้ามาคั่งภายในรูพรุน และกดทับเส้นเลือดดำไม่ให้เลือดไหลกลับ


กลไกการแข็งตัว


เมื่อมีการกระตุ้นหรือความต้องการทางเพศ จะมีการส่งสํญญาณประสาทจากสมอง

ผ่านลงมาไขสันหลังถึงระบบประสาทอัตโนมัติ Parasympathetic ที่ไขสันหลังกระเบนเหน็บ 2,3,4 เกิดการหลั่งสารNitric oxide จากเซลล์บุผนังหลอดเลือดและรูพรุนในCorpus cavernosum



Nitric oxide จะกระตุ้นการทำงานของเอนซัยม์Guanylate cyclase ทำปฏิกิริยาให้เกิดการสร้างสารcyclic Guanosine monophosophate(cGMP) จากสารGuanosine triphosphate(GTP) สารcGMP ไปเปิดช่องทางให้Calcium

เข้าสู่ที่เก็บ ซึ่งปกติสารที่ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อต้องอาศัยCalcium เป็นสะพานเชื่อม เมื่อCalcium กลับเข้าที่พัก กล้ามเนื้อของเส้นเลือดและเนื้อเยื่อพรุนของCorpus cavernosum จึงเกิดการคลายตัวให้เลือดไหลเข้ามาคั่ง


สาเหตุของการเกิดโรค

เกิดจากกระบวนการแข็งตัวที่ขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งเสียไป จำแนกเป็น


1) สาเหตุจากจิตใจ ความวิตกกังวล, ซึมเศร้า, ย้ำคิดย้ำทำ, พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ


2) สาเหตุทางกาย


2.1. ระบบหลอดเลือด Arteriosclerosis, เส้นเลือดแดงตีบ,Peyronie’disease,เบาหวาน, บุหรี่

2.2. ระบบประสาท

– สมอง Parkinson,Stroke, ยาลดความดันโลหิต

– ไขสันหลัง การบาดเจ็บ, หมอนรองกระดูกเสื่อม, เนื้องอก

– เส้นประสาทส่วนปลาย โรคพิษสุราเรื้อรัง, เบาหวาน, ขาดวิตามิน, เส้นประสาทขาด

2.3. ระบบฮอร์โมน ขาดฮอร์โมนเพศชาย, ฮอร์โมนProlactin สูง, ยาCimetidine


การรักษา


1) การรักษาทั่วไป ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, รักษาโรคที่เป็นสาเหตุ, ปรับเปลี่ยนยา


2) จิตบำบัด


3) เครื่องรัดสูญญากาศ


4) การรักษาทางยา ฮอร์โมนทดแทน ยาฉีดเข้าอวัยวะเพศ Papaverine,Phentolamine,Alprostadil(PgE1) ยาสอดท่อปัสสาวะ Alprostadil(PgE1) ยาทาผิวหนัง Minoxidil,Nitroglycerine ยารับประทาน Yohimbine,Phosphidiesteres inhibitor


5) การผ่าตัด หลอดเลือด, ฝังอวัยวะเทียม


การวินิจฉัยโรค


1) ประวัติผู้ป่วย สังคม, ทางเพศ, การเจ็บป่วย, ภรรยา


2) ตรวจร่างกาย ระบบหลอดเลือด, ประสาท, ลักษณะทางเพศ


3) การตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC,BUN,Creatinine, FBS,Cholesteral,Testosterone


4) การตรวจพิเศษเพิ่มเติม มักใช้ในรายที่การรักษาทางยาไม่ได้ผลเช่นการตรวจแข็งตัวยามวิกาล, การฉีดยาเข้าอวัยวะเพศ,

การตรวจหลอดเลือดและระบบ ประสาทเพิ่มเติม



บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน ทางเลือกรักษาข้อเข่าเสื่อม แผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว

การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน หรือ UKA เป็นการผ่าตัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยเอาผิวข้อเฉพาะส่วนที่สึกหรอออก และเก็บผิวข้อเข่าส่วนที่ยังมีสภาพดีไว้ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้เวลาปรับตัวนาน ในการกลับไปใช้ข้อเข่าได้เหมือนธรรมชาติ

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital