บทความสุขภาพ

Knowledge

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ

นพ. ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง

จิตเวช: นอน… ใครว่าไม่สำคัญ

นอน… ใครว่าไม่สำคัญ

น.พ.ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง

จิตแพทย์


เมื่อก่อนหากมีใครกล่าวว่า “ กินได้นอนหลับ ” ย่อมถือว่าโชคดีมหาศาลแล้ว ผมก็เคยเชื่อตามนั้น แต่เดี๋ยวนี้ เราคำนึงถึงคุณภาพชีวิตกันมากขึ้น มิใช่สักแต่กินจนเป็นโรคอ้วน หรือนอนหลับฝันร้าย ก็คงไม่เอาด้วย


ปัญหาการนอน เห็นทีจะปล่อยปละละเลยไม่ได้อีกแล้ว หากพิจารณาปัญหาการนอนใน เชิงปริมาณ ก็จะเป็นเรื่อง นอนไม่หลับ นอนน้อยไม่เพียงพอ และในทางตรงข้ามคือ นอนมากเกินไป ส่วนปัญหาการนอนใน เชิงคุณภาพ ก็คือ นอนฝันร้าย และนอนละเมอเดิน


อาการนอนไม่หลับ (Insomnia)


เกิดจากการเจ็บป่วยทางกาย เช่น เจ็บปวดของอวัยวะต่าง ๆ ไอหอบเหนื่อยของโรคทางปอดและหัวใจ เป็นต้น และการเจ็บป่วยทางจิตใจ เช่น เครียดวิตกกังวล ซึมเศร้า ก้าวร้าว สับสน เป็นต้น นอกจากนี้ ปัญหาการนอนไม่หลับอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงจังหวะเวลาของการตื่นหลับกะทันหัน (circadian rhythm) เช่น เดินทางโดยเครื่องบินไปต่างประเทศที่เรียกว่า Jet-lag หรือการเปลี่ยนกะทำงานจากกลางวันเป็นกลางคืน เป็นต้น ในคนอ้วน หรือทางเดินหายใจส่วนบนแคบ ก็อาจหยุดหาย ๆ เป็นพัก ๆ ทำให้ขาดออกซิเจนต้องตื่นบ่อย ๆ และบางรายนอนไม่หลับโดยไม่ทราบสาเหตุก็มี


อาการนอนหลับมากไป (Hypersomnia)


จะนอนหลับตอนกลางคืนระหว่าง 8-12 ชั่วโมง และมักงีบหลับตอนกลางวันด้วย นานกว่า 1 ชั่วโมง เมื่อตื่นก็ยังไม่สดชื่น ขาดสมาธิ ดูเหมือนเฉี่อยช้าและขี้เกียจ บางรายมีอาการ Cataplexy ร่วมด้วย กล่าวคือ เกิดภาวะที่กล้ามเนื้อของแขนขา หรือลำตัวหมดกำลัง ทำให้ทรุดตัวล้มลงทันทีทันใด ซึ่งเรียกว่า โรค Narcolepsy


อาการนอนฝันร้าย (Nightmare and sleep terror)


มักเกิดในเด็ก และเกิดขณะกำลังฝันเกี่ยวกับเรื่องราวที่เป็นอันตราย หรือภายหลังประสบเหตุการณ์ที่ร้ายแรงในชีวิต ขณะฝันร้ายอาจพูด ร้องส่งเสียงดัง หรือออกท่าทางต่าง ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ตื่นขึ้นจะรู้สึกไม่สบายใจ วิตกกังวล หรือสับสนบ้าง และอาจมีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติทำงานเพิ่มขึ้น ใจเต้นใจสั่น เหงื่อออกมาก หอบเหนื่อย หน้าตาแดง กล้าเนื้อตึงเครียด เป็นต้น


อาการนอนละเมอเดิน (Sleepwalking)


มักเกิดอาการในช่วงแรกของการหลับ โดยแสดงพฤติกรรมรูปแบบต่างๆ เช่น ลุกขึ้นนั่งบนเตียง มองไปมองมา จับผ้าห่มหรือหมอน รายที่เป็นมากจะลุกขึ้นยืน เดินไปเดินมา เดินออกนอกห้อง ขึ้นลงบันได หรือเดินออกนอกบ้าน รับประทานอาหาร พูดคนเดียว วิ่งหรือพยายามหนีจากอันตรายที่รู้สึกในขณะนั้น โดยทั่วไป


พฤติกรรมจะไม่ซับซ้อน กินเวลาหลายนาทีถึงครึ่งชั่วโมง แล้วนอนต่อจนถึงเช้า


บางรายพบว่านอนอยู่ที่อื่นที่มิใช่เตียงนอนของตนก็มี


การแก้ปัญหาการนอน ทุกรายต้องค้นหาและรักษาที่สาเหตุเสมอ ซึ่งอาจเกิดจากโรคทางกายหรือจิตใจ


  1. การรักษาอาการนอนไม่หลับ ใช้หลักสุขอนามัยของการนอน และ/หรือใช้ยาคลายกังวล ยาด้านเศร้า หรือยานอนหลับเท่าที่จำเป็น ส่วนในรายที่เปลี่ยนเวลานอน ให้ค่อย ๆ ปรับเวลานอนของตนให้ใกล้เคียงกับเวลาท้องถิ่นให้มากที่สุดและในรายที่อ้วน ให้ลดน้ำหนักลง ใช้ไม้กดลิ้นให้ทางเดินหายใจโล่ง และให้ดมออกซิเจนก่อนนอน
  2. การรักษาอาการนอนหลับมากไป อาจใช้ยากระตุ้นสมองบางชนิด ภายใต้การดูแลของแพทย์
  3. การรักษาอาการนอนฝันร้าย โดยทั่วไปถ้าอาการไม่มาก จะหายได้เอง ปลอบผู้ป่วยให้สบายใจ แต่บางรายอาจให้ยาคลายกังวลได้
  4. การรักษาอาการนอนละเมอเดิน ให้ระวังปิดประตูหน้าต่างห้องนอนเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ และให้ยาคลายกังวลร่วมด้วย

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

นพ. ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง

นพ. ประทักษ์ ลิขิตเลอสรวง

Mind Center

บทความที่เกี่ยวข้อง (10)

ดูทั้งหมด

คุณเป็นโรคภูมิแพ้…จริงหรือ…?

คนทั่วไปเมื่อมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหลเรื้อรัง หรือเป็นๆ หายๆ มักจะบอกว่า เป็นโรคภูมิแพ้ หรือไม่ก็เข้าใจว่าตนเป็นหวัด หวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัส คนทั่วไปมักเป็นได้ปีละ 4 – 5 ครั้งก็มากเกินปกติแล้ว อาการหวัดมักเป็นอยู่ 3 – 4 วัน

โรคไข้อีดำอีแดง โรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรีย

ข้อมูลจาก สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ #สเตร็ปโตคอคคัสชนิดเอ ทำให้มีผื่นแดง ตามตัวร่วมกับคอหอยหรือทอนซิลอักเสบ พบบ่อยในช่วงอายุระหว่าง 5-15 ปี

วัคซีนปอดอักเสบนิวโมคอกคัสชนิดใหม่ 20 สายพันธุ์ (PCV 20)

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอกคัสเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) ส่วนใหญ่เชื้อจะพบอยู่ในโพรงจมูกและลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งทางละอองฝอยทางการไอหรือจาม เป็นหนึ่งในเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบที่พบบ่อย ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน

โรคแอนแทรกซ์ หรือชาวบ้านเรียกว่าโรคกาลี เป็นโรคที่รู้จักกันมาแต่โบราณกาล แอนแทรกซ์นับว่าเป็นโรคระบาดสำคัญโรคหนึ่งในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ในสัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น

บอลลูนหัวใจ: แก้ปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่

การทำบอลลูนหัวใจหรือ PCI เป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ลดอาการเจ็บหน้าอก และลดความเสี่ยงของหัวใจวาย เป็นการเปิดหลอดเลือดโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยยังคงต้องดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อรักษาสุขภาพของหัวใจในระยะยาว

ลิ้นหัวใจเทียมคืออะไร? ทำไมต้องเปลี่ยน? และอะไรบ้างที่คุณควรรู้?

การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาลิ้นหัวใจผิดปกติ และการผ่าตัดเปลี่ยนลินหัวใจจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของหัวใจให้กลับมาใกล้เคียงปกติ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาจะต้องได้รับการประเมินอย่างละเอียด เพื่อเลือกชนิดของลิ้นหัวใจที่เหมาะสม

หัวใจล้มเหลว อาการเป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไรบ้าง

หัวใจล้มเหลวคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ อาการสำคัญที่ควรสังเกต ได้แก่ เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ขาบวม และน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) หมดความสงสัย วินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ

การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจมะเร็ง (Biopsy) คือวิธีที่นิยมในการวินิจฉัยมะเร็ง เนื่องจากความแม่นยำและละเอียดในการบ่งชี้ประเภทของมะเร็ง ทำได้อย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ รักษาใจเต้นผิดจังหวะ ให้กลับสู่ภาวะปกติ

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation) จะใช้รักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เครื่องจะช่วยให้หัวใจกลับมาทำงานได้ใกล้เคียงกับระดับปกติอีกครั้ง

รู้จัก ASD คืออะไร? ผนังหัวใจรั่วอาการเป็นแบบไหน รักษายังไงดี

ชวนรู้จัก ASD หรือ ภาวะผนังกั้นหัวใจรั่วคืออะไร ผนังหัวใจรั่ว อันตรายไหม? มาเช็กต้นตอสาเหตุ อาการของ ASD แนวทางการรักษา พร้อมวิธีดูแลให้หัวใจห้องบนแข็งแรง!

Copyright © 2024 All Rights Reserved | Praram 9 Hospital